เทคนิคการเจาะเลือด


เทคนิคการเจาะเลือด

การจัดการความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ ภายในโรงพยาบาล โรงพยาบาลมโนรมย์

เรื่อง  เทคนิคการเจาะเลือด                เป้าหมาย  เพื่อเจาะเก็บเลือดได้อย่างถูกต้องเจาะ ครั้งเดียวได้ ป้องกันการเกิด Hemolysis

วันที่ 3 กรกฏาคม 2552  ณ ห้องพุทธรักษา  มีผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  11  คน

เป้าหมาย

KV : Knowledge  vision

การเล่าเรื่อง

KS : Knowledge  shairing / Story Telling

คลังความรู้

KA : Knowledge assets / แนวทางปฏิบัติ

เจาะเก็บเลือดได้อย่างถูกต้องเจาะ ครั้งเดียวได้ ป้องกันการเกิด Hemolysis

 LAB : สอบถามปัญหาที่เกิดจากการเจาะเลือดพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ

เจาะเลือดไม่ได้ในครั้งเดียว  เจาะเลือดได้ไม่พอ เจาะได้แล้วเกิด Hemolysis

ER :  สอบถามกรณีที่ดูดเลือดผ่าน Medicat

LAB:  การดูดเลือดผ่าน Medicat มีโอกาสเกิด Hemolysis ได้ ตามหลักการควรเจาะคนละเส้น กับเส้นที่ให้ IV

การดูดเลือดจาก Medicat บางทีก็จำเป็นที่ต้องใช้ แต่การดูดควรทำด้วยความนุ่มนวล และยังไม่ควรดึงสายรัดออก

ER :  สอบถามเทคนิคการเจาะเลือดให้ไม่เจ็บ

 LAB  : เทคนิคในการเจาะเลือด จะแทงจากผิวหนังถึงเส้นเลือดจังหวะเดียวเลย  ไม่แทงเข้าผิวหนังก่อน แล้วจึงแทงเส้นเลือด แรงดันจากเส้นเลือด ทำให้เราทราบว่า เราเจาะตรงเส้นแล้ว เส้นเลือดที่เจาะคือเส้นเลือดที่อยู่กลาง(Superficial  vein) การถอนปลายเข็มออกให้ใช้สำลีกดเบาๆแล้วถอนปลายเข็มออกด้วยความนุ่มนวล และให้ผู้ร่วมประชุมลองทำการคลำเส้นจากmodelที่ห้องlabจัดทำขึ้น

LAB  :ปัจจัยที่ทำให้การเจาะเลือดไม่สำเร็จคือ

-ยึดเส้นเลือดไม่ดีพอ

-แทงเข็มไม่ลึกพอหรือไม่เข้าไปในเส้นเลือด

-แทงเข็มทะลุเส้นเลือด

แนวทางปฏิบัติในการเจาะเลือดเพื่อป้องกันการเกิด Hemolysis

1. เข็มที่ใช้เจาะ ใช้เข็มเบอร์ 21, เข็มเบอร์ 18       ในเด็กใช้เบอร์ 24

2. การใส่เลือดลงใน tube ไม่ควรฉีดเลือดลงใน tube ให้ใช้เข็มแทงลงไปใน tube ให้ความเป็น   สูญญากาศใน Tube ดูดเลือดลงไปเอง

3. ควรเจาะเลือดคนละเส้น กับเส้นที่ให้ IV

4. กรณีที่ต้องใช้วิธีการดูดเลือดจาก Medicat   การดูดควรทำด้วยความนุ่มนวล และยังไม่ควรดึงสายรัดออก

5. วิธีในการเรียงลำดับ การนำเลือดลงใน Tube เลือด กรณีมีการเจาะเลือดส่งตรวจหลายอย่าง พร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันการ Contaminate สารที่อยู่ใน Tube ซึ่งจะมีผลทำให้ผลการตรวจผิดไป 

     1. Tube สีฟ้า

     2. Tube สีแดง

 

 

เป้าหมาย

KV : Knowledge  vision

การเล่าเรื่อง

KS : Knowledge  shairing / Story Telling

คลังความรู้

KA : Knowledge assets / แนวทางปฏิบัติ

 

-ปลายเข็มไปชิดหรือสัมผัสกับผนังหลอดเลือด

การแก้ไขหรือข้อควรระวัง

1.การใช้นิ้วสัมผัสเส้นเลือดเพื่อหาทิศทางและตำแหน่งก่อนทำความสะอาดให้แม่นยำจะช่วยในการบอกตำแหน่งและความลึกของเส้นเลือดก่อนทำการเจาะ

2.กรณีของเส้นเลือดผู้สูงอายุเส้นเลือดจะมีลักษณะแข็งและพลิกดิ้นไปมาขณะแทงเข็มดังนั้นต้องยึดหรือจับเส้นเลือดผู้ป่วยให้นิ่งอยู่กับที่โดยการยึดผิวหนังตึง ก่อนจะแทงเข็ม

3.กรณีแทงเข็มทะลุเส้น การถอนเข็มออกมาเล็กน้อยจะสามารถจัดทิศทางของเข็มทำให้เข็มเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดได้

4.กรณีปลายเข็มไปชิดหรือสัมผัสกับหลอดเลือด การขยับปลายเข็มเล็กน้อย ขยับซ้ายขวา หรือขยับขึ้นลงเล็กน้อยจะทำให้ปลายเข็มหลุดจากการสัมผัสผนังหลอดเลือดได้

5.กรณีที่เส้นเลือดหดตัวแฟบลงทำให้เลือดไม่เข้า Syringe มักพบในกรณีที่ดึงก้าน  Syringe เร็วเกินไป

 

LAB:  วิธีในการเรียงลำดับ การนำเลือดลงใน Tube เลือด กรณีมีการเจาะเลือดส่งตรวจหลายอย่าง พร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันการ Contaminate สารที่อยู่ใน Tube ซึ่งจะมีผลทำให้ผลการตรวจผิดไป 

 

     3. Tube CBC

     4. Tube กลูโคส เป็น Tube สุดท้าย

6. เทคนิคในการ Mix เลือด ใน Tube ที่มีสารกันเลือดแข็งตัว ให้ใช้วิธี พลิกไป-มา หรือ คว่ำหงาย Tube อย่างช้าๆ ให้เลือดไหลลงมาหมดแล้วจึงพลิกกลับ ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง  ไม่ควรหมุน Tube

ข้อควรระวัง ในการเจาะเลือด

1.การเจาะเลือดที่มีสารกันการแข็งตัวของเลือด เมื่อใส่เลือดแล้วต้อง Mix กลับไปกลับมา 5-10 ครั้งทันที

 2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ได้แก่

 - ดูดเลือดเร็วเกินไป   

- ดันเลือดใส่ tube แรงไป

 - Syringe Needle, tube ไม่สะอาด

 - เข็มเล็กเกินไป

 

เป้าหมาย

KV : Knowledge  vision

การเล่าเรื่อง

KS : Knowledge  shairing / Story Telling

คลังความรู้

KA : Knowledge assets / แนวทางปฏิบัติ

 

1. Tube สีฟ้า

2. Tube สีแดง

3. Tube CBC

4. Tube กลูโคส เป็น Tube สุดท้าย

-  เทคนิคในการ Mix เลือด ใน Tube ที่มีสารกันเลือดแข็งตัว ให้ใช้วิธี พลิกไป-มา หรือ คว่ำหงาย Tube อย่างช้าๆ ให้เลือดไหลลงมาหมดแล้วจึงพลิกกลับ ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง  ไม่ควรหมุน Tube

Ward: สอบถามเทคนิคการเจาะเลือดในเด็กแรกเกิด

LAB:  แชร์ประสบการณ์ว่า กรณีเจาะเลือดในเด็กแรกเกิดควรใช้ เข็มเบอร์ 21แล้วหักกระเปราะเข็มสีเขียวออกเพื่อให้เลือดออกมาเป็นหยด

OPD: แชร์ประสบการณ์ว่า ปัจจุบันในward ใช้เจาะใส่tube hematocrit จะมีปัญหาในการตรวจหรือไม่

LAB:  แชร์ประสบการณ์ว่า ใส่tube hematocrit ให้ระวังการหยดเลือดลงกระดาษกรองไม่ให้ tube hematocritสัมผัสกับผิวกระดาษเพราะจะทำให้ผิวกระดาษเป็นขุ่ยทำให้สกัดผลไม่ได้

 

 

 

 

 

- ไม่ถอดหัวเข็มก่อนดันเลือดใส่ tube

 - ทิ้ง tube ไว้ใกล้ที่มีอุณหภูมิสูงจัด

 3. หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดจากเส้นเลือดที่มีการให้น้ำเกลือ ยาหรือสารต่างๆ ทำให้ผลผิดปกติ เช่น High FBS

 


 

หมายเลขบันทึก: 286417เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เขียนได้ดี อยากให้พยาบาลเข้ามาอ่านกันทุกคนเลย

Boss

ปฏิบัติตามแนวทางที่ให้ไว้แล้วแต่บางครั้งก็ยังผิดพลาด

พยาบาล ward 2nd

ขอแชร์ประสพการณ์หน่อยนะคะ หากปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ยังเกิดการผิดพลาดอยู่ ควรทบทวนกระบวนการหลักแล้วล่ะค่ะว่ากระบวนการไหนมีข้อผิดพลาด หรืออาจมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากนี้ ก้อควรแก้ที่จุดนั้น หรืออาจเป็นที่ตัวบุคคล

เคยแต่โดนเจาะ ^^

เหมือนจอยแหละ ^^

ในการปฏิบัติจริงที่เห็น กรณีAdmit เกือบ 100% ที่มีIV จะดึงเลือดจาก Medicut เนื่องจากกลัวผู้ป่วยเจ็บหลายครั้ง ยกเว้นดึงจาก Medicutไม่ได้จริงๆ (แม้จะทำ KS ไปแล้วก็ตาม)อย่างไรก็อย่าลืมระวังเรื่องการ Contaminat ด้วยนะจ๊ะ IC

เทคนิคการเจาะเลือดไม่ถูกต้องมี hemolysis serum มีผลกระทบต่อการทดสอบเช่น ค่า potassium /LDH ที่ได้ค่าสูงลวง

อยากให้ที่รพ.มีแบบนี้บ้างจังขนาดผ่าน HA แล้วยังไม่มีแบบนี้เลยค่ะ

เทคนิคเขาดี แต่มีปัญหาเรื่องสายตาฝ้าฟางเพราะแก่..ไม่รู้จะทำไงดี....

Nurse ward

พี่จรรบอกให้ขอยืมแว่นขยายของboss ซิจ๊ะ

การดูดเลือดผ่าน Medicat มีโอกาสเกิด Hemolysis น่าจะเป็นเพราะขนาดของ

Medicat ถ้าใช้ No. 21 ขึ้นไป ไม่น่ามีปัญหา แต่สงสัยว่า กรณีของเด็กที่ใช่เข็ม No.24 แล้วไม่มีปัญหา Hemolysis หรือคะ ใครมีเทคนิคอะไรเพิ่มช่วยบอกด้วย

เทคนิคเขาดี แต่มีปัญหาเรื่องสายตาฝ้าฟางเพราะแก่..ไม่รู้จะทำไงดี....

ทำอย่างที่เขียนไว้ไงจ๊ะ

1.การใช้นิ้วสัมผัสเส้นเลือดเพื่อหาทิศทางและตำแหน่งก่อนทำความสะอาดให้แม่นยำจะช่วยในการบอกตำแหน่งและความลึกของเส้นเลือดก่อนทำการเจาะ

สาวตาดี

กรณีของเด็กที่ใช่เข็ม No.24 แล้วไม่มีปัญหา Hemolysis

เพราะว่าขนาดหลอดเลือดของเด็กเล็ก จึงไม่ค่อยมีปัญหา Hemolysis ถ้าปฏิบัติตามแนวทางอื่นๆถูกต้อง

การเจาะเลือดในเด็กใช้เข็มเบอร์24ใช้กับเด็กในช่วงอายุเท่าไหร่ ในเด็กอายุตำกว่า1ปีอยากขอความช่วยเหลือจาก lab ช่วยเจาะได้ไหม

เขียนได้ดี อ่านเข้าใจง่ายได้ความรู้มากมายค่ะ

เคยมีคำเปรียบ"การเจาะเลือดเหมือนกับการว่ายน้ำเป็น" หากเราเคยทำได้อย่างไรก็ไม่ลืม เหมือนกับการว่ายน้ำเป็นนั่นแหละ แม้ไม่ได้ว่ายนานเท่าไร แต่ก็ว่ายได้เหมือนกัน ทุกอย่างเป็นไปอย่างอัตโนมัติและธรรมชาติ

การเจาะเลือดเป็นทักษะ ถ้าทำบ่อยๆก็ชำนาญ เมื่อก่อนตอนอยู่ WARD เด็ก ก็เจาะเลือดเด็กได้แบบง่าย ผ่านไปเกือบ 20 ปี คิดว่าก็พอจะทำได้ แต่ที่เห็นว่ายากคือ ทำอย่างไรให้เลือดที่เจาะมาส่งตรวจแล้วผลออกมาถูกต้องตรงตามคำสั่งการรักษา ผู้ป่วยไม่ถูกเจาะซ้ำโดยไม่จำเป็น

หัวหน้าเวช

อยากมีเทคนิคในการเจาะเลือดไม่เจ็บ เวลาที่เจาะเส้นประสาทส่วนปลาย ตรงมือนะค่ะ ทำไม pt บอกว่าเจ็บค่ะ

อยากมีเทคนิคในการเจาะเลือดไม่เจ็บ เวลาที่เจาะเส้นประสาทส่วนปลาย ตรงมือนะค่ะ ทำไม pt บอกว่าเจ็บค่ะ

บีบไล้ปลายนิ้ว 1-3 ครั้งเจาะขวางลายนิ้วมือ

ประสบการณ์ล้วน ๆ เลยครับ ยิ่งทำมาก ยิ่งยาก ยิ่งเก่ง

คนเก่ง..หัวใจแกร่ง..แทงไม่เจ็บ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท