ครูผู้ "ดูแลจิต..."


ครูอาจารย์ผู้ “ดูแลจิต” ให้เราเป็นผู้ “ประเสริฐ” ยิ่ง

เราในที่นี้ยังเป็น “ปุถุชน” ผู้ที่มีจิต มีใจอ่อนแอต่อกิเลส ตัณหา และกามราคะ
จิตใจของเรายังอ่อน ปวกเปียก และพร้อมเดินตามเรียกเพรียกแห่ง “ตัณหา”

ตัวเราเองจึงยังไม่สามารถ “ดูแลจิต” ของตนเองได้
ครูอาจารย์ผู้มีปัญญา ท่านรู้ว่าเวลาใดควรตี ควรใดควรปล่อย เวลาใดที่ค่อย ๆ ฝึก ค่อย ๆ หัด

ชีวิตควรจะมีที่พึ่งที่ดี ที่ประเสริฐ ได้แก่ได้ “พระอริยเจ้า” ผู้เป็นเลิศด้วยจิตใจ

คนใดที่ครูมีอาจารย์ดี คนผู้นั้นย่อมมี “กัลยาณมิตร” อันประเสริฐ บริสุทธิ์ และสิ้นสุดแห่งความเห็นแก่ตัว

ครูอาจารย์ที่ดีท่านย่อมมีความ “ยุติธรรม”
ความยุติธรรมของครูอาจารย์ย่อมตัดสินใจความทุก ๆ อย่างตามความ “ถูกต้อง”

ความยุติธรรมนั้นจะไม่อ้างอิง “กระแสของสังคม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมที่เป็น “ประชาธิปไตย”
สังคมประชาธิปไตยมักจะทำอะไร ๆ แบบ “พวกมากลากไป”
และพวกที่มากของสังคมส่วนใหญ่นั้นก็เป็น “ปุถุชน” และเอ่อล้นด้วย “พาลชน”

บุคคลใดที่มีจิตเข้มแข็งต่อกิเลส ตัณหา และกามราคะ เราควรจะรีบขวนขวายหามาเป็น “มิตร”
บุคคลใดที่อ่อนแอและพ่ายแพ้ต่อกิเลส ตัณหา และกามราคะ เราควรจะวิ่งหนีให้ไกลห่าง

บุคคลที่เข้มแข็งนั้นแลเราจึงยกย่อง เชิดชูให้ท่านเป็นครู เป็นอาจารย์

กระแสกิเลสอันเชี่ยวกรากของสังคมนี้ คนตัวน้อย ๆ อย่างเรานี้ควรมีที่พึ่งคือ “พระรัตนตรัย”
พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า เราควรยกย่องไว้ในฐานะ “ครู”

พระสังฆเจ้าในที่นี้หมายความเฉพาะถึง “พระแท้” คือ ผู้ที่มีจิตใจหลุดพ้นเข้ากระแสใน โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล
พระสังฆเจ้าในที่นี้ ไม่นับรวม “สมมติสงฆ์” ที่ถูกสมมติตัว สมมติตนขึ้นมาเป็น “สงฆ์”

ชีวิตหนึ่ง ชีวิตนี้ต้องหาครูหาอาจารย์ที่ “แท้” ให้ได้
เมื่อทุกข์ท่านจะสอนให้รู้ทุกข์ เมื่อสุขท่านจะสอนให้รู้สุข เมื่อรู้ทุกข์ รู้สุขแล้วท่านจะให้เราวางทั้งทุกข์ ทั้งสุข...

วันใดจิตใจไร้ครู วันนั้นย่อมหดหู่ด้วยกิเลส
ยกย่องครูให้อยู่คู่ดวงใจ ถึงแม้นห่างไกลครู จิตใจนี้ก็ยังอยู่คู่ความดีของ “ครู” ตลอดไป...

หมายเลขบันทึก: 286825เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งขอรับ แต่หาก เราเพรียกหาแต่ อ. แต่ไม่ลองหา อ.ภายใน จิตเรา เราก็จะเสียเวลาเปล่า อัตตาหิ อัตตาโน นา โถ พระพุทธองค์ กล่าวเป็น พุทธวจพจน์ ไว้ หากเราลอง ดูจิต ดูจิต อย่าสนใจ โลกภายนอก ให้ดูจิต ของเรา และเรียนรู้มัน ทั้ง สมถะ และภาวนาปัญหา (สติปัฐฐาน) ก็จะ มีความเจริญ แห่งจิต แน่แท้ ..

ขอบคุณ กับบทความขอรับ

แค่เงา...และผงธุลี..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท