การรู้จักลูกค้า (KYC) และการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD) ตอนที่ 2


การรู้จักลูกค้า (KYC) และการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD)[1] ตอนที่ 2

มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

(Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT)

 

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ () ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความเห็นชอบ "มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เรื่อง นโยบายการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงิน และหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน" ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของสถาบันการเงินและหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเป็นอย่างมากเนื่องจากต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าดังกล่าวอย่างเข้มงวดขึ้นและต้องทำการรายงานต่อตามหน้าที่

 

“ลูกค้า” “สถาบันการเงิน” และ “หน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

                นอกจากนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีฯดังกล่าวยังได้มีการกำหนดนิยาม/ความหมายของ “สถาบันการเงิน” และ “และหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน” และ “ลูกค้า” ที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD) ดังนี้

                “สถาบันการเงิน” หมายถึง สถาบันการเงิน ดังนี้

                . ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ และธนาคารตามที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ

                . บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

                . บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย

                . สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

                . นิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

                . นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

                . นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำ ระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

                . บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

                . นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

                ๑๐. นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.. ๒๕๔๒

                “หน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน” หมายถึง หน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ดังนี้

                . ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เครื่องประดับ หรือโลหะมีค่า เช่น ทองคำ

                . ผู้ประกอบอาชีพค้า หรือให้เช่าซื้อรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์

                . ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                . ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                ลูกค้าของสถาบันการเงิน หมายความว่า บุคคล หรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน หรือเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในทอดสุดท้ายจากการมีความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรม หรือเป็นผู้ที่มีอำนาจควบคุมหรือตัดสินใจในทอดสุดท้าย เกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์ หรือทำธุรกรรมดังกล่าวด้วย

                ลูกค้าของหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หมายความว่า ผู้ซื้อ หรือผู้ขาย ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันการเงินบางแห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรอิสระหรือหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ดังกล่าว องค์กรอิสระหรือหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลสถาบันการเงินเหล่านั้นต้องออกประกาศหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า(KYC/CDD)รวมทั้งนิยามความหมายของ “สถาบันการเงิน” และ “ลูกค้า”[2] ของตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีฯที่ให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตาม เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย[3] ที่กำกับดูแลสถาบันการเงิน อันได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ต้องออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.๗๗/๒๕๕๑ เรื่องการกำหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องการรับฝากหรือรับเงินจากประชาชน ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD) ตามมติคณะรัฐมนตีฯดังกล่าวกำหนด เป็นต้น



                [1] อาจารย์วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุลและอาจารย์สิทธิพร ภู่นริศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่

                [2] เช่น “ลูกค้า”  หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน หรือเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ในทอดสุดท้ายจากการมีความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรม หรือเป็นผู้มีอำนาจควบคุมหรือตัดสินใจในทอดสุดท้าย รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินแทนหรือในนามของผู้อื่น เป็นต้น

                [3] มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.๒๕๕๑

หมายเลขบันทึก: 288327เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท