บรรณานุกรม


แชร์

เอกสารประกอบการบรรยายของ  อ. วัลลภา  อยู่ทอง  สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ

ในการเขียนบรรณานุกรมจำเป็นจะต้องมีการอ้างอิง บอกแหล่งที่มาของข้อมูลซึ่งจะปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบท

การอ้างอิงบรรณานุกรม หมายถึง การอ้างอิงแหล่งสารนิเทศซึ่งเป็นทฤษฎี ข้อมูลความรู้มาประกอบในผลงานทางวิชาการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เพื่อบอกแหล่งที่มาของสารนิเทศอันเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานเหล่านั้น

การอ้างอิงที่ผู้จัดทำนำเสนอนี้เป็นระบบ APA (American Psychological Association) เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมในผลงานทางวิชาการของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

วิธีการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมจากสารนิเทศประเภทต่างๆ มีดังนี้

 

1.     หนังสือ

 

     1.1  ผู้แต่งคนเดียว

ชื่อ / ชื่อสกุลผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / /ชื่อหนังสือ. / / ครั้งที่พิมพ์. / /เมืองที่พิมพ์/:       

/ / / / / / / / สำนักพิมพ์.

 

 

 

 ตัวอย่าง

เริงชัย  หมื่นชนะ.   (2538).   จิตวิทยาธุรกิจ.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

O’Brien, J. A.   (1999).   Management information : Managing Information  technology in the  internet worked enterprise.  4 th ed.  Boston : McGraw-Hill.

 

1.1.1 ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อสกุลตามด้วยอักษรย่อทั้งชื่อต้น  และชื่อกลาง (ถ้ามี)  โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) (,) แบ่งชื่อสกุล และชื่อต้น

ตัวอย่าง            O’Brien, J. A.    

                        Mullen, N. D.

เอกสารประกอบการบรรยายของ  อ. วัลลภา  อยู่ทอง  สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ


1.1.2     ผู้แต่งชาวไทย ให้ใส่ชื่อตามด้วยนามสกุลในกรณีที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ  เครื่องหมายจุลภาค (,) หลังนามสกุลและตามด้วยฐานันดรศักดิ์  บรรดาศักดิ์ หรือยศ เช่น

                          คึกฤทธิ์  ปราโมช, พลตรี ม...

                          อนุมานราชธน, พระยา

                          สุภัทรดิส  ดิสกุล, ..

 

หมายเหตุ  ไม่ต้องใส่คำต่อไปนี้

                          1.  คำนำหน้าชื่อ  เช่น  นาย  นาง  นางสาว  Mr.  Mrs.

                          2.  ตำแหน่งทางวิชาการ  เช่น  ดร.  .  รศ.  Dr.  Prof.

                          3.  คำระบุอาชีพ  เช่น  นายแพทย์  แพทย์หญิง  ทันตแพทย์

 

1.1.3 สมณศักดิ์  ให้คงไว้ปกติไม่ต้องย้ายไว้ด้านหลัง  เช่น  พระเทพคุณาธาร  พระเทพวาที     พระพิศาลธรรมเวที

ยกเว้น             ผู้แต่งที่เป็นพระสังฆราชและเชื้อพระวงศ์ ให้ลงพระนามจริงก่อน แล้วกลับคำนำหน้า     ที่แสดงลำดับชั้นเชื้อพระวงศ์ไปไว้ข้างหลัง  โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)

 

ตัวอย่าง

                          ปรมานุชิตชิโนรส,  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระ

 

     1.2  หนังสือที่มีบรรณาธิการ 

 

               ให้ลงชื่อบรรณาธิการแทนผู้แต่ง และใส่คำบรรณาธิการ  หรือ   ผู้รวบรวม  หรือ Ed.  หรือ Eds. หรือ Comps.  โดยใส่ไว้หลังเครื่องหมายจุลภาค ( , )  ต่อจากชื่อบรรณาธิการ

 

ตัวอย่าง

เรืองวิทย์  ลิ่มปนาท, บรรณาธิการ.  (2543).  ท้องถิ่น-อินเดีย.   ชลบุรี :  ภาควิชาประวัติศาสตร์

                คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Diener, H. C., &Wilkinson, M., Eds..  (1988).  Drug-induced headache.  New York :

                  Springerverlag.

 

     1.3  ผู้แต่ง  2-3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน

 

               ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน  โดยใช้คำว่า “ , และ  หรือ “, &”  เชื่อมดังนี้  ถ้า  2 คนเชื่อมระหว่างชื่อผู้แต่งคนที่ 1 และคนที่ 2    ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ  ต้องกลับเอาชื่อสกุลขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 2 คน กรณี 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน  ให้ระบุผู้แต่งให้ครบทุกคน ชื่อแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค “ , ”เช่น คนที่ 1,คนที่ 2  และคนที่ 3 

 

ตัวอย่าง  ผู้แต่ง  2  คน

ศรีสุรางค์  พูลทรัพย์  และสุมาลย์  บ้านกล้วย.   (2525).  ตัวละครในรามเกียรติ์ : ลักษณะความเป็นมา

              และพฤติกรรมของตัวละครในรามเกียรติ์เปรียบเทียบกับตัวละครในมหากาพย์รามายณะ. 

                  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Galton, M.  & Williamson, J.   (1992).   Group  Work  in  the primary Classroom.  London

                  : Routledge.

 

ตัวอย่าง ผู้แต่ง  3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน

วัลลภ  สวัสดิวัลลภล, สุเวช  ณ หนองคาย, เบญจรัตน์  สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง,  และชัยเลิศ 

                บริสุทธกุล.   (2541).   สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า = Information for study    skills and

              research.   พิมพ์ครั้งที่ 3.   นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  สถาบันราชภัฏนครปฐม.

 

     1.4  ผู้แต่งมากกว่า  6  คน

 

               ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่าและคนอื่นๆ  สำหรับชาวไทย “and others”  สำหรับชาวต่างประเทศ

 

ตัวอย่าง

จรวย  บุญยุบล  และคนอื่นๆ.   (2536).   พลังงาน.   กรุงเทพฯ :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cramer, R.L.  and others.   (1984).   Language : Structure  and use. 2 nd ed.  Illinois : Scott.

 

หมายเหตุ

               กรณีที่หน้าปกมีชื่อผู้แต่งคนแรก  ตามด้วย และคนอื่นๆหรือ และคณะให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกตามที่ปรากฏที่หน้าปกของหนังสือได้เลย  เช่น

ศิริวรรณ  เสรีรัตน์  และคนอื่นๆ.   (2543).   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและกรณีศึกษา =

                Management Information Systems (MIS) and cases.   กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

 

     1.5  สิ่งพิมพ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 

 

ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

 

ตัวอย่าง

กฎหมายตราสามดวง.   (2520).   กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.

 

     1.6  หนังสือแปล 

 

               ให้ลงชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่องที่แปลแล้วตามด้วยคำว่าแปลจากเรื่องในภาษาเดิม (ภาษาต้นฉบับ (ถ้ามี))  ตามด้วย โดย ชื่อผู้แปล  หากไม่มีชื่อผู้แต่งเดิมใส่ชื่อผู้แปลโดยระบุว่าเป็นผู้แปล

 

 

หมายเลขบันทึก: 286378เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท