การมีส่วนร่วมแบบคลุกคลีของผู้ปกครอง


Parent Involvement
         การจัดการศึกษาในสถานศึกษานับวันจะยิ่งยุ่งยากซับซ้อนขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไรเป็นที่รู้กันอยู่ ผมมีความคิดว่าสิ่งที่ต้องรณรงค์ให้มีมากขึ้นต่อไปนี้ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผมสนใจที่จะนำแนวคิด Parent involvement ของ Dr.Joyce L.Epstein ผู้อำนวยการศูนย์พันธมิตรโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน แห่งมหาวิทยาลัย จอห์น ฮ็อบกินส์ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา มิใช่ตามก้นฝรั่ง แต่ดูแล้วเขาได้เสนอแบบ(Type) มีส่วนร่วมแบบคลุกคลี(Involvement) ไว้อย่างน่าสนใจ เขาใช้คำนี้แทนคำว่า Participation ที่ความคิดผมเห็นว่าเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมแบบธรรมดา แต่ Involve มันน่าจะมีความหมายลึกกว่านั้น จริงอยู่แม้ว่า เมื่อพิจารณาแต่ละแบบ(Type)แล้วเราก็ทำกันอยู่ในบ้านเรา แต่เขาจำกัดความคิดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองดูนะครับ คือเขา(ได้จากการวิจัย)พบว่าการที่ผุ้ปกครองจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับโรงเรียนนั้น มี อยู่ 6 แบบ(Type)ได้แก่
       1.บทบาทความเป็นผู้ปกครอง (Parenting)เขาหมายถึงการช่วยผู้ปกครองให้สามารถสร้างบรรยากาศการส่งเสริมการเรียนรู้ขึ้นในครอบครัว รวมถึงการเรียนรู้อย่างถ่องแท้ในบทบาทของผู้ปกครองที่จะอบรมเลี้ยงดูบุตร หากเป็นบ้านเราคงเป็นหน้าที่ของร.ร.กระมังที่จะต้องสอนผู้ปกครองเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่น เราหย่อนยานเหลือเกินที่จะให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างจริงจัง
       2. การติดต่อสื่อสาร (Communicating)ในที่นี้หมายถึงทั้งจากโรงเรียนถึงผู้ปกครอง และจากผู้ปกครองถึงโรงเรียน โดยเฉพาะการสื่อสารให้ผู้ปกครองรู้เกี่นวกับโปรแกรมการเรียนของโรงเรียน และความก้าวหน้าของบุตรหลาน
       3.ผู้ปกครองอาสา (Volunteering) หมายถึงการที่โรงเรียนจัดให้ผู้ปกครองมีโอกาสที่จะสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของบุตรหลานในโรงเรียน รูปแบบนี้ความจริงแล้วดดนใจมากแต่ผมไม่สามารถให้รายละเอียดในพื้นที่นี้ได้
       4.เรียนรู้ที่บ้าน (Learning at Home)อันนี้ง่าย ๆ ก็คือการที่โรงเรียนกระตุ้นให้ผู้ปกครองสามารถแนะนำ หรือติดตามการทำงานที่เกี่ยวกับการเรียนที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ
       5.การร่วมจัดการ (Decision Making) หมายถึงการที่โรงเรียนสนับสนุนให้มีเครือข่ายผู้ปกครอง หรือการสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการในโรงเรียน อย่างที่เรามีตัวแทนผู้ปกครองใน คณะกรรมการสถานศึกษานั่นเอง
       6.พลังเสริมจากชุมชน (Collaborating with Community) หมายถึงการที่โรงเรียนไปจำแนก เฟ้นหา ทรัพยากรจากชุมชนทั้งที่เป็นวัสดุ และบุคคล เข้ามาช่วยเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน หมายรวมทั้งแหล่งการเรียนรู้ และแหล่งทรัพยากรที่จะระดมเข้ามาช่วยโรงเรียน
      ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก ผมจะหาโอกาสนำเสนอต่อไป โดยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องรณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที เพราะมีความสำคัญเท่า ๆ กับสิ่งที่กำลังรณรงค์กันอยู่ในขณะนี้เกือบทุกเรื่อง
หมายเลขบันทึก: 286038เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 02:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การที่ผุ้ปกครองจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับโรงเรียนนั้น เป็นวิธีที่โรงเรียนนำมาใช้อยู่แต่ได้ปรับให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน ดีจังเลยค่ะ

ขอความกรุณาช่วยแนะนำแหล่งค้นคว้ารายละเอียดของทฤษฎีDr.Joyce L.Epstein จะนำไปศึกษาเพื่อประกอบงานวิจัย

ขอขอบคุณครับ

ดิฉันกำลังทำสารนิพนธ์ เรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน อยุ่คะ จึงขอความกรุณาท่านช่วยแนะนำแหล่งค้นคว้ารายละเอียดของทฤษฎีDr.Joyce L.Epstein หรือทฤษฎีของคนอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปศึกษาเพื่อประกอบการทำสารนิพนธ์

ขอบคุณมากคะ

อยากได้แบบประเมินการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 6 ด้าน ของ Joyce Epstein

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท