การรู้จักลูกค้า (KYC) และการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD) ตอนจบ


การรู้จักลูกค้า (KYC) และการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD)[1] ตอนจบ

มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

(Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT)

 

ระดับของการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD)              

                การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD) ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายดังกล่าวนั้น ต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะมีการปฏิบัติโดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยง (Risk) เป็นสำคัญ กล่าวคือ หากมีความเสี่ยงมากก็อาจทำการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้ามาก กลับกัน หากมีความเสี่ยงน้อยก็อาจทำการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าน้อย

                ความเสี่ยง หรือ Risk นี้ องค์กรอิสระหรือหน่วยงานของรัฐจะพิจารณาวางกรอบไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับสถาบันการเงินที่อยู่ในการกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น โดยกรอบการพิจารณาระดับความเสี่ยงของ “ลูกค้า” ที่เข้ามาติดต่อหรือทำธุรกรรมกับทาง “สถาบันการเงิน” นี้จะช่วยให้ทางสถาบันการเงินสามารถปฏิบัติต่อลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของลูกค้า และไม่เกิดความยุ่งยากทั้งต่อสถาบันการเงินและต่อลูกค้าเอง

                อนึ่ง ในส่วนของ “หน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน นั้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ให้นำนโยบายสำหรับสถาบันการเงินมาปรับใช้กับผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเท่าที่ไม่ขัดกับการดำเนินธุรกิจตามปกติ

                ตัวอย่าง : ระดับของความเสี่ยงที่เป็นตัวกำหนดรายละเอียดของการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD) ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดระดับความเสี่ยงออกเป็น ๓ ระดับ กล่าวคือ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงสูง (ที่มา: สมาคมธนาคารไทย: http://www.tba.or.th/)

ระดับความเสี่ยง

การรู้จักลูกค้า (การทำ KYC / CDD)

ระดับ ๑ - ลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low  Risk)

ลูกค้าบุคคลธรรมดา

ลูกค้านิติบุคคล

  • § ลูกค้าสินเชื่อที่มีการทบทวนประจำปี
  • § ลูกค้าและบริษัทในเครือที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและ/หรือต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ
  • § ลูกค้านิติบุคคลที่มีฐานะมั่นคงรวมทั้งบริษัทในเครือที่บริหารงานโดยนักบริหารมืออาชีพ
  • § หน่วยงานทางราชการ รัฐวิสาหกิจ
  • § หน่วยงานการกุศลระหว่างประเทศและ NPO ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความเจริญให้กับประเทศด้อยพัฒนาจัดตั้งมาแล้วเกินกว่า ๑๐ ปี และมีรายได้มากกว่า USD ๒๐ ล้าน (๘๐๐ ล้านบาท)
  • § สถาบันการเงินในประเทศสมาชิกของ FATF
  • § สาขาหรือบริษัทในเครือของสถาบันการเงินที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสมาชิกของ FATF
ลูกค้าบุคคลธรรมดา
  • § ตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริง
  • - ชื่อ, วัน, เดือน, ปีเกิด และ สัญชาติ
  • - ที่อยู่ปัจจุบัน
  • § ตรวจสอบอาชีพ, ประเภทของธุรกิจ และตำแหน่งหน้าที่ในธุรกิจนั้นๆ
  • § สอบถามวัตถุประสงค์ในการเปิดบัญชี

ลูกค้านิติบุคคล

  • § ตรวจสอบหนังสือรับรองการจดทะเบียน, ตรวจสอบที่อยู่ที่จดทะเบียน และที่ทำการ
  • § ตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริงของกรรมการผู้มีอำนาจ และกรรมการอื่นอย่างน้อย ๒ คน โดยหนึ่งในนั้นต้องเป็นกรรมการผู้จัดการ
  • § ตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริงหรือหนังสือ รับรองจดทะเบียนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ ๒๐% ขึ้นไป
  • § ตรวจสอบประเภทของธุรกิจ
  • § สอบถามวัตถุประสงค์ในการเปิดบัญชี

ระดับความเสี่ยง

การรู้จักลูกค้า (การทำ KYC / CDD)

ระดับ ๒ - ลูกค้าที่มีความเสี่ยงปานกลาง (Medium Risk)

ลูกค้าบุคคลธรรมดา

  • n ลูกค้าชาวต่างชาติ
  • n ลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ในระดับความเสี่ยง ๑ และ ๓

ลูกค้านิติบุคคล

  • § ลูกค้านิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและ/หรือต่างประเทศและมีรายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินสด
  • § หน่วยงานการกุศลระหว่างประเทศและ NPO ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความเจริญให้กับประเทศด้อยพัฒนาจัดตั้งมาแล้วต่ำกว่า ๑๐ ปี และมีรายได้ต่ำกว่า USD ๒๐ ล้าน (๘๐๐ล้านบาท)
  • § สถาบันการเงินที่ไม่ได้อยู่ในประเทศสมาชิกของ FATF และไม่อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินสูง (High Risk Country) ตามภาคผนวก ข
  • § สาขาหรือบริษัทในเครือของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สมาชิกของ FATF และสำนักงานใหญ่ไม่อยู่ในประเทศสมาชิกของ FATF
  • § บริษัทอื่นทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ใน ระดับ ๑ หรือ ๓

กรณีลูกค้าบุคคล

  • § ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ ๑
  • § ทราบแหล่งที่มาของเงินในบัญชี
  • § ระบุจำนวนรายการที่เดินและยอดเงินเฉลี่ย

ลูกค้านิติบุคคล

  • § ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ ๑
  • § ทราบแหล่งที่มาของเงินในบัญชี
  • § ทราบความสัมพันธ์ของผู้มีอำนาจในบัญชีนั้น ๆ กับเจ้าของบัญชี หรือเจ้าของธุรกิจ
  • § ระบุจำนวนรายการที่เดินและยอดเงินเฉลี่ย

 

ระดับความเสี่ยง

การรู้จักลูกค้า (การทำ KYC / CDD)

ระดับ ๓ - ลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk)

ลูกค้าบุคคลธรรมดา

  • n ลูกค้าที่มีสถานะหรือเกี่ยวข้องกับนักการเมือง
  • n ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่หรือแหล่งเงินมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (NCCT/Tax Havens)
  • n ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
  • n ลูกค้าที่รายงานเป็นรายการธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (ปปง.๑-๐๓)
  • n ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูล/หลักฐานการแสดงตนกับธนาคาร

ลูกค้านิติบุคคล

  • § ลูกค้าที่เป็นนักการเมืองหรือมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง
  • § บริษัทที่ดำเนินการหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินสูง (NCCT/ Tax Havens)
  • § สถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก FATF และไม่มีมาตรการในการป้องกันการฟอกเงิน
  • § สาขาหรือบริษัทในเครือของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สมาชิกของ FATF แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการฟอกเงินสูง
  • § ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
  • § ลูกค้าที่รายงานเป็นรายการธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (ปปง.๑-๐๓)
  • § ลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ ๒ และมี Return Mail (ไม่สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับธนาคาร)
  • § ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูล/หลักฐานการแสดงตนกับธนาคาร

หมายเหตุ

ลูกค้าที่มีอาชีพดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง

  • Ø เจ้าของสำนักงานกฎหมาย
  • Ø ธุรกิจค้าขายอัญมณี, ค้าของเก่า, ค้าทอง
  • Ø ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
  • Ø ธุรกิจโอนเงินออกนอกประเทศ
  • Ø ธุรกิจคาสิโน และ การพนัน
  • Ø โรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
  • Ø นายหน้าค้าอาวุธยุทโธปกรณ์
  • Ø หน่วยงานหรือบุคคลที่ดำเนินธุรกิจเงินกู้นอกระบบ

ลูกค้าบุคคลธรรมดา

  • § ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับ ลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ ๒
  • § ทราบแหล่งที่มาของเงินและทรัพย์สิน
  • § แหล่งที่มาของธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงหรือผิดปกติ

ลูกค้านิติบุคคล

  • § ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ ๒
  • § ทราบโครงสร้างและความสัมพันธ์ของธุรกิจลูกค้า

ระบุ

  • § แหล่งที่มาของธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงหรือมีลักษณะผิดไปจากธุรกรรมปกติหรือไม่สัมพันธ์กับธุรกิจของลูกค่า

หมายเลขบันทึก: 288336เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ผมกำลังปรับุรงระบบ KYC/CCD ให้กับทางธนาคาร

ข้อมูลของอาจารย์ดูเข้าใจง่ายดีครับ สั้นกระชับกว่า paper ของ ป.ป.ง. ที่ยิ่งอ่านยิ่งงง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท