ความในใจหลังสอบ block 2


คุยกันเรื่องสอบ mid block MCQ 49 ข้อ, final block 2 MEQ 4 ข้อ, MCQ 80 ข้อ, lab 20 ข้อ

ส่วนใหญ่ตก มีผ่านเฉียดฉิว คน คือ ปั๊ม ส้มโอ ขิม เพชร

ให้นศ.ทุกคนเขียนวิจารณ์เกี่ยวกับข้อสอบ ทั้งตัวเนื้อหา ภาษาที่ใช้  ความหมายของคำถาม ความเข้าใจของโจทย์

Mid block 2                   

-          อ่านข้อสอบที่เป็นภาษาอังกฤษไม่เข้าใจ

-          ขอบเขตเนื้อหาดี คลอบคลุมที่เรียน แต่ค่อนข้างยากต้องอาศัยความจำมาก

-          ไม่รู้ว่าจะต้องจำอะไรบ้าง บางอย่างก็สำคัญ บางอย่างก็จำเป็นเพราะข้อสอบออก

-          มีชื่อยาที่ต้องจำมาก

-          บางอย่างไม่ได้สอนแต่ก็ออกข้อสอบ ต้องหาอ่านเอง

-          เวลาน้อยเกินไป

-          ข้อสอบน้อย แต่คะแนนมาก 49 ข้อ 100 คะแนน

-          ออกละเอียดมากในบางเรื่อง

-          ออกข้อสอบเนื้อหาไม่คลอบคลุมทั้งหมด เน้นเฉพาะบางจุด ออกละเอียด

-          เวลาพอดี เหมาะสมแล้ว

-          มี SDL มาออกด้วย

-          อ่านหนังสือมาไม่ตรงกับคำถามในข้อสอบ

-          ข้อสอบไม่ตรงโพย

-          ออก SDL เยอะ ต้องอ่านมากหลายเรื่อง

-          คะแนนข้อสอบต่อข้อมาก.........ผิดแล้ว เสียคะแนนมาก

-          ทำไม่ค่อยทัน

-          เน้นความเข้าใจมากกว่าจำ

-          ง่ายกว่า final

-          เวลา เนื้อหา ความยากง่าย ความครอบคลุม เหมาะสมแล้ว

สอบ final block 2

-          SDL ออกเยอะมาก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้สอนและไม่ได้เรียน

-          ควรจะออกข้อสอบแบบวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนมากกว่ามาวัดว่าใครจำได้มากกว่าใคร

-          MEQ OSPE ดีแล้ว

-          ข้อสอบมาก เนื้อหาเยอะ

-          อ่านหนังสือไม่ทัน

-          เนื้อหาครอบคลุมดี

-          คำถามไม่ชัดเจนว่าต้องการจะให้ตอบอะไร

-          เวลาเหมาะสมดี

-          SDL เยอะมากๆ

-          คะแนนต่อข้อน้อยมาก

-          เวลาน้อย

-          ข้อสอบยาก และละเอียดมากๆ

-          เหมือนวัดดวงว่าใครจะอ่านตรงกับข้อสอบ เดาใจข้อสอบไม่ถูก

-          พยาธิตัวตืด..........ไม่สอน ไม่มีใน SDL แต่เอามาออกข้อสอบ

-          ต้องแข่งกับเวลา

-          ชื่อยา ชื่อเชื้อที่ต้องจำมีเยอะมากๆๆๆ

-          เวลาเตรียมตัวอ่านหนังสือไม่พอ ขาดเวลาในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ความรู้ที่ได้เรียนมา

-          เอกสารประกอบคำสอน ชั่วโมงสอน 1 block 35 lectures เนื้อหาเยอะมากๆ แต่เวลาน้อยมีจำกัด การจัดตารางเรียนไม่เหมาะสม ทุกเรื่องสำคัญและต้องรู้หมด

-          ต้องการอาจารย์คุม lab มากกว่านี้

-          เรียนแบบ PBL แต่สอบเน้นท่องจำ ไม่ได้วิเคราะห์ หรือคิด

-          ข้อสอบ หนึ่งข้อวัดหลายเรื่อง แตกต่างกัน

-          เรียนเสร็จทำ PBL เลย ไม่ทันมีความรู้ไปอภิปรายกับเพื่อน

-          ข้อสอบ วัดความรู้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์มาก

-          ข้อสอบบางข้อโจทย์ไม่ครบ

-          เนื้อหา SDL PBL ไม่รู้จะไปตรวจสอบความถูกต้องจากหนังสือเล่มไหน อาจารย์ผู้คุม PBL ก็ให้ความเห็นไม่ได้ บางครั้งทำให้สับสนมากขึ้น

-          หนังสือที่แนะนำมีไม่พอในห้องสมุด ed เก่า ไม่รู้จะเชื่อเล่มไหนดี

-          สมมติฐานที่คิดมา ไม่มีเขียนในหนังสือ.............คิดได้ ไม่รู้เชื่อได้มั้ย

-          คำถามไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าต้องตอบมาก และลึกแค่ไหน

 

สรุป มีความเห็นต่อทั้งตัวข้อสอบ เนื้อหา ความครอบคลุม  ความเหมาะสมของข้อสอบและเวลา ค่อนข้างหลากหลาย แตกต่างกัน ดังนั้นตัวแปรของ นศ.เองจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะบอกได้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อสอบ ถ้าใครมีความรู้ อ่านข้อสอบเข้าใจคำถาม เข้าใจภาษาอังกฤษ รู้คำตอบ ทำได้ ก็จะเห็นว่าข้อสอบนี้ดีแล้ว เหมาะสมแล้ว ถ้าทำไม่ได้ก็แสดงว่าข้อสอบมีปัญหา อย่างไรก็ตามตัวข้อสอบเองก็ต้องถูกประเมินหลังจากถูกนำไปใช้ด้วยเหมือนกัน ว่าดีจริงหรือไม่ วัดความรู้ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่อยากจะวัดจาก นศ.ได้ตรงหรือไม่......มีความถูกต้อง แม่นยำในการวัด ตั้งคำถามได้ชัดเจน โจทย์ไม่คลุมเครือจนทำให้นศ.เกิดความสับสน หรือเกิดความไขว้เขว จนตอบไม่ตรงกับคำตอบที่เฉลยหรือไม่ นอกจากนั้นข้อสอบที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง ใช้ทดสอบทุกครั้งก็ควรแยกเด็กที่เก่งมาก เก่งปานกลาง และไม่เก่งได้ สำหรับ นศ.ควรมองการสอบว่าเป็นการประเมินตัวเอง ถ้าทำไม่ได้ก็จะได้ปรับปรุงตัว หาจุดบกพร่องของตัวเองว่าอยู่ที่ตรงไหน หาวิธีพัฒนาตนเอง ทำให้เรียนและรู้อย่างเข้าใจมากขึ้น คะแนนไม่ใช่จุดตัดว่าใครดีและเก่งกว่าใคร แต่น่าจะเป็นตัวทำให้เราต้องแข่งกับตัวเองในการปรับปรุงและพัฒนาตน

คำสำคัญ (Tags): #problem based learning
หมายเลขบันทึก: 285832เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท