ข้อมูลครั้งที่ 25: รายงานความคืบหน้ากรณีร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...)พ.ศ....


สิทธิประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจาก สปสช. แตกต่างจากสปส.มาก เช่น เวลาเกิดความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข สปสช. ก็มีกองทุนชดเชยความเสียหาย โดยให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นไม่เกิน 2 แสนบาท แต่ สปส.ไม่มี

ข้อมูลส่งให้ทีมครั้งที่ 25:

วันที่ 17 สิงหาคม 2552


ประเด็น : รายงานความคืบหน้ากรณีร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...)พ.ศ....

ประกอบด้วย

(1)   สาระสำคัญในร่าง พรบ. ประกันสังคม ฉบับใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานโดยตรง ตามมาตรา 33 และมาตรา 40

(2)   ความคืบหน้า 3 เรื่อง หลังจากที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เมื่อ 5 สิงหาคม 2552

·       นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการดำเนินการเพื่อนำกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

·       มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 สิงหาคม 2552 จะเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ประกันสังคม

·       สำนักงานประกันสังคมจะนำเงินมาจากแหล่งใด ? และท่าทีของ สปสช.

 

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นให้ส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานตามมาตรา 33 (แรงงานในระบบ) และมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ) โดยตรง 2 เรื่อง คือ

 (1) การขยายสิทธิประโยชน์ไปถึงคู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ใน 4 กรณี คือ รักษาพยาบาล คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต (ไม่รวมเรื่องชราภาพ) ซึ่งคู่สมรสที่จะได้รับสิทธิดังกล่าว จะต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส และเป็นบุตรถูกต้องตามกฎหมาย โดยบุตรจะได้รับการคุ้มครองไปจนกว่าบรรลุนิติภาวะ หากแต่งงานก่อนอายุครบ 20 ปี ก็ ถือว่าสิทธิที่ได้รับก็หมดลง

โดยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งต่อกระทรวงแรงงานว่า มียอดรวมคู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนรวม 5.8 ล้านคน แบ่งเป็นคู่สมรส จำนวน 2.8 ล้านคน บุตรอายุไม่ถึง 6 ขวบ จำนวน 1.3 ล้านคน และอายุ 6-18 ขวบ จำนวน 1.7 ล้านคน

ทั้งนี้รัฐบาลได้ยืนยันชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบในส่วนที่เป็นภาระที่เพิ่มขึ้นเอง ไม่เรียกเก็บเงินสมทบ จากนายจ้างและลูกจ้างเพิ่ม

ส่วนรายละเอียดเรื่องตัวเลขสัดส่วนเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบนั้น ทาง สปส. จะเสนอมาให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้งว่า สถานะของ สปส. เงินไหลเข้าไหลออกเป็นอย่างไร สัดส่วนที่รัฐบาลควรจะสมทบเป็นเท่าใด และจะนำเงินในส่วนใดมาจ่าย

(2) การขยายสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) จาก 3 กรณี เป็น 5 กรณี ได้แก่ กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต เงินชดเชยการขาดรายได้ระหว่างการเจ็บป่วยรักษาในโรงพยาบาล 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินครั้งละ 1,000 บาท ปีละ 2 ครั้ง และให้สิทธิประโยชน์กรณีเงินบำเหน็จชราภาพ

 

ความคืบหน้า 3 เรื่อง หลังจากที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เมื่อ 5 สิงหาคม 2552

(1)               นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการดำเนินการเพื่อนำกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

 

อ่านรายละเอียดต่อทั้งหมด 6 หน้า click :

ดาวน์โหลด

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 288279เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท