มุมมองการบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรษใหม่...By Rain


มุมมองการบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรษใหม่ 

 

        สถาบันอุดมศึกษายุคศตวรรษใหม่นี้ นอกจากจะมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการแล้ว คุณภาพ นับเป็นจุดเน้นที่สำคัญของอุดมศึกษาที่พึงปรารถนา ดังที่นายนายชัยวุฒิ  บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวที่สกอ. เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2552 (เดลินิวส์, กุมภาพันธ์ 2552: 5)  ดังนั้นในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา นอกจากแต่ละสถาบันต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน  และต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอกตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีเกณฑ์และวิธีการที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันแล้ว ยังต้องมีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อการรับรองหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับสถาบันทุกประเภท นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้องค์กร สมาคมวิชาการ/วิชาชีพ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา มีการพัฒนาระบบข้อมูล พัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพ (indicators) ตลอดจนสนับสนุนให้มีการจัดระดับคุณภาพ (rating) หรือจัดอันดับ (ranking) สถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นกลไกกระตุ้นในการพัฒนาคุณภาพ และเป็นข้อมูลในการเลือกรับบริการของผู้ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตลอดจนผู้ใช้ผลผลิตของสถาบัน

   สำหรับการเตรียมการปฏิรูประบบอุดมศึกษาครั้งใหม่ไปสู่การเปลี่ยนแปลง(transition management)  ตามที่จะกำหนดใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่  ซึ่งนอกจากจะต้องมีการจัดโครงสร้างการบริหารอุดมศึกษาใหม่ ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่แล้ว จะต้องมีการกำหนดแนวปฏิบัติในประเด็นต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องกัน ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ และการบริหารบุคลากร อันได้แก่ การเตรียมการให้สถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาที่มีความพร้อมออกนอกระบบอย่างเป็นระบบ การจัดให้มีระบบรับรองมาตรฐานหลักสูตร การรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา กลไกการรับนักศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน เกณฑ์การจัดตั้งและรับรองวิทยฐานะของสถาบัน การเรียกชื่อปริญญา การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติร่วมกันสำหรับสถาบันอุดมศึกษาแต่ละประเภทต่อไป ซึ่งการปฏิรูปในเชิงการบริหารอุดมศึกษาตามแนวทางที่เสนอ จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะ กระแสสังคมที่ต้องเห็นความสำคัญ และการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง การร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ นโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ระบบการบริหารจัดการที่ดีเพื่อ การพัฒนาขีดความสามารถ(capacity building) ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณ ตลอดจนการนำ ข้อเสนอไปสู่การปฏิบัติ  ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย และหน่วยงาน/องค์กรจำนวนมาก การสร้างความตระหนักถึงปัจจัยดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดการเตรียมพร้อมและเตรียมรับ เพื่อป้องกันปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปการบริหารมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

 By: Rain

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 287353เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มุมมองการบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรษใหม่ นอกจากจะเน้นเรื่องคุณภาพแล้ว และการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมแล้ว การบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรษใหม่ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต้องตอบสังคม ถึงการเป็นสังคมฐานความรู้ว่าได้ให้อะไรแก่สังคมได้ จึงจะทำให้การบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรใหม่ สามารถนำพามหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จได้

คุณภาพการศึกษาภายใต้ความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการของอุดมศึกษา

ไม่ควรลืมความรับผิดชอบต่อสังคม และต่อยอดงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างยั่งยืนครับ

มหาวิทยาลัยจะมีความเป็นเลิศได้นั้น จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในเรื่องความมั่นคงทางการเงินที่มากเพียงพอ โดยมีกลยุทธ์ในการระดมทุนให้เพียงพอในการจ้างคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญ และการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยให้โดดเด่น แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะมีองค์ประกอบหลายด้าน ทั้งด้านการเงิน การบริหารจัดการ บุคลากร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องพัฒนามหาวิทยาลัยของไทยให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งเพื่อประเทศต่อไปครับ

นายบุรินทร์ เทพสาร

เป็นที่รู้กันดีว่าสถาบันระดับอุดมศึกษา จะเข้าสู่การแข่งขันใน FTA ฉะนั้นในการบิหารงานองค์กรอุดมศึกษาต้องมีคุณภาพสูงมาก ทุกวันนี้ถ้าเรื่องคุณภาพ การอุดมศึกษาไทยจะมีในระดับ QC , QA , TQM บ้าง หรือการตรวจสอบและประเมินคุณภาพจาก (สมศ.)เพื่อที่พัฒนาคุณภาพขึ้นไปในระดับที่ยอมรับได้ แต่กระนั้นก็ตามในเวทีระดับนานาชาตินั้นมีการแข่งขันสูงมาก ฉะนั้นเมื่อจะบริหารมหาวิทยาลัยให้อยู่ในระดับ world ranking ได้นั้น Borad ต้องเก่งและนำหลักธรรมภิบาล(good govenance)ในการพาองค์เข้าสู่การแข่งขันได้

การปฏิรูประบบอุดมศึกษาครั้งใหม่ไปสู่การเปลี่ยนแปลง(transition management) ในส่วนที่เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีองค์ประกอบมากมายที่จะช่วยทำให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเติบโตทัดเทียมกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆในระดับนานาชาติ โดยส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานที่วัดได้เป็นตัวเลข และเห็นผลลัพธ์ตามจำนวนที่กำหนดไว้ สิ่งหนึ่งที่คิดคำนึงถึงการจัดอันดับในมุมมองของโลกตะวันออกหากมีการวัดสัมฤทธิผลทางการจัดระบบอุดมศึกษาที่มุ่งหวังให้ผู้ที่จบการศึกษาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจดีงาม เพื่อการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ก็คงดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท