สถานการณ์ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เด็กในประเทศไทย


โทรทัศน์สำหรับเด็ก

การศึกษาสถานการณ์ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในประเทศไทย

สรุปผลการวิจัย  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

โดย ผศ.ลักษมี  คงลาภ  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

สรุปผลการวิจัย

                การศึกษาสถานการณ์ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในประเทศไทย สนับสนุนโดยแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)บริหารแผนงานโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก   ได้แก่  ภาพรวม ความเป็นมา   แรงจูงใจ    พัฒนาการ   รูปแบบและเนื้อหาการผลิตรายการ  สิ่งที่ผู้ผลิตระมัดระวังในการนำเสนอ  กระบวนการและขั้นตอนผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก        2)  ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก 3)  ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและทางออกในการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก              และ 4)  ศึกษาทิศทางและแนวโน้มของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก  โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์แบบเจาะลึก ( In-depth Interview ) ผู้บริหารและตัวแทนผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กจำนวน 27 บริษัท  รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง   สรุปผลการวิจัยในประเด็นต่างๆ   ดังนี้

1.              ข้อมูลของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในประเทศไทย

                ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความรู้สึกเคยชินกับกระแสการเกิด และการจากไปของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก กล่าวคือรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กไม่มีเสถียรภาพมั่นคง มีความไม่แน่นอนสูง แต่มีความหลากหลายมากขึ้น  ผู้ผลิตรายการจึงต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาในทุกด้าน  เพื่อให้การผลิตรายการเป็นไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป   แต่ที่สรุปได้คือ  เด็กควรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามสภาพวัย  ด้วยเนื้อหาสาระที่แฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน 

                ในด้านความเป็นมาและแรงจูงใจในการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก   พบว่า จุดเริ่มต้นแห่งแรงบันดาลใจในการทำรายการเด็กของหลายๆคน เกิดขึ้นจากความรู้สึกของความชอบซึ่งมีคำตอบว่า ชอบในสิ่งที่มีความเป็นเด็ก  ชอบเด็ก  รักสัตว์  และต้องการพัฒนาเด็กในรุ่นหลัง  รวมทั้งมีความรัก ความผูกพัน ความประทับใจกับรายการโทรทัศน์ที่ตนเองชื่นชอบ  เมื่อเติบโตขึ้นจึงมีความใฝ่ฝันที่จะผลิตรายการโทรทัศน์ให้กลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก  และผู้ผลิตบางรายต้องการต่อเติมความฝันของเด็กให้เป็นจริง   หรือมีนโยบายที่จะทำรายการที่ให้ประโยชน์ต่อสังคม  ส่วนจะเป็นรายการในรูปแบบใด  ก็แล้วแต่ความถนัดและความสนใจของผู้ผลิตแต่ละราย  เพื่อสร้างฝัน  สร้างจินตนาการ  สร้างอุดมการณ์  และปลูกฝังค่านิยม  สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับเด็ก  ที่เป็นผู้ชมเป้าหมายของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก   

                  ในส่วนพัฒนาการรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก   ทุกคนเห็นว่า  มีการเติบโตไปในทางที่ก้าวหน้า  มีการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งเนื้อหาสาระ เทคโนโลยี  ความคิดสร้างสรรค์  เวลาในการออกอากาศ  สามารถเข้าถึงกลุ่มเด็กๆได้ทั่วถึง    มีผู้ผลิตมากขึ้น   รวมทั้ง รายการการ์ตูนทางโทรทัศน์ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น  ก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยี   แต่ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์เนื้อหาและรูปแบบรายการใหม่ๆที่น่าประทับใจสำหรับเด็กรุ่นนี้ยังไม่ชัดเจน

                    ประเด็นรูปแบบและเนื้อหาการผลิตรายการนั้น  มีการนำเสนอแตกต่างกันตามความถนัดของแต่  พบว่าละองค์กร            รูปแบบที่กำลังจะเป็นที่นิยมและได้รับการตอบรับค่อนข้างดี     เป็นรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น รองลงมาคือรายการโชว์ต่างๆ ที่เป็นเวทีให้เด็กมาแสดงความสามารถ    หรือรายการที่ให้เด็กได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทางรายการ   นอกจากนี้ก็จะเป็นรูปแบบของสารคดี วาไรตี้ หรือเป็นเรียลิตี้ โชว์  รายการวิทยาศาสตร์   การส่งเสริมการอ่าน   ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย

ในส่วนของเนื้อหา  พบว่า   การนำเสนอด้วยการ์ตูน นิทาน หรือวรรณคดี จะเน้นการสอนให้เด็กรู้จักทำความดี   มีความกตัญญู มีน้ำใจ  สอนในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม มีคติสอนใจ   ปรับเนื้อหาให้ร่วมสมัย  ส่วนรายการโชว์ต่างๆ เน้นให้เด็กกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อเป็นแบบอย่างให้เด็กคนอื่นๆ สำหรับรายการสารคดีเป็นเรื่องราวชีวิตของเด็กในสังคม สอนเรื่องการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดย ผู้ผลิตทุกคนคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในด้านคุณธรรม จริยธรรม  ความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะเดียวกันต้องแทรกความสนุกสนานในเนื้อหาสาระด้วย

สิ่งที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กระมัดระวังในการนำเสนอก็คือ   เน้นการผลิตเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับเด็ก  โดยมีแนวคิดในเรื่องสิ่งที่พึงระมัดระวังในการนำเสนอต่างกันไป  เช่น  เรื่องของธรรมชาติในความเป็นเด็ก  ความเป็นตัวของตัวเอง  สิ่งที่จะกระทบอารมณ์ความรู้สึกในจิตใจของเด็ก   แม้กระทั่งรายการที่เป็นการแข่งขัน  ต้องให้เด็กเรียนรู้ชีวิตมากกว่าการเอาชนะ  หลีกเลี่ยงการนำเสนอความรุนแรง               สิ่งสำคัญคือ  การสร้างจิตสำนึกในใจให้เด็กคิดและนำไปใช้ในชีวิต

 

กระบวนการและขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก                แต่ละบริษัทก็จะมีวิธีการที่

แตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบของรายการที่ผลิต โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

ก.      การวางแผน

ได้แก่  การหาเวลากับสถานี  การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย  หาข้อมูล วางแนวคิดการผลิตรายการ

รวมไปถึงวิธีการนำเสนอที่ต้องมีบทที่เด็กเข้าใจได้  

                       ข.   การผลิตรายการ

หลังจากวางแผนการผลิต  ขั้นตอนต่อไปคือกระบวนการผลิตรายการตามที่กำหนดไว้   ซึ่งต่างกัน

ไปตามแนวทางของแต่ละองค์กร   มีการกำหนดเนื้อหา  การลำดับเรื่องราว  ถ่ายทำ  ตัดต่อ  เพื่อนำออกอากาศ

ส่วนกระบวนการผลิตการ์ตูนจะมีความละเอียดอ่อนในด้านงานศิลปะ  เน้นการวาดที่ต้องสื่อสารให้เคลื่อนไหว  เหมือนจริง  ดูมีชีวิต  บางรายการมีการทำวิจัย  ผลิต  ทำภาพยนตร์ตัวอย่าง  นำเสนอช่อง  แล้วจึงออกอากาศ

ค.      การติดตามผล

นับเป็นขั้นตอนของการตรวจสอบผลการออกอากาศ   จำนวนผู้ชม และความนิยมในรายการ  ด้วยการวัดจากการติดต่อขอรับรางวัลจากรายการ  การเขียนจดหมาย การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์  เป็นต้น

               

2.                                      ปัญหาอุปสรรคการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก

 

ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก  กล่าวถึงปัญหาต่างๆ ดังนี้

             2.1  ปัญหาทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  ก่อให้เกิดผลกระทบกับการผลิตรายการเด็ก  โดยเฉพาะในด้านของผู้สนับสนุนรายการ  ทำให้ผู้ผลิตรายการบางคนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ 

2.2 นโยบายรัฐบาล

การกำหนดนโยบายของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญของการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก  โดยเฉพาะการสนับสนุนด้วยให้มีรายการเด็กด้วยมาตรการต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม

                จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2546   ที่กำหนดมาตรการส่งเสริมให้เกิดมาตรการ การจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ( Rating )  และมาตรการอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก    ผู้ผลิตรายการให้ความเห็นว่า    การวางแนวทางดี  มีประโยชน์  แต่ยังไม่เห็นผลในเชิงปฏิบัติเท่าที่ควร   ผู้ผลิตรายการยังคงดิ้นรนในการหาช่องทางการออกอากาศ  การหาผู้สนับสนุนรายการเพียงลำพัง

  2.3 สถานีโทรทัศน์

  ได้แก่  ปัญหาในการหาช่องทางในการออกอากาศ และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเผยแพร่รายการ  อันเนื่องมาจากปัญหาการแข่งขันในเชิงธุรกิจของสถานี  ซึ่งมีการหารายได้เป็นหลัก  ดังนั้น  เวลาการออกอากาศของแต่ละช่องจึงเป็น เวลาทอง  ที่ราคาค่าเช่าเวลาสูง   ประกอบกับในบางช่วงเวลา  บางรายการก็ไม่ได้ออกอากาศ  เช่น  มีรายการอื่นมาแทรก  มีการงดการออกอากาศ  เป็นต้น

                เวลาในการออกอากาศก็เป็นปัญหาสำคัญของการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก   ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนแสดงความเห็นว่า   เวลาของรายการเด็ก  ควรเป็นเวลาที่มีเหมาะสมกับวิถีชีวิตประจำวันของเด็ก  และเด็กสามารถดูกับพ่อแม่ได้  ทั้งนี้  โดยปกติ  รายการเด็ก  จะมีกลุ่มเป้าหมายจำกัด  จึงเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาการหาผู้สนับสนุนรายการ  ซึ่งการโฆษณาสินค้าจะเน้นรายการที่มีผู้ชมนิยมดูมากเป็นหลัก

                สรุปได้ว่า   ผู้ผลิตรายการเห็นว่า  สถานีโทรทัศน์ควรเปิดโอกาสให้มีช่วงเวลาในการออกอากาศสำหรับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก   และควรเป็นช่วงเวลาที่มีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กดูรายการมากที่สุด  หากเป็นไปได้  ควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถดูโทรทัศน์ร่วมกับพ่อแม่ได้ด้วย 

2.4   ปัญหาผู้สนับสนุนรายการ (Sponsor)

ได้แก่  การหาผู้สนับสนุนที่เห็นความสำคัญของรายการเด็ก    วิธีการและรูปแบบการโฆษณา   ตลอดจนการกำหนดเนื้อหาจากผู้สนับสนุนรายการ    ระบบการตลาดและการประชาสัมพันธ์   ซึ่งบริษัทเล็กๆ จะไม่มีงบประมาณในส่วนนี้  ทำให้การหาผู้สนับสนุนยากยิ่งขึ้น

                นอกจากนี้   ยังมีการกล่าวถึงปัญหาเรตติ้ง (Rating)  ซึ่งหมายถึง ความนิยมของผู้ชมในรายการต่างๆ  นับว่า  เรตติ้งรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กก็เป็นปัญหาหนึ่งของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เช่นกัน   เพราะเรตติ้ง คือส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกการโฆษณาสินค้าในรายการต่างๆ

                2.5   ปัญหาทางด้านการผลิต 

                ได้แก่  ปัญหาบุคลากร  ปัญหากลุ่มผู้ชมเป้าหมาย  ปัญหาเงินทุน  และปัญหาจากการทำงาน

2.5.1     ปัญหาบุคลากร

ในด้านการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น  พบปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร  ที่ต้องใช้ความสามารถ    ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน   รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรที่สามารถคิดเนื้อหาได้   เพื่อที่จะสามารถผลิตเนื้อหาการ์ตูนโดยไม่นำเข้าจากต่างประเทศ    นอกจากนี้   การผลิตรายการโทรทัศน์ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคนิคสูง  หรือต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อพัฒนาตนเองและลดต้นทุนในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ          ส่วนการผลิตรายการเด็กทั่วไป  พบปัญหาด้านบุคลากรคือ  ยังขาดคนที่จะคิดเนื้อหาและรูปแบบรายการ

 

2.5.2                   ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย

ปัญหาการผลิตรายการสำหรับเด็กมีสิ่งที่ยากคือ  การตั้งโจทย์ว่า  กลุ่มเป้าหมายรายการคือใคร  เด็กชอบอะไร มีความสนใจในเรื่องใด  เพื่อนำเสนอรายการที่ตรงใจเด็กที่สุด

2.5.3                   ปัญหาเงินทุน

 ผู้ให้สัมภาษณ์ต่างให้ความเห็นว่า  รายการเด็ก  เป็นรายการที่ต้องใช้ความพิถีพิถัน  ใช้งบประมาณสูง   ทั้งค่าสถานี  ค่าผลิต  การตลาด  การประชาสัมพันธ์  การวิจัย   

               

2.5.4                   ปัญหาจากการทำงาน

ในส่วนของภาพยนตร์การ์ตูนจะประสบปัญหาหลากหลาย   ได้แก่  หลายส่วนยังไม่เห็นความสำคัญ

ของการ์ตูน  ทำให้การสนับสนุนของคนในสังคมมีไม่มากนัก  ปัญหาในระบบกระบวนการผลิตการ์ตูน  ซึ่งมีขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน  ใช้บุคลากรมาก   ส่วนการผลิตรายการอื่นๆ   ประสบปัญหาด้านรูปแบบและเนื้อหารายการ                ในส่วนของการผลิตรายการเด็กทั่วไป  พบปัญหาในการทำงาน   เกี่ยวกับการเสาะแสวงหาเนื้อหาใหม่ๆให้สอดรับกับสิ่งที่เปลี่ยนไปในสังคม  ส่วนเนื้อหาที่ผู้ผลิตคิดว่าต้องพัฒนา  คือการให้เด็กมีส่วนร่วมในรายการ    แต่ควรให้สอดคล้องวิถีการดำรงชีวิตของคนไทย  ซึ่งผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กต้องคิดค้น  พัฒนาเนื้อหาให้ได้  รวมทั้งหาคำตอบว่าต้องการให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เป็นแบบใด

 

                    สรุปว่า   ปัญหาด้านการทำงานที่ผู้ผลิตรายการกล่าวถึง  คือ ปัญหาบุคลากรทั้งด้านวิชาการและเทคนิค  การคิดค้นสร้างสรรค์เนื้อหาและรูปแบบรายการ ปัญหาในการประชาสัมพันธ์รายการให้เป็นที่รู้จัก

                                   ดังนั้น  สรุปปัญหาอุปสรรคของการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์  ประกอบด้วย  ปัญหาทางเศรษฐกิจ   นโยบายรัฐบาล   สถานีโทรทัศน์  ปัญหาผู้สนับสนุนรายการ   และปัญหาทางด้านการผลิต  ได้แก่  ปัญหาบุคลากร  ปัญหากลุ่มผู้ชมเป้าหมาย  ปัญหาเงินทุน  และปัญหาจากการทำงาน

 

3. แนวทางการแก้ไขปัญหาและทางออก

                                                ผู้ให้สัมภาษณ์ที่ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กนำเสนอทางออกเพื่อการแก้ไขปัญหา ดังนี้

3.1      ภาครัฐ

                รัฐบาลควรมีส่วนในการสนับสนุนรายการเด็กอย่างจริงจัง  เพราะผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กทั้งผู้ที่อยู่ในวงการมานานและผู้ที่ก้าวเข้าสู่วงการใหม่  มีความรัก มีความพร้อม และมีแรงบันดาลใจสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีสำหรับเด็ก หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล   ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่

-ทุนสนับสนุน

-การหาช่วงเวลาที่เหมาะสมให้

หมายเลขบันทึก: 287126เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท