มาดูการทำลำไยอบแห้งเนื้อสีทองกัน


การทำลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง

     

สวัสดีค่ะ....สำหรับบล็อกนี้

เราจะพูดถึงลำไยเนื้ออบแห้งสีทอง

จริงๆแล้วลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ก็คือลำไยอบแห้ง แต่ทำไมเรียก ลำไยเนื้อ   สีทองเพราะว่า ลำไยที่อบแล้วมีสีเหลืองทอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยจึงตั้งชื่อว่า ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองค่ะ....

 

  สำหรับลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง   กลุ่มพวกเรารู้สึกสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ ก็เลยอยากจะเจาะลึกลงไป พวกเราก็เลยนำความรู้ที่พวกเราได้ไปดูการทำลำไยเนื้อสีทองมาฝากกัน...

 

     พวกเราได้มาดูที่ สหกรณ์ลำไยสีทองลำพูน จังหวัดลำพูน ซึ่งสหกรณ์แห่งนี้เป็นสหกรณ์ที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาลำไยได้รับซื้อลำไยเนื้อสีทองจากที่นี่ เพื่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ศูนย์ หรือพูดได้ว่าทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางให้นั่นเอง..????

 

       และนี่คือสถานที่ที่เรามาถึง ที่อยู่ในรูปนี้คือ ห้องผลิต ตอนนี้พวกเรากำลังจะเข้าไปดูห้องผลิต พวกเราอยากรู้ว่าห้องผลิต ทำอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลย..

   

      พวกเราได้เข้ามาหาข้อมูลที่ห้องผลิต และได้เจอกับพี่ที่ทำงานอยู่ในห้องนี้ ซึ่งพี่เขาเป็นคนนำลำไยที่ผ่านกระบวนการทำต่างๆมาอบในเตาอบลำไย

      เราขอแนะนำพี่แม็กให้รู้จักก่อน..ผู้ที่จะพาไปรู้จักกับการอบลำไยเพื่อการแปรรูปต่อไป  

      พี่แม็กบอกว่า...  หลังจากที่คัดเกรดลำไยเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งลำไยไปที่ห้องผลิต  พวกเราจะได้ห้องผลิตเพื่อดูการทำลำไยก่อนจะนำเข้าเครื่องอบลำไย....ก่อนที่จะนำลำไยเข้าเครื่องอบจะต้องผ่านกระบวนการไหนบ้าง...ถ้าอยากรู้ก็ต้องไปดูกัน 

 

ห้องผลิต....มีไว้เพื่อเตรียมลำไยเพื่อจะอบแห้ง

            นี่คือลำไยเกรด A ที่คัดไว้แล้วเพื่อเตรียมที่จะคว้านเมล็ดออกเพี่อที่จะนำเข้าตู้อบลำไยต่อไป

              นี่คืออุปกรณ์ที่คว้านเมล็ดลำไย ซึ่งมีความคมมาก ต้องใช้ความระมัดระวังในการคว้านเมล็ดลำไยอย่างมากและจะต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์

 

นี่คือรูปการคว้านเมล็ดลำไยจากผู้ที่ทำงานในห้องผลิต

 

 

          พวกเราได้สังเกตวิธีการคว้านเมล็ดลำไยแล้ว ก็มีความสนใจอยากคว้านเมล็ดลำไยจึงขอลองทำดู และป้าก็บอกพวกเราว่า ให้ระวังมีดคว้านเมล็ดจะบาดมือเรา เพราะมีความคมมาก และยังบอกอีกว่าการคว้านเมล็ดที่ถูกวิธีต้องคว้านตรงขั้วลูกลำไย เพื่อไม่ให้มันช้ำ...

 

 

 ลำไยที่ทำการคว้านเมล็ดเสร็จแล้ว

          เมื่อคว้านเมล็ดเสร็จจะต้องนำลำไยมาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย น้ำที่ใช้ล้างก็เป็นน้ำเปล่าธรรมดานี่แหละ แต่ต้องล้างถึง 3 น้ำ ก่อนที่นำลำไยมาล้างน้ำ ต้องมาชั่งน้ำหนักที่จุดชั่งน้ำหนักก่อน

 พี่แม็กบอกว่า..จะทำการชั่งน้ำหนักเพื่อดูปริมาณของลำไย ว่าวันๆหนึ่งแกะลำไยได้กี่กิโลกรัม..

 

   

 ...จุดที่ชั่งน้ำหนักเนื้อลำไยที่คว้านแล้วเพื่อที่จะเข้าเตาอบต่อไป..

อ่างที่มีไว้ใช้ล้างลำไย

            

        หลังจากผ่านการชั่งน้ำหนัก การล้าง มาเรียบร้อยแล้ว..ก็จะนำลำไยที่ล้างเสร็จนำมาจัดเรียงเพื่อให้อุณหภูมิในการอบทั่วถึงลงในตะแกรง..ดังที่เห็นกันในรูปข้างล่างนี้....

 

 ลำไยที่ล้างแล้ว..จัดเรียงบนตะแกรง

 

     เมื่อจัดลำไยใส่ในตะแกรงจนเต็มแล้ว...ขั้นตอนต่อมาเราก็จะนำลำไยที่จัดเรียงมาเข้าเตาอบลำไย..

 

 เครื่องอบลำไยประหยัดพลังงาน

 

 

      ทุกคนอาจจะงงว่า.. 

ทำไมถึงเรียกว่าเตาอบประหยัดพลังงาน ....

 เพราะว่า เตาเครื่องนี้ใช้ฟืนในการอบลำไย ที่ต้องใช้ฟืนในการอบเพราะใช้เวลาในการอบลำไยนานถึง 9 ชั่วโมง ถ้าใช้แก๊สก็จะทำให้สิ้นเปลือง ...

      ภายข้างในเตาอบจะมีพัดลมร้อนไว้พัดความร้อนภายในเตา อุณหภูมิที่ใช้อบลำไยอยู่ที่ 60-70 องศาเซลเซียส แต่ห้ามเกิน 80 องศาเซลเซียส ดังรูปข้างล่างนี้

 

 

มาดูลำไยที่อบเสร็จแล้ว....กันเลย...แหม จะรู้ว่ามันน่ากินขนาดไหน

ลำไยที่อบแห้งแล้ว

 

           

            หลังจากที่อบเสร็จแล้ว.. ต่อจากนั้นก็นำมาเข้าเตาอบแก๊สเพื่อใช้อุ่นลำไย เพื่อให้มันแห้งสนิทอีกครั้ง

 

เครื่องอุ่นลำไย

        

      ... เสร็จแล้วก็ไปกันที่ห้องคัด บรรจุกันต่อเลยเพื่อจะนำลำไยที่แห้งสนิทมาคัดเกรดอีกครั้ง เพราะว่าลำไยมีหลายขนาด จะแยกขนาดเล็กออกจากขนาดใหญ่ เพื่อจะไปบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

 

     นี่คือคือลำไยอบแห้งที่นำมาบรรจุในรูปแบบต่างๆ เช่น ในรูปแบบกล่อง ถุง  และในขวดโหล

 

 

         

 

                                      ลำไยอบแห้งแบบไม่ได้แกะ

  

  

 

 

          สำหรับบล็อกนี้....

  พวกเราคิดว่าเพื่อนๆคงได้ความรู้สมควร

 

     บล็อกต่อไปจะนำเสนอเรื่องอะไร^^^

 ก็ติดตามดูพวกเราได้ในบล็อกหน้าค่ะ

              

 

 

 

                                                                                         วันพุธ ที่ 12 สิงหาคม 2552

 

 

หมายเลขบันทึก: 286225เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณค่ะ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำลำไยอบแห้ง

ไม่เคยเห็นและทราบมาก่อนเลยว่าขั้นตอนมาจะเป็นแบบนี้

คราวหน้าก็เอาเรื่องสนุกๆมาเขียนใหม่น่ะค่ะ

เดี๋ยวจะมาคอมเมนส์ให้

เราชอบการนำเสนอการแปรรูปผลไม้ทุกชนิด แต่ลำไยถูกใจสุด ๆ เลย เพราะตอนนี้

ลำไยในตลาดราคาถูกมากเราจึงอยากรู้วิธีที่จะเก็บไว้กินได้นานๆ

ขอบคุณมากที่ให้ความรู้ เรื่องนี้ ปัจจุบันผมกำลังสร้างเครื่องควบคุมห้องอบแห้งระบบความชื้นสัมพัทถ์ต่ำ ไม่รู้จะสำเร็จหรือเปล่า "คุณทำให้ผมมีความรู้มากขึ้น"

ได้ข้อมูลเยอะมาก

ความรู้เพียบเลย^^

ปล. ที่คว้านลำไยน่ากลัวอ่ะ^^

แต่ก็อยากลองทำดู อิอิ^^^

กว่าเราจะได้ลำไยอบแห้ง

ใช้ขั้นตอนในการทำเยอะมากเลยนะค่ะ

ใช้อุปกรณืหลากหลายมาเลยค่ะ

แวะมาเยี่ยมเยียนเจ้า

พอเราได้เนนื้อลำไยอบแห้ง เราก็นำไปทำอาหารทั้งคาวและหวานกันเลย นะจ๊ะ

โอ๊ววววววว

กว่าจะได้กิน

มันช่างยากอารายเช่นนี้

อยากทราบว่าสหกรณ์ลำไยสีทองจังหวัดลำพูนตั้งอยู่ที่ไหน มีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมั้ยคะ สนใจที่จะติดต่อซื้อสินค้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นายเกียรติศักดิ์ ตื้อนวล

พี่คับผมกำลังจะทำเตาอบ ที่บ้าน อย่าได้รายระเอียดของเตา และขั้นตอน การ ทำ เพราะผมยากจะเพิ่มราคาของผลผลิตทุกครั้งที่ผ่านมาผมอบทั้งเปลือก ลบกวนส่งมาให้หน่อยคับ 24 หมู่ที่ 4 บ้านร่องห้า ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.หวัดลำพูน 51120

ดีคร้าบ

ผมอยากจะทราบที่ติดต่อขายลำไยเนื้อทองและแบบการทำเตาอบคร้าบ

อยู่อ.สอยดาว จันทบุรี ที่นี่ตอนนี้ลำไยเยอะมากเลยแต่ก็มักจะโดนล้งลำไยเอาเปรียบก็เลยอยากจะแปรรูปให้มันหลากหลายและถ้าได้เบอร์โทรพ่อค้ารับซื้อลำไยส่งออกไปเวียดนามด้วยยิ่งดีคร้าบ ยังไงก้ขอรบกวนหน่อย 0885286749 -039421386

สนใจมากๆคับที่บ้านลำพูนลำใยเยอะมากๆ แต่ขายสดถูกอยากลองอบสีทองดูต้นทุนประมาณเท่าไรคับค่าโรงเรือนพร้อมชุดเตาอบ

สวัสดีครับ รบกวนช่วยส่งเบอร์ติดต่อโรงงานมาที่ knickth(a)gmail.com หน่อยได้มั้ยครับ สนใจสั่งซื้อครับ ขอบคุณมากครับ

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลลำไยอบแห้งนะคะ สำหรับท่านที่สนใจลำไยอบแห้ง สามารถดูรายละเอียดวิธีการแปรรูปลำไยอบแห้งเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม ได้ที่ http://www.ลำไยอบแห้ง.com นิวดูวิธีต้มน้ำลำไยจากที่นี่ ลองทำออกมาแล้วรสชาติถูกใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท