ระเบียบข้อบังคับ (แก้ไขเพิ่มเติม)


สวัสดิการชดเชิยค่ารักษาพยาบาล และ ฌาปนกิจสงค์เคราะห์การตาย

 

 (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

8.1    คณะกรรมการประกอบไปด้วยบุคคลและตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

8.9.1 นาย สรวีย์   กอนมน           ตำแหน่ง             ประธานกรรมการบริหารงานองค์กร

8.9.2 นาย ลากรี    แสนเรืองเดช   ตำแหน่ง              รองประธานกรรมการ

8.9.3นาย สุวิทย์  สีหะวงค์          ตำแหน่ง               เลขานุการกรรมการ

8.9.4 นาย คงคา       ครสิงห์        ตำแหน่ง               เหรัญญิกและการเงิน

8.9.5 นาย ไสว    คำเขียว            ตำแหน่ง               ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน

8.9.6 นาย สุพี            รอบรู้        ตำแหน่ง               ฝ่ายตรวจสอบ

8.9.7 นาย อ๊อด   แก้วแพง          ตำแหน่ง               ประชาสัมพันธ์

8.9.8 นาง ทองเย็น   กอนมน     ตำแหน่ง              ฝ่ายส่งเสริมการตลาด

8.9.9 นาง ปริตรา   รองหมื่น     ตำแหน่ง              ผู้ช่วยเลขาฝ่ายทะเบียน

8.9.10 นาง สะอาด   สีหะวงค์   ตำแหน่ง              ฝ่ายปฏิคม

 

 

ภาคผนวก

 

สารบัญภาคผนวก

1.    ว่าด้วยข้อกำหนด หุ้นส่วน แต่ละหุ้นส่วน  และมูลค่าหุ้น

 

2.    ว่าด้วย การสรรหาคณะกรรมการบริหารกิจการกรณีกรรมการถอนหุ้น หรือลาออก ให้ออก

 

3.    ว่าด้วย ค่าจ้างแรงงาน ค่าตอบแทนกรรมการ

 

4.    ว่าด้วยส่วนแบ่งหุ้นส่วนเมื่อสิ้นปีบัญชี  และ ข้อกำหนดการสิ้นปีบัญชี

 

5.    ว่าด้วย ระเบียบการขอกู้เงินสินเชื่อสำหรับสมาชิกหรือบุคคลภายนอก

 

6.    ตราสัญลักษณ์

 

7. บทเฉพาะกาล ระเบียบข้อบังคับ ปี พ.ศ.2550

ภาคผนวก 1

                        ข้อกำหนดหุ้นส่วนแต่ละหุ้นและมูลค่าหุ้น

1.    หุ้นส่วน จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งและต้องรับทราบข้อกำหนดต่าง ๆ ขององค์กร

2.    ต้องเป็นผู้ที่ได้ร่วมจดทะเบียนกับหุ้นส่วนอื่น ๆ

3.    ต้องร่วมลงหุ้นกับหุ้นส่วนอื่นๆอย่างน้อย 1 หุ้นขึ้นไป

4.    การขอเพิ่มหุ้นสามารถขอเพิ่มได้ ณ ครบปีบัญชีเสียก่อน

5.    การสิ้นปีบัญชีกำหนดการสิ้นปีบัญชี ณ สิ้นวันที่ 31  ธันวาคม ของทุก ๆ ปี

6.    การลดหุ้นจะต้องแจ้งให้หุ้นส่วนทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนก่อนสิ้นปีบัญชี

7.    การถอนหุ้นกำหนดให้ถอนได้ไม่เกิน 80  เปอร์เซ็นต์ของหุ้นที่ตนมีอยู่ ณ ปีบัญชีนั้น ส่วนที่เหลือให้ขอถอนได้อีก ณ สิ้นปีบัญชีที่ 2 

8.    มูลค่าของหุ้น  กำหนดหุ้นละ  500 บาท

9.    การลงหุ้น,การเพิ่มหุ้น,การกระจ่ายหุ้น  กระทำได้โดยไม่จำกัดจำนวนหุ้นของแต่ละหุ้นส่วน

 

การขยายหุ้น

เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกร่วมลงทุนได้ตามเงื่อนไขดังนี้

1.ให้ผู้สนใจร่วมลงทุนได้โดยคิดเป็นหุ้นๆ 500-บาท

2. ผู้สนใจสามารถขอซื้อได้ไม่เกินร้อยละ80 ของหุ้นที่มีอยู่รวมทั้งหมดในองค์กร

3. สิทธ์ผู้ร่วมลงทุนจะได้รับเฉพาะส่วนแบ่งที่เกิดขึ้นของหุ้นที่ลงไปเท่านั้นจะไม่ได้รับสิทธ์ประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากส่วนแบ่งของหุ้น

4. การขอลงหุ้นกระทำได้ หรือ มีผลเฉพาะช่วงครบรอบสิ้นปีบัญชีเท่านั้น

5. การขอถอนหุ้นของบุคคลภายนอกสามารถขอถอนได้ทั้งหมดแต่จะต้องถอน ณ สิ้นปีบัญชีเท่านั้น

6.หุ้นส่วนบุคคลภายนอกสามารถเข้าร่วมรับทราบข้อมูลขององค์กรได้

7. หุ้นส่วนบุคคลภายนอกสามารถขอกู้เงินสินเชื่อได้

ภาคผนวก 2.

 

การสรรหาคณะกรรมการบริหารกิจการกรณีกรรมการคนใดคนหนึ่งถอนหุ้น,ลาออก,ให้ออก

 

หากมีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการคนใดคนหนึ่งลาออก,ถอนหุ้น,หรือถูกให้ออกจะต้องสรรหาบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนโดยให้ปฏิบัติดังนี้

1.    ประกาศรับสมัครบุคคลภายนอกมาดำรงตำแหน่งแทนผู้ที่ออกโดยอาศัยระเบียบขององค์กรที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด

2.    การมีสิทธิในทรัพย์สินหรือทรัพย์ส่วนกลางให้มีสิทธ์ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินทั้งหมด

3.    สิทธิ์ในส่วนอื่น ๆ ให้คงไว้ตามระเบียบขององค์กรที่กำหนด

4.    ตำแหน่งต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบจะเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อคณะกรรมการผู้นั้นสิ้นสภาพการเป็นคณะกรรมการบริหารกิจการ

5.    อัตราค่าจ้างแรงงานคณะกรรมการให้เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ณ วันประชุมครบรอบสิ้นปีบัญชี

 

ภาคผนวก 3

ค่าจ้างแรงงาน,ค่าตอบแทนกรรมการ

 

1.ค่าจ้างแรงงานในการปฏิบัติงานภายในองค์กรให้เป็นไปตามประกาศของกรมแรงงาน

2. (เฉพาะ ปี พ.ศ. 2549 ) ให้ใช้อัตราหารเฉลี่ยดังนี้

2.1 หากจ้างแรงงานบุคคลภายนอก ให้คิดค่าจ้างแรงงานเป็นรายวัน ขั้นต่ำวันๆ ละ 100-บาท  หรือตามประกาศของกรมแรงงาน

2.2 หากเป็นบุคคลภายในองค์กรให้ หาจำนวนวันในการปฏิบัติงานในรอบปีทั้งปีแล้วหารด้วยอัตราส่วนที่กำหนดในการคิดค่าตอบแทนกรรมการและหารด้วยจำนวนผู้ปฏิบัติทั้งหมดในรอบปี

 

 เช่น           ในปี พ.ศ. 2549  มี วันทำการทั้งหมดในรอบปี จำนวน  52  วัน  และคาดว่าในปีนี้มีรายได้รวมทั้งหมดที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย   100,000- บาท และมีผู้ปฏิบัติงานเฉลี่ยวันละ 4 คน  อยากทราบว่าผู้ปฏิบัติงานจะได้รับค่าตอบแทนวันละเท่าไร?

 

วิธีทำ          ปี 2549  มี   จำนวนวันทำการทั้งหมด            52  วันทำการ

                   ปี 2549  มี   รายได้ทั้งหมดทั้งปี             100,000- บาท  ตามระเบียบข้อกำหนดให้คิดค่าตอบแทนกรรมการ  30  %   ของรายได้ เท่ากับ   30,000- บาท

                   เพราะฉะนั้น ปี 2549  มีรายได้ที่เป็นค่าตอบแทนจำนวน  30,000-บาท  หาร  จำนวนวันทำการทั้งปี   เท่ากับ      30,000% 52   =   576.92 บาท

                    เพราะฉะนั้นมูลค่า ค่าจ้างแรงงานวันละ   576.92   %  4  คน  =  144.23-บาท

 

                    สรุปผู้ปฏิบัติงานจะได้รับค่าจ้างแรงงานวันละ  144.23 บาท

 

2.3 หรือใช้ตามระเบียบในหมดที่ 6  ว่าด้วยอัตราค่าจ้างแรงงานและค่าตอบแทนกรรมที่กำหนดไว้

 

ภาคผนวก 4

 

ส่วนแบ่งหุ้นส่วนเมื่อสิ้นปีบัญชี และ ข้อกำหนดการสิ้นปีบัญชี

 

1.    ในแต่ละปีกำหนดให้มีสิ้นสุดทางการบัญชี ใน วันที่ 31  ธันวาคม  ของทุก ๆ ปี

2.    ให้มีการแสดงงบการเงินต่างๆตลอดจนสินทรัพย์ขององค์กรเป็นประจำทุก ๆ ปี

3.    ส่วนแบ่งของหุ้นส่วนให้ถือปฏิบัติดังนี้

 

                                                  รายทั้งหมด  -  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ - เงินสมทบกองทุน

                                                            

                                                                              หุ้นส่วนแต่ละหุ้น

จากสูตร  ( สมมุด )

 


              เช่น  ปี 2549    มีรายได้ ทั้งปี     100,000-บาท มีหุ้นทั้งหมด 84  หุ้น อยากทราบว่าจะได้รับค่าหุ้น ๆละเท่าไร?

 

               จากระเบียบข้อบังคับ รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆคงเหลือเท่าไร?แล้วให้หักเข้ากองกลางเพื่อสมทบกองทุนจำนวน  40 % ที่ เหลือ 60 % ให้แบ่งเป็นค่าหุ้นแต่ละหุ้นดังนี้

               รายได้ 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 40,000 บาท สมทบกองทุน 24,000บาท

                คงเหลือเงินที่จะแบ่งให้หุ้นส่วนแต่ละหุ้น =  36,000 บาท

                เพราะฉะนั้น  84   หุ้น  หารด้วย เงิน  36,000 บาท = 428.57 บาท

 

ส่วนแบ่งแต่ละหุ้นจะได้รับหุ้นละ     425.57 บาท

ภาคผนวก 5.

 

ระเบียบการขอกู้เงินสินเชื่อสำหรับสมาชิก

 

สำหรับผู้ที่ขอกู้เงินสินเชื่อจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

 

1.    ต้องเป็นสมาชิกขององค์กร

2.    ต้องจัดตั้งกลุ่มๆละอย่างน้อย 5 คนขึ้นไป

3.    บุคคลภายในกลุ่มค้ำประกันกันเอง

4.    การค้ำประกันถ้าใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันต้องมีผู้รับรองอย่างน้อย 1 คน

5.    จะต้องมีการออมเงินฝากกับหน่วยงานอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ

6.    การพิจารณาอนุมัติเงินให้กู้จะดูจากจำนวนเงินที่ฝากออมและจะอนุมัติให้ไม่เกิน 10 เท่าของเงินที่ฝากออมไว้

7.    และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เห็นว่าเกิดประโยชน์ต่อองค์กร

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 287476เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท