เรามารู้จักปาล์มน้ำมันเถอะ การคิด การตัดสินใจ และหนทางที่ถูกต้อง


ปาล์มน้ำมันทางเลือกที่เกษตรกร เลือกก่อนรัฐมีนโยบาย การดิ้นรน ยังดีกว่ารอคอย ถ้าดิ้นยังมีโอกาสรอด ถ้ารอนโยบายหนี้สินคงจะล้นแล้วล้นอีก กว่าความช่วยเหลือต่างๆจะเข้าถึง เป็นการสะท้อนจากประชาชน

เรามารู้จักปาล์มน้ำมันเถอะ

การคิด การตัดสินใจ และหนทางที่ถูกต้อง

 

 

 

            จากการลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจหลายครั้งหลายหน (ศึกษารายละเอียด และนำเสนอข้อมูลให้กับหน่วยงานนโยบายภาครัฐ) คำถามที่ได้รับจากเกษตรกรมักจะเป็นคำถามที่ซ้ำๆ บ่อยๆ และนอกเหนือจากนั้นมักมีคำถามที่พิเศษๆบ้าง 

            ภารกิจที่ผมได้ปฏิบัติในครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมได้ไปพบปะประชาชน คนเกษตร ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ที่ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรทุ่งรังสิต (ปทุมธานี อยุธยา นครนายก สระบุรี และลพบุรีบางส่วน ) กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนสหปาล์ม (ราชบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว)

            รากเหง้าของเกษตรกรเหล่านี้มาจากกระดูกสันหลังของชาติ ชาวนานั่นเอง จากการทำนาที่ล้มเหลวทางเศรษฐกิจมาตลอดชั่วอายุปู่ย่าตายาย อดทนและภาคภูมิใจในการได้รับยกย่องเชิดชูให้เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญที่สุดของชาติ แต่ยากจนที่สุดของกลุ่มชนเช่นเดียวกัน  สู้อุตส่าห์ เอาหลังสู้ฟ้า ก้มหน้าสู้ดิน

        เพื่อหาโอกาสให้ตัวเอง และมีความหวังในอนาคต จากองค์ความรู้ที่มีมาจากความเป็นชาวนาผู้เก่งกล้า เลือกพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่คาดหวังว่าจะได้เงยหน้าอ้าปากได้  สวนส้ม เป็นทางเลือกที่น่าจะมีอนาคตที่ถาวรและยั่งยืน แต่แล้วเหตุการณ์กลับย้อนกลับเหมือนเดิม สวนส้มล่ม จากทุ่งรังสิต อพยพเคลื่อนย้ายไปทำที่ใหม่ กำแพงเพชร ดินดี น้ำชุ่ม อากาศเหมาะสม ที่ไหนได้ กำแพงเพชรก็ล่มอีกครั้ง

            หนี้สินเพิ่มทวีคูณ ดอกเบี้ยทบต้นทบดอก จนยากที่จะอธิบายได้ว่า ไหนคือต้น อะไรคือดอก และไม่รู้จะแก้ไขมันอย่างไร ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคม ปัญหาสังคมจะส่งผลต่อวิถีชีวิต และความสงบสุข ของประชาคมโดยรวมเสมอ

            หนทางของประชาชนไม่สิ้นหวัง กลไกภาครัฐ ผู้ปกครองประเทศ น่าจะช่วยเขาได้ แม้นว่าเขาจะช่วยตนเองมาอย่างโชกโชนแล้วก็ตาม แต่ความวิบัติทางอาชีพที่เกิดขึ้นกับเขายากที่จะแก้ไขด้วยกลไกเล็กๆที่มีสองมือและสองขาของเกษตรกรที่ขาดโอกาสแทบจะทุกเรื่อง เมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นๆที่มีโอกาสดีกว่า

            ด้วยความมุ่งมั่นของฝ่ายการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่เอาใจใส่ดูแลความทุกข์ร้อนของประชาชน เมื่อประชาชนหมดโอกาสและช่องทางในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อน  โชคดีที่ประชาชน มวลชน เกษตรกรทุ่งรังสิต ปทุมธานี นครนายก อยุธยา สระบุรี ลพบุรี  และภาคตะวันออก จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และราชบุรี เข้าใจสถานการณ์บ้านเมือง ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายเลือกที่จะใช้กระบวนการตามขั้นตอนของกฎหมายและความสันติ สงบสุขในการแก้ปัญหา

            จึงเกิดการระดมสมอง ความคิดเห็นโดยการมีส่วนร่วมอย่างจริงใจและกว้างขวางทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหาและรับผิดชอบต่อบ้านเมืองด้วยกันฉันพี่น้อง

 

            ปัญหาที่พบและต้องการแก้ไขโดยด่วนที่มาจากภาคเกษตรกรได้แก่

1 ปัญหาหนี้สิน ทั้งที่มีมาเก่า และสะสมจนเป็นหนี้ล้นพ้นตัว หมดหนทาง

     แก้ไขหากภาครัฐไม่เข้าช่วยเหลือ  (รอวันยึดทรัพย์ และฟ้องล้มละลาย)

2 ปัญหาที่ทำกินที่ต้องเช่าจากนายทุนที่ดินรายใหญ่

3 ปัญหาการจัดการระบบการเกษตร ที่ดิน น้ำ และสาธารณูปโภค

4 ปัญหาการตลาด และราคาผลผลิตที่แกว่งตลอดเวลาไม่สามารถทำนาย  

     อนาคตได้ 

5  ปัญหาความรู้ในการจัดการเชิงเศรษฐศาสตร์  (การศึกษาเฉพาะทางและ

     การศึกษาเชิงการจัดการ)

6 อื่นๆ

            ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น

1  กรมวิชาการเกษตร

2  กรมส่งเสริมการเกษตร

3  กรมเศรษฐกิจการพานิชย์

4  กรมเศรษฐกิจการเกษตร

5  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

6  กรมที่ดิน

7  อื่นๆ  เช่นผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักวิชาการ เป็นต้น

 

หนทาง ทางเลือก เป็นเช่นไร?

1  การประกาศนโยบายพิเศษ เพื่อการช่วยเหลือทางด้านการเงิน

2  การจัดรูปแบบในการบริหารจัดการการเกษตรในรูปแบบสหกรณ์

3  การเพิ่มรายได้ของตัววัตถุดิบ แปลงเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

4  แนวคิดการเกษตรครบวงจร มีความหลากหลายและสอดรับซึ่งกันและกัน

5  แนวคิดนโยบายทางด้านภาษีเพื่อจูงใจการเกษตรครบวงจรในรูปแบบ

       สหกรณ์การเกษตร

6  แนวทางการตลาดที่มั่นคงภายใต้ความร่วมมือ รัฐกับรัฐ และทิศทางการ

      ตลาดที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ

7  อื่นๆ

ปาล์มน้ำมันทางเลือกที่เกษตรกร เลือกก่อนรัฐมีนโยบาย

การดิ้นรน ยังดีกว่ารอคอย ถ้าดิ้นยังมีโอกาสรอด ถ้ารอนโยบายหนี้สินคงจะล้นแล้วล้นอีก กว่าความช่วยเหลือต่างๆจะเข้าถึง เป็นการสะท้อนจากประชาชน

เขตทุ่งรังสิตปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วกว่า 12,000 ไร่ และเขตตะวันออกน่าจะเป็นระดับแสนไร่ จากสถิติการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย 2.3 ล้านไร่ (สวนส้มที่เสียหายในเขตทุ่งรังสิต ประมาณ 200,000-300,000 ไร่)

หากคิดตามนโยบายน้ำมันบนดิน เพื่อชดเชยการนำเข้าน้ำมันปิโตเลียม 10 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้า เราต้องปลูกปาล์มน้ำมันถึง 12 ล้านไร่จึงจะพอชดเชยการนำเข้าน้ำมันปิโตเลียม 10 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ปาล์มน้ำมันที่ทุ่งรังสิตมีอายุตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว

ที่สวน นายอักษร ตำบลหนองเสือ มีอายุประมาณ8 ปี ให้ผลผลิต ต่อไร่ต่อปี ประมาณ 4-5 ตัน (เฉลี่ยโดยทั่วไปของประเทศไทย อยู่ที่ 2.7 – 3.0 ตันต่อไร่ต่อปี)

 

แม้จะไม่รอก็ต้องรอ ปัญหาเกิดกับเกษตรกร

1  เก็บผลผลิตแล้วจะเอาไปขายที่ไหน

2  เก็บไว้ได้นานแค่ไหน

3  เก็บเกี่ยวได้ทุกวันหรือไม่

4  การขนส่งมีค่าใช้จ่ายอย่างไร

5  การต่อรองทางด้านราคา ราคาที่ยุติธรรม ทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ

6  ทำอย่างไรผลผลิตจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่านี้

 

 เรามารู้จักปาล์มน้ำมันเถอะ

ชนิดและพันธุ์(Elaeis)

1  E.Guineensis (African Oil Palm) 3type

        1.1Dura   : Deli Dura

        1.2Pisifera

        1.3Tenera :Dura X Pisifera

2  E.Oleifera(E.Melanococca or Corozo 

    oleifera)…(American Oil Palm)

3  E.Odora (Barcella odora)   (Amazon oil palm)

4  สุราษฎร์ธานี 1..Tenera ..Dura68 X  Pisifera  (ASD Co.;ltd Costarica)

5  สุราษฎร์ธานี 2

6  สุราษฎร์ธานี 3

7  พันธุ์อูติ DXP …Deli dura X (Tenera X Pisifera)

8  พันธุ์พันธุ์ยังกาบี(มาเลเซียเกรด1)

9 พันธุ์เดลิลาเม่ (Deli X Lame)… Deli duraX Lame

   Pisifera

10 นอกเหนือจากนี้ยังมีพันธุ์อื่นๆอีกมากมาย ตามแต่จะผสมกันขึ้นมา ส่วน

       ใหญ่เป็นลูกผสมที่เอาจุดเด่นแต่ละชนิดมาผสมกัน  เช่น จากประเทศ คอสตาริกา  ออสเตรเลีย เป็นต้น

แล้วจะเลือกแบบไหนดี

      แบบที่ให้ผลกำไรสูงสุดคือคำตอบที่เกษตรกรต้องการ  ดังนั้นท่านต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

1 ใช้พันธุ์อะไร ที่ให้ผลผลิตสูงสุด ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

            เชิงปริมาณ คิดจากน้ำหนักต่อไร่ต่อปี

            เชิงคุณภาพคิดจากเปอรืเซ็นต์ น้ำมันที่ได้จากทะลายดิบ

2  แล้วพันธุ์ที่เลือกเหมาะกับสภาพสวนของเราหรือไม่

        สภาพดินของเราเป็นเช่นไร

            สภาพน้ำของเราเป็นเช่นไร

            สภาพอากาศในบริเวณนั้นเป็นเช่นไร

3   ความต้องการของตลาดรับซื้อพันธุ์อะไรที่ห้ราคาสูง    

4   การดูแลรักษา

5   การหาเมล็ดพันธุ์ หรือ ต้นกล้า ได้จากไหน ราคาเป็นเช่นไร การรับประกันอย่างไร

 

โอกาสหน้าฟ้าใหม่ค่อยเจอกันอีก

ดร.ทินโน ขวัญดี

e-mail:[email protected]

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 288282เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สุราษฎร์ธานี 1..Tenera ..Dura68 X Pisifera (ASD Co.;ltd Costarica) ไม่ใช่สายพันธุ์ Deli x Calabar เหรอคับ

5 สุราษฎร์ธานี 2 ใช่ Deli x La Me หรือเปล่า

6 สุราษฎร์ธานี 3 เป็น Deli x Dami พอดีเคยอ่านผ่านตามาคับ

ผมเห็นด้วยกับความเห็นที่ 1

ชาวสวนปาล์มบ้านนอก

ขอซูฮกผู้เขียนจริงๆ ความรู้เรื่องปาล์มขั้นเทพจริงๆ ตอนนี้สถานีวิจัยปาล์มนำมันสุราษฎร์ธานี มีพันธ์ปาล์มลูกผสมสุราษฎร์ 7 แล้วจะบอกให้ อยากรู้จริงเรื่องการปลูกปาล์ม ปัญหาต่างๆ ผลผลิต การใส่ปุ๋ยและอื่นๆต้องถามชาวสวนแล้วจะรู้ อย่าลืมศาสตร์ของพระราชาจะช่วยชาวเกษตรให้ลืมตาอ้าปากได้ ก็แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั่นแหละ รู้จักการทำปุ๋ยใช้เอง ปลูกพืชแบบผสมผสาน เลี้ยงสัตว์เอามูลมาทำปุ๋ย( แพะ 2 ตัวดีกว่าเครื่องตัดหญ้า 1 เครื่อง )หรือเลี้ยงวัวก็ได้เลี้ยงหมูก็ดี ก็ทำในสวนปาล์มนั่นเอง สนใจติดต่อตามอีเมลล์นะครับ

ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ผู้อ่นทุกท่านนะครับ

ชาวสวนบ้านนอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท