เล่า
คุณ ชุติมา อินทรประเสริฐ

คุณเจฟ (Learning to Fly) เยือน สคส. (ตอนที่ 1)


เช้าเมื่อวานนี้ (15 พ.ค. 2549) คุณเจฟ  พาร์เซลล์ (Geoff Parcell)  ผู้เขียน “Learning to Fly”  มาเยี่ยมเยียนเราที่ สคส.  อาจารย์หมอวิจารณ์เลยให้โอกาสพวกเราเข้าไปร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดย สคส.ได้เชิญท่านผู้รู้ในแวดวง KM บ้านเราหลายท่านเข้าร่วม  แต่ด้วยกว่าจะจัดตารางเวลาให้ตรงกันได้ก็เหลือ 3 ท่าน ดร.ปรอง กองทรัพย์โต (บริษัท สแปนชั่น ประเทศไทย จำกัด) จากภาคเอกชน  คุณกลิ่นจันทร์ เขียวเจริญ จาก สำนักงาน กพร. และ ดร.บุญดี บุญญากิจ (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) หน่วยงานที่ปรึกษาด้าน KM และพวกเราทีมงาน สคส. 7 คน นำโดย อาจารย์หมอวิจารณ์และอาจารย์ประพนธ์

บรรยากาศการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เป็นไปอย่างสบายๆ  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นอย่างน่าสนใจ น่าติดตาม ว่ากันตั้งแต่สมัยคุณเจฟทำอยู่ BP จนปัจจุบันมาตั้งบริษัทเอง ชื่อ “Practical KM Ltd.”  ส่วนสคส. ก็ตั้งแต่เริ่มตั้งจนถึงปัจจุบัน ก็ไม่นานนะ ประมาณ กว่า 3 ปี  รวมถึงเรื่องของบริษัทสแปนชั่นบ้าง สถาบันเพิ่มบ้าง ก็เรียกว่าเวลาล่วงเลยไปอย่างรวดเร็วกว่าจะรู้ตัวก็ถึงเวลาเสริฟ... “ผัดไทยห่อไข่”...ซะแล้ว!

ประเด็นที่คุณเจฟสนใจก็มีหลักๆอยู่ 2 เรื่อง   เรื่อง “Weblog ของ gotoknow.org” กับเรื่อง “ที่สคส.กำลังทำอยู่” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ภาคการเกษตร" อาจารย์หมอวิจารณ์เริ่มเล่าจากเรื่องที่ สองก่อนว่า ที่สคส.ทำในช่วง 2 ปีแรกมีทั้งประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ โดยเรามุ่งเน้นที่การผลักดันสนับสนุน การทำ KM ที่ปฏิบัติจริงที่มีในสังคมไทย ให้ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ 2 ปีแรกเราเน้น ภาคประชาสังคม  ปีที่ 3 เราเริ่มเน้นภาคราชการ ก็ค้นพบอะไรมากมายที่จะสามารถนำมาคิดต่อ ลองทำ ปรับใช้ เพื่อดำเนินการต่อไป เช่นในเรื่องของเครือข่าย UKM  HKM ฯลฯ

คุณเจฟก็ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าที่ UK นั้น KM จะใช้ได้ผลมากก็ต่อเมื่อมี “Urgent issue”  ซึ่งบางที่ก็อาจจะไม่ work  case ในประเทศไทย เรื่องประเด็นร้อนๆ ที่ เราเคยพยายามเอา KM เข้าไป implement ก็มี เช่น ประเด็น ”ไข้หวัดนก”  แต่ก็ไม่สำเร็จ ......เนื่องจาก เรามีนักวิชาการที่ expert อยู่มาก (อื่ม..off record)

อีกเหตุการณ์ที่เป็น Urgent issue ที่น่าสนใจทำ KM คือ  เหตุการณ์ “ซึนามิ”  มีบทเรียนมากมายที่น่าเรียนรู้  มาถึงตรงนี้คุณเจฟ ได้โยงไปเรื่องที่เป็นประเด็นน่าสนใจ คือ เรื่อง ความต่างระหว่าง Experience กับ Expertise เราจะ ให้น้ำหนัก และจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อไร  (balancing and timing) ควรจะใช้และจะทำให้สมดุลอย่างไร  (สนใจคุยต่อกับ คุณเจฟ ได้ที่อยู่จะบอกตอนจบค่ะ : ) )

มีอีกตัวอย่างที่ฟังแล้ว...ทึ่งมาก...

คุณเจฟเล่าว่า ที่โรงพยาบาลเด็กแห่งหนึ่ง มีอัตราการเสียชีวิตของคนไข้เด็กระหว่างการย้ายออกจากห้องผ่าตัดไปยังห้องไอซียูสูง  จึงมีการคิดหาวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้าม...ข้าม.....หน่วยงาน... ข้ามสายอาชีพ โดยการเอาทีมงานของห้องผ่าตัดและห้องไอซียูไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงาน “ Formula I”  …. คิดได้ยังไงเนี่ย!   

ลองนึกภาพตามเป็นฉากๆ ที่ Check Point พอรถจอดปุ๊บ....ทีมก็วิ่งเข้าประจำที่......เปลี่ยน...เปลี่ยน....เปลี่ยน.....เปลี่ยน....(ยาง  4 เส้น) เติม...น้ำมัน..ฉึบ!...เช็ดกระจก...ฉับฉับ!!...คุยเช็คสภาพคนขับ..พึ่บ!...ทุกอย่างทำพร้อมกันหมด...ท่านอย่าได้กระพริบตา...เพราะอาจจะไม่ได้เห็นทุกขั้นตอนที่รวดเร็วถูกต้องแม่นยำ เล่นไม่ได้กับเรื่องความเร็วและเครื่องยนต์ .........

ก็ทำให้นึกภาพเปรียบเทียบได้......พอเตียงคนไข้มาถึง..ป๊าบ.. ถอด...ถอด....ถอด....(ท่อ)..เสียบ....เสียบ..ต่อปลั๊ก..เปิดเครื่อง..ปุ๊บ...ปิดเครื่อง..ปั๊บ..อื่ม....

และ.ก็อดนึกภาพต่อไม่ได้อีก...ภาพ ตอนที่ได้ไปดูงานที่ TOYOTA ที่เห็นเรื่องความรวดเร็วและมีคุณภาพชัดๆ .... 1 ขั้นตอนการผลิตรถยนต์ ...ใช้เวลาแค่..1 นาที .... ที่โรงงานที่ญี่ปุ่นเร็วยิ่งกว่าอีก 50 วินาที!  ….ว๊าว!!!

ก็ขอกลับมาที่วงเดิมก่อนนะคะ ไปไกลถึงญี่ปุ่นแล้ว......อาจารย์ประพนธ์ก็สลับฉากด้วยการ show ..gotoknow เรื่องที่สองที่คุณเจฟสนใจให้ดู ก็ได้รับความสนใจมากมีคำถามมากมาย เช่นเรื่อง การดูแล CoP  การให้เข้าเป็นสมาชิกแบบต้องผ่านการอนุมัติและแบบส่งเทียบเชิญ  และก็เลยไปแตะนิดๆ เรื่อง HA ภาคราชการไปจนถึงงาน “มหกรรม  KM ราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO”  ที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 กรกฏาคม 2549  โดยมี 3 หน่วยงานเป็นเจ้าภาพร่วม สำนักงาน กพร.  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและ สคส.  โดยเราจะมีทีมงานไปจับภาพหน่วยงานที่เป็น “good KM practice” มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ซึ่งผู้เข้าร่วมจะมาจาก 227 กรมของหน่วยงานราชการไทยทั่วประเทศ เข้าร่วมกรมละ 3 คน งานนี้ขอแบบเข้มข้นนะคะ  ขอผู้บริหารที่รับผิดชอบระบบ KM ของกรม 1 คน และ แกนนำในการขับเคลื่อนและให้คำปรึกษาของกรม อีก 2 คน งานนี้ถ้ากรมส่งคนมาไม่ตรง ก็หมดกันล่ะค่ะ  ไม่มีประโยชน์ (ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.kmi.or.th ได้เร็วๆนี้)

แล้วก็คุยกันเลยมาถึง  KM Award  คุณเจฟเองให้ความเห็นว่า   เป็นการยากที่จะมาวัด KM criteria เขาเองเน้นการสร้าง “สภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้  (Learning Environment/ Learning participation)” มากกว่า

จากนั้นคุณเจฟก็ฉาย CD เรื่อง Knowledge Assets (KA)  ให้เราดู  ที่เขาไปสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ 30 คน ที่นำ KM ไปใช้จัดการความรู้เรื่อง HIV  เป็น KA ที่น่าสนใจมาก  เพราะเป็น KA แบบ Multimedia เป็น VDO clip ความยาวประมาณ 90 วินาที  การจับประเด็นของเรื่องเล่า (critical of the story) ที่ครบ เห็นความรู้สึก  สีหน้า น้ำเสียง (passion) ของผู้เล่า สั้นๆ  และสามารถ คลิกดู wording ใต้ภาพได้อีก  วิธีการคือขณะถ่ายวิดีโอเมื่อถึงตอน critical ให้เช็คและจดเลขที่เคาเตอร์ไว้  แล้วมาดำเนินการ capture ส่วนที่ critical เท่านั้น ซึ่งจะเป็น KA ที่มีพลังมากอีกแบบหนึ่ง  คุณเจฟยังแถมท้ายด้วยเรื่อง “Appreciative Inquiry” คำถามที่ควรถาม “ask the right questions” เช่น What are the top 10 things we need to know?, Where can I get more detail? What can I re-use?      and Who can I talk to? ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขอให้เน้นเรื่องที่สำเร็จที่น่าชื่นชม ไม่เน้นปัญหาแต่ก็ไม่ใช่ลืมหรือตัดทิ้งไปเลย  (ก็คงคล้ายกับที่เราทำกันอยู่)

คุณเจฟดึงประเด็นกลับมาต่อที่ภาคการเกษตรซึ่ง น้องอ้อม (คุณอุรพิณ) ก็ได้นำเสนอได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในส่วนของมูลนิธิข้าวขวัญ โรงเรียนชาวนาที่สุพรรณ และ เกษตรอินทรีย์ที่พิจิตร  ซึ่งคุณเจฟก็สนใจและชื่นชมมาก โดยลุ้นให้เราเผยแพร่ลงนิตยสาร KM ภาคภาษาอังกฤษ เช่น KM Review หรือ KM Management (อาจารย์หมอวิจารณ์ก็รับไว้พิจารณา ...อาจเดือดร้อนคุณแกบ (คุณสุปราณี) ซึ่งเพิ่งแปลรายงานประจำปีฉบับภาษาอังกฤษเสร็จไปหมาดๆ..???)

ดร.บุญดีถามเรื่องประสบการณ์กับภาคเอกชน  ในเรื่องการ share ความรู้ข้ามหน่วยงานของภาคเอกชน นั้นทำได้ยากเพราะติดเรื่องการแข่งขัน IP ฯลฯ  คุณเจฟมีวิธีการอย่างไร   คุณเจฟก็ยิงตรงประเด็นเลยว่าสำหรับภาพเอกชนนั้น  อยู่ที่ issue หรือ “ประเด็นที่จะ share” ซึ่งจากประสบการณ์ ที่อยู่ BP ก็มีการ share ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาคเอกชนคือ  BP กับ Shell แต่จะเป็นประเด็นเช่น “การตลาด” หรือ บางเทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับการแข่งขันของบริษัท
 

      

    

***โปรดติดตามตอนจบ***

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28764เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณผู้เขียนบันทึก มีประโยชน์มากเลยค่ะ
ดีใจที่เล่าแล้วมีประโยชน์ (ขอบพระคุณเช่นกันค่ะ คุณหมอ) หากมีโอกาสจะเล่าอีกค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท