สภาวะการศึกษาไทย...ทำไมถึงตกต่ำ


คุณภาพการศึกษาไทย นักเรียนออกกลางคัน นโยบายเรียนฟรี๑๕ปี

หนังสือพิมพ์ มติชน ปีที่ 32 ฉบับที่ 11476 , หน้า 22

            นายวิทยากร   เชียงกูล   คณะบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้เสนอผลการวิจัยเรื่องสภาวะการศึกษาไทยปี 2551/2552 ตกต่ำ  เด็กออกกลางคัน 50 % ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเถียงว่าไม่จริง  แต่จากข้อมูลแรงงาน 54.2% เรียนแค่ระดับประถมและต่ำกว่า   เนื่องจากผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและผู้จบประถมว่างงานน้อยเพราะไม่ค่อยเลือกงานเมื่อแรงงานส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยจะแข่งขันกับใครได้

             จากปัญหาดังกล่าวเมื่อมองมาที่นโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี ของรัฐบาล  ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของกระทรางศึกษาธิการที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โดยการมุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ตามรายการที่ภาครัฐให้การสนับสนุน  ซึ่งองค์กรหรือโรงเรียนทุกโรงเรียนก้ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินการในขั้นปฏิบัติตามนโยบาย  โดยงบประมาณโอนเข้าบัญชีเงินฝากของสถานศึกษาทุกแห่ง  เพื่อนำเงินมอบให้กับผู้ปกครองนักเรียนโดยตรงและการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่งว่าจะสามารถวางแผนงาน วางโครงการหรือจัดกิจกรรมสนองนโยบาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด

                หากมองในด้านตัวแบบ  ทางทฤษฎีในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  นโยบายดูจะมีประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม  เอื้อต่อการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรหรือหน่วยงานสถานศึกษาด้วยหลักการที่ชัดเจนซึ่งทั้งนี้ยอมขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของผู้บริหารและความร่วมมือของสมาชิกในองค์ในขั้นปฏิบัติ  และการเมืองซึ่งดูเหมือนจะมีอิทธิพลไม่มากนัก  เพราะนโยบายถึงผู้รับบริการระดับล่างโดยตรง(ประชาชน,นักเรียน) ผ่านการบริหารงานของสถานศึกษา และเกิดผลในด้านความพึงพอใจ

                 แต่หากประเมินความสำเร็จของนโยบายต้องมองไปถึงความสำเร็จที่แท้จริงของนโยบายหรือผลสำเร็จที่เป็นผลรวมของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศนั้น  หมายถึงรัฐต้องมีนโยบายตัวอื่นมารองรับ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิรูปการศึกษาที่ครบวงจรในทุกมิติ

หมายเลขบันทึก: 287347เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท