การประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 4 ห้วข้อ “สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด (Right to Birth Registration) ของคนที่มีปัญหาสถานะบุคคล"


ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CRC โดยการภาคยานุวัติ (Accession) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2535 อีกทั้ง ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ICCPR โดยการภาคยานุวัติเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540 นั่นย่อมหมายความว่า ประเทศไทยจำต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่ถูกระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “การเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริม สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด” นั่นเอง

หลักการและเหตุผล

สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด (Right to Birth Registration) เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญมากในลำดับต้นๆ ของมนุษย์ทุกคน การจดทะเบียนการเกิดเป็นการกระทำทางกฎหมาย (Legal Action) อันดับแรกที่จะส่งผลสำคัญในมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาได้รับการรับรองความเป็นบุคคลทางกฎหมายภายในดินแดนของรัฐแห่งที่เกิดของตน ด้วยเหตุนี้เอง สิทธิในการจดทะเบียนการเกิดนี้จึงถูกรับรองไว้ใน ข้อ 24 (2) ภายใต้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 (the International Covenant on Civil and Political Rights, 1966)” และ มาตรา 7 ภายใต้ อนุสัญญาสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (the Convention of the Rights of the Child, 1989)” ซึ่งส่งผลในทางกฎหมายแก่รัฐภาคีให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CRC โดยการภาคยานุวัติ (Accession) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2535 อีกทั้ง ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ICCPR โดยการภาคยานุวัติเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540 นั่นย่อมหมายความว่า ประเทศไทยจำต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่ถูกระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริม สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด นั่นเอง

ดังนั้น ทาง คณะทำงาน Monday Meeting เห็นว่า หัวข้อและประเด็นดังกล่าวมีความน่าสนใจในเชิงการตอบโจทย์ของสังคม (social need) จึงนำมาสู่การพัฒนาเป็นความร่วมมือและเป็นหัวข้อหนึ่งของ Monday meeting ประจำวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2552

 

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันถึงความสำคัญของ สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด ในบริบทของพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคี

2.   เพื่อทำการสำรวจข้อกฎหมายนโยบายของรัฐไทยที่เกี่ยวข้องกับการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริม สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด

3.   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเท็จจริงอันแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริม สิทธิในการจดทะเบียนการเกิดรวมถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

 

 

องค์กรรับผิดชอบ

  • ประชาคมนักศึกษาปริญญาโทและเอกเพื่อวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการประชากร
  • โครงการบางกอกคลีนิกเพื่อการให้คำปรึกษาด้านสถานะและสิทธิของบุคคล (BKK Legal Clinic) (ภายใต้กองทุนศาตราจารย์ คนึง ฦาไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)
  • คณะผู้จัดทำรายงานประเทศไทยตามพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR Reporters)

 

สถานที่

ห้องประชุมสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.   ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความเข้าใจร่วมกันถึงความสำคัญของ สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด ในบริบทของพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคี

2.   ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้ถึงข้อกฎหมายนโยบายของรัฐไทยที่เกี่ยวข้องกับการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริม สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด

3.   ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นข้อจำกัดในการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริม สิทธิในการจดทะเบียนการเกิดรวมถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

กำหนดการ

 

เวลา

รายละเอียด

13.30 น. – 13.40 น.

·    ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 4

โดย คุณบงกช นภาอัมพร

13.40 น. 14.25 น.

·    เสนอความสัมพันธ์ระหว่างหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐไทย

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

14.25 น. 15.10 น.

·       เสนอกรณีศึกษาที่สำคัญ

โดย คุณดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และ คุณบงกช นภาอัมพร

15.10 น. 16.45 น.

·       เปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

16.45 น. – 17.00 น.

·       สรุปประเด็นการประชุม

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

หมายเลขบันทึก: 288188เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 01:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท