งามแสงเดือน


เรื่อง รำวงมาตรฐาน (งามแสงเดือน)

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่  เพลงรำวงมาตรฐานประกอบด้วย ๑๐ เพลงด้วยกัน คือ

เพลงงามแสงเดือน

เพลงดอกไม้ของชาติ

เพลงชาวไทย

เพลงหญิงไทยใจงาม

เพลงรำซิมารำ

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า

เพลงคืนเดือนหงาย

เพลงยอดชายใจหาญ

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

เพลงบูชานักรบ

 

วิธีเล่นรำวงมาตรฐาน

1. แสดงเป็นคู่ ชาย - หญิง จะใช้กี่คู่ก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่

2. ก่อนเริ่มรำ หญิง - ชาย ทำความเคารพกันด้วยการไหว้ หรือ หญิงพนมมือไหว้ ชายโค้ง

3. ก่อนรำแต่ละเพลง ดนตรีนำ 1 วรรค เพื่อให้การเดินเท้าในจังหวะแรกพร้อมเพรียงกัน

4. มีความพร้อมเพรียงในการรำ ระยะคู่ไม่ห่างหรือชิดกันเกินไป

5. ใช้ท่ารำตามที่กำหนดไว้ในแต่ละเพลง

6. พนมมือไหว้ซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะออกจากวงรำ

บทร้อง เพลงงามแสงเดือน

 

คำร้อง                  จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร

(ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)

ทำนอง                 อาจารย์มนตรี  ตราโมท

                งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า             งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ    (ซ้ำ)

         เราเล่นเพื่อสนุก                                       เปลื้องทุกข์วายระกำ

          ขอให้เล่นฟ้อนรำ                                     เพื่อสามัคคีเอย

ความหมาย         ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ดูสวยงาม  ผู้คนที่มาเล่นรำวงยามที่แสงจันทร์ส่อง ก็มีความงดงามด้วย  การรำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน มีความสามัคคีกัน และละทิ้งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป

 

ท่ารำ งามแสงเดือน

ท่าที่ใช้ในการร่ายรำ คือ ท่าสอดสร้อยมาลา

 

  •  งามแสงเดือน

ท่าสอดสร้อยมาลา               มือซ้ายจีบหงายที่ชายพก (ระดับหัวเข็มขัด) มือขวาตั้งวงสูงระดับหางคิ้ว

(ชายตั้งวงระดับศีรษะ) เอียงซ้าย

  •  มาเยือนส่องหล้า

เลื่อนมือซ้ายที่จีบให้ห่างออกจากลำตัวเล็กน้อย แล้วปล่อยจีบเป็นมือแบหงาย มือขวาจีบคว่ำ

  •  งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)

มือซ้ายพลิกข้อมือขึ้นตั้งวง มือขวาเลื่อนวงลงข้างลำตัวเล็กน้อย แล้วเปลี่ยนจากวงเป็นจีบหงายที่ชายพก เปลี่ยนเป็นเอียงขวา ทำเช่นนี้สลับกันซ้ายขวา

  • เราเล่นเพื่อสนุก

หญิงหมุนตัวไปทางด้านซ้ายแล้วเปลี่ยนมือ ชายหมุนตัวไปทางด้านขวาแล้วเปลี่ยนมือ
คำว่า "เราเล่นเพื่อสนุก" มือขวาจีบคว่ำ มือซ้ายแบมือหงาย

  •  เปลื้องทุกข์วายระกำ

คำว่า "เปลื้องทุกข์วายระกำ" มือซ้ายยกขึ้นตั้งวง มือขวาจีบหงายที่ชายพก เดินไปครึ่งวงกลม 4 จังหวะ

  • ขอให้เล่นฟ้อนรำ
    คำว่า "ขอให้เล่นฟ้อนรำ" มือซ้ายจีบคว่ำ มือขวาแบมือหงาย
  • เพื่อสามัคคีเอย
    คำว่า "เพื่อสามัคคีเอย" มือขวายกขึ้นตั้งวง มือซ้ายจีบหงายที่ชายพก
  • การก้าวท้าว เริ่มก้าวเท้าซ้ายก่อน โดยเท้าที่ก้าวกับมือจีบต้องเป็นข้างเดียวกัน ให้นับการก้าวเท้า 8 ครั้งจึงเปลี่ยนมือ 1 ครั้ง และศีรษะเอียงข้างจีบเสมอ
หมายเลขบันทึก: 286916เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ทำ ให้ผม คิด ถึง ตอน ผม เด็กๆๆ

หนูขอได้ไม๊ค่ะพี่สาว ^^

คิดถึงตอนที่เรียนอยู่ประถม

ไม่เห็นมีความหมายขอเนื้อเพลงเลยเซ็ง

มาเต้นรำวงด้วยคนครับ

ในคราวนี้ ยามค่ำคืน

ที่มีแสงเดือน

ถึงจะ งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง ไปหน่อยแต่ก้อมีประโยดสามหราบโคนเรียน อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

ไม่เห็นมีบอกชื่อผู้แต่งเลยค่า

แล้วจะรู้ไดยังไงว่าไครเปนโคนแต่น

จุฑาทิพย์ วิมูลศักดิ์

น่ารักอ่ะ p.mo e.p. k.n.

ถูกใจ ใช่เลย มันโดนใจอ่ะ

ทำรายงานได้เรยค่เว็บเดียวรุ้เรี่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท