การร่วมกลุ่มแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L


การร่วมกลุ่มแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L
การร่วมกลุ่มแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L

การร่วมกลุ่มแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่จัดให้นักเรียนทุกคนมีส่วน ร่วมในการแก้ปัญหา จากการนำวิธีการนี้ไปใช้ทดลองกับนักเรียนเกรด 4 ปรากฏว่านักเรียนที่ใช้วิธีการเรียนแบบกลุ่ม ได้ระดับคะแนนสูงกว่า นักเรียนที่ไม่ได้ใช้ นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนร่วมกลุ่มมี ความสามารถในการทำงานร่วมกัน การใช้เหตุผลในการอธิบายได้ดีกว่า และมีเจตคติในทางบวกต่อการเรียน

การเรียนร่วมกลุ่ม (cooperative learning) ได้รับการพิสูจน์ ว่ามีประสิทธิผลในหลาย ๆ ด้านของการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ การเรียนร่วมกลุ่มไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นกับนักเรียน ในระดับต่าง ๆ และกับกลุ่มนักเรียนที่หลากหลายเท่านั้น (Slavin1991) แต่ยังก่อให้เกิดทักษะในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการแสดงความคิดเห็น และทำให้สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นไปด้วยดี (Greenes, Schulman, and Spungin1992; AAAS 1989,1993) นักเรียนกลุ่มเล็กได้เรียนรู้ เนื้อหา และได้สนับสนุนช่วยเหลือกันมากกว่าเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ (Mulryan 1992)

การจัดนักเรียนทำงานร่วมกลุ่มเป็นกระบวนการที่สำคัญเช่นเดียว กับกระบวนการชี้แจงแสดงความคิดเห็น ข้อเปรียบเทียบ ข้อโต้แย้งต่าง ๆ รวมทั้งทักษะทางสังคมด้านการฟัง การประนีประนอม และการยอมรับความคิด เห็นของกลุ่ม (Rees 1990: Yackel, Cobb and Wood 1991) การปฏิบัติงานร่วมกันของกลุ่มก่อให้เกิด โอกาสที่จะได้รับฟัง ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน (NCTM 1989} 1991) เป็นการสร้างเสริม ความรู้สึกของการอยู่ร่วมในชุมชนคณิตศาสตร์ ดังที่เสนอแนะไว้ใน Everybody Counts (National Research Council 1990)ที่หมายความ ว่าทุกคนในกลุ่มมีความสำคัญ

การทดลองใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชาคณิตศาสตร์
ครูในโปรแกรม PDS (Professional Development School) ซึ่งเป็นโปรแกรมพัฒนาครู ของมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีได้ขอให้ ทางมหาวิทยาลัยริเริ่มจัดโครงการการเรียนร่วมกลุ่ม (cooperative learning) ผู้ร่วมโครงการคือครูผู้สอนเกรด 4 และนักเรียนของตน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล ครูไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องการจัดการเรียนร่วมกลุ่มใน วิชาคณิตศาสตร์มาก่อน แต่ใคร่ที่จะเรียนรู้และทดลองใช้ กลวิธีนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มทดลองมี 2 ห้องเรียนใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชา คณิตศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ ด้วย ส่วนอีก 2 ห้องเรียน นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเป็นครั้งคราว ในกลุ่มทดลองนั้น นักเรียนจะเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นกลุ่ม 2-4 คาบต่อสัปดาห์และคาบที่เรียนร่วมกลุ่มนี้จะเรียนหลังจาก ที่ได้เรียนหัวข้อต่างๆ อันเป็นพื้นฐานในกลุ่มใหญ่แล้ว

ในกลุ่มทดลองนี้นักเรียนแก้ปัญหา -
คณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือเรียนแบบฝึกสถานการณ์จริงที่ครูแนะนำ และสื่อสำเร็จที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นครูได้รับการ แนะนำและทบทวนเกี่ยวกับกลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะ เช่น การเดา และการตรวจสอบ ทำแผนภูมิ และภาพประกอบ นอกจากนี้ยังมาจาก ความคิดริเริ่มพัฒนา และการมีส่วนร่วมในกลวิธีคิดของนักเรียน อีกด้วย สำหรับตัวนักเรียนที่ทำงานเป็นกลุ่ม ๆ ในเรื่องโจทย์ ปัญหา โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหานั้นพวกเขายังคิดโจทย์ปัญญา และ ช่วยกันแก้ปัญหาของพวกเขาเอง ที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย โจทย์ปัญหา ที่นักเรียนชอบคือประเภทตรรกศาสตร์ประเภทปลายเปิดที่สร้างจากสถาน การณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การไปจ่ายตลาด เป็นต้นว่า ถ้าต้องการ จะทำอาหาร 2 มื้อ สำหรับคน 4 คน แต่ละมื้อจะต้องมีอาหารครบหมู่ ให้นักเรียนใช้ใบโฆษณาสินค้าจากหนังสือพิมพ์ วางแผนว่า ถ้ามีเงิน 500 บาทจะซื้ออะไรได้บ้างให้ช่วยกันประมาณค่าของที่ ต้องการซื้อแล้วหาวิธีการคิดให้ได้จำนวนเงินใกล้เคียง 500 บาท
ขั้นต่อไป จึงใช้เครื่องคิดเลขเพื่อตรวจสอบราคาจริง

 

K-W-D-L : เทคนิคในการจัดการและบันทึกผลงาน
การชี้แนะการทำงานของเด็กในการทดลองนี้ ได้นำเทคนิค K-W-L ของ Ogle มาใช้


K     What we know.
W   What we want to know.
D    What we did.
L     What we learned.



เป็นขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นสำหรับ
การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เทคนิค K-W-L นี้ Ogle ได้พัฒนาขึ้นสำหรับช่วยการอ่านเพื่อความเข้าใจ เป็นเทคนิคที่ ชี้แนะให้ผู้อ่านใช้ขั้นตอนเช่นเดียวกับผู้อ่านที่เชี่ยวชาญแล้ว ใช้อยู่เทคนิคนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาวิธีการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ได้

 

K คือ รู้อะไรอยู่บ้างแล้ว

ในขั้นตอนนี้ ผู้อ่านระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านว่ารู้ อะไรอยู่บ้างแล้วครูทำหน้าที่บันทึกคำตอบและช่วยนักเรียนจัดหมวดหมู่ ของข้อมูลเหล่านั้น ช่วยอธิบายความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อน หรือ ช่วยอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาเป็นกลุ่ม ขั้นตอน 'K' จะเกี่ยวข้อง กับการอ่านโจทย์ปัญหา ตีความ ถกแถลงเกี่ยวกับข้อมูลที่ให้มา อาจ รวมทั้งกระบวนวิธีอื่น เช่น ลงมือปฏิบัติตามที่ปัญหากำหนด วาดรูป ทำแผนภูมิ เพื่อว่านักเรียนจะได้เข้าใจปัญหาและรู้ว่าตนรู้อะไรบ้าง แล้วเกี่ยวกับปัญหานั้น

 

W คือ ต้องการจะรู้อะไร

ด้วยการชี้แนะจากครู นักเรียนจะบอกสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียน รู้ได้บ่อยครั้งนักเรียนจะมีคำถามที่ยังไม่ได้ตอบในเรื่องที่อ่าน หรือนักเรียนอาจยกหัวข้อที่ยังไม่ได้ถกแถลงกันขึ้นมา และต้องค้นหา จากแหล่งความรู้อื่น เพื่อที่จะหาคำตอบและข้อมูลเหล่านั้น

สำหรับการแก้โจทย์ปัญหานั้น ขั้นตอน 'W' จะเกี่ยวข้องกับข้อ ตกลงของกลุ่มในเรื่องที่โจทย์ถามว่าคำถามคืออะไร และคำถามนั้น หมายความว่ากระไรส่วนขั้นตอนที่ว่าต้องการรู้อะไรนั้นอาจเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจของนักเรียนในการวางแผนจะแก้ปัญหา พวกเขาอาจตกลงกัน ว่าจำเป็นต้องไปหาข้อมูล และต้องตัดสินใจว่าจะไปหาแหล่งข้อมูลที่ไหน หรือบางครั้งอาจต้องทำโพล หรืออาจต้องไปคุยกับใคร ๆ หรืออาจต้องทำ การวัด ทำการทดลองหรือต้องไปค้นคว้าจากหนังสืออุเทศต่าง ๆ

 

L คือ ได้เรียนรู้อะไร

ขั้นตอนนี้ของ Ogle ให้นักเรียนอ่านในใจและบันทึกว่าได้รู้ อะไรบ้าง แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง แล้วบันทึกไว้ขั้นตอนนี้ช่วยให้ ผู้เรียนได้ขัดเกลาและขยายความคิดเห็นทั้งกระบวนการอ่านและกระบวน การเขียน

ในการแก้โจทย์ปัญหา ขั้นตอน 'L' นี้ประสงค์ให้ผู้เรียนบอก คำตอบรวมทั้งอธิบายและชี้แจงถึงขั้นตอนของการดำเนินการแก้ปัญหา พวกเขาอาจให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบเพื่อความแน่ใจ หรือพวกเขาอาจพูด กันถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบของพวกเขาเองกลุ่มนักเรียนจะได้รับ การส่งเสริมให้เห็นผลสะท้อนและได้เขียนเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่ได้ เรียนรู้ ตัวอย่างเช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งอาจเขียนและพูดเกี่ยวกับ เรื่องวิธีการวาดภาพช่วยได้อย่าไร หรือการที่พวกเขาได้ใช้กระบวนวิธี เดาและตรวจสอบอย่างไร เป็นต้น

 

ผลการทดลอง

นอกเหนือจากขั้นตอนของ Ogle แล้วในทางคณิตศาสตร์ได้เพิ่มขั้น ตอน 'D' อีก 1 ขั้นตอน คือ 'ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง' สมาชิกของกลุ่ม ได้ใช้แบบบันทึกไปด้วยขณะที่ช่วยกันแก้ปัญหา ขั้นตอน 'รู้อะไรบ้าง แล้ว' และ 'ต้องการจะรู้อะไร' นั้น ได้ช่วยให้พวกเขาเข้าใจปัญหา แล้ววางแผนที่จะหาวิธีแก้ แล้วจึงประเมินคำตอบส่วนการบรรยายว่า 'ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง' แล้วบันทึกไว้นั้นช่วยให้นักเรียนคิดอย่าง มีสติถึงแผนและกระบวนการดำเนินงานที่พวกเขาได้ใช้ในขณะที่ทำงาน ร่วมกันในการแก้ปัญหา ขั้นตอน 'D' นี้ได้จัดไว้ในลำดับที่ 3 ก่อนขั้นตอน 'L'

ได้มีการใช้โจทย์ปัญหาทดสอบนักเรียนทั้งสองกลุ่มทั้งก่อนและหลัง เรียนตัวข้อสอบเป็นข้อปัญหาที่ต้องให้เหตุผล 2 ด้าน คือ ตัวข้อ ปัญหาเองและปัญหาที่เกี่ยวข้องนักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม จะใช้วิธี การใดก็ได้แล้วแต่นักเรียนประสงค์ การให้คะแนนงานกลุ่มได้ใช้ของ Charles, Lester และ O'Daffer (1986) โดยใช้ระดับคะแนนรวม 1,2,3 และ 4 ผลปรากฎว่า นักเรียนใน 2 ห้องเรียนที่ใช้การเรียนร่วมกลุ่มได้ รับดับคะแนนสูงกว่านักเรียน อีก 2 ห้องเรียนที่ไม่ได้ใช้

ได้มีการเปรียบเทียบตัวอย่างการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ใช้การเรียน ร่วมกลุ่มในวิชาคณิตศาสตร์กับนักเรียนที่ไม่ได้ใช้ พบว่า มีข้อแตกต่าง ทางด้านคุณภาพหลายประการ โดยทั่วไปแล้วคำตอบของนักเรียนที่เรียนร่วม กลุ่มยาวกว่าและมีรายละเอียดมากกว่าคำตอบของนักเรียนที่ไม่ได้เรียนร่วม กลุ่ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนที่เรียนร่วมกลุ่มมีความ คุ้นเคยกับการทำงานร่วมกัน จึงสามารถช่วยกันอธิบายเหตุผลได้ดีกว่า

นอกจากนี้ เจตคติด้านบวกของการเรียนร่วมกลุ่มโดยใช้ K-W-D-L เทคนิค ในการแก้โจทย์ปัญหายังมีข้อสนับสนุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น เด็ก ๆ ระบุ ว่าพวกเขามีความสนุกที่ได้ทำงานร่วมกันมีความเชื่อมั่นมากขึ้น มีความสนใจ เพิ่มขึ้นและมีความตื่นเต้นดี คณะผู้วิจัยมักจะได้ยินเด็ก ๆ พูดว่า "ทำอีก ๆ" และ "เราทำได้แล้ว" เด็ก ๆ มีความภาคภูมิใจในความสามารถ ที่เพิ่มขึ้นในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะข้อปัญหาที่ต้องให้เหตุผล 2 ด้าน ขณะที่คิดปัญหาเหล่านี้เด็ก ๆ จะใช้กลวิธีต่าง ๆ รวมทั้ง การวาดภาพ ทำแผนภูมิ และใช้วิธีเดาแล้วตรวจสอบ ขณะที่เด็ก ๆ ทำงานกลุ่ม พวก เขาจะคอยตรวจสอบตัวเองบ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า คำตอบนั้นตรงกับคำถาม

โดยทั่วไปเด็ก ๆ มีความกระตือรือร้น และร่วมมือกันในการทำงานดี พวกเขาเรียนรู้ที่จะหาข้อยุติได้มีบ่อยครั้งที่บางคนไม่เห็นด้วยกับ ข้อคิดเห็นของกลุ่มเขาก็จะได้รับการส่งเสริมให้เขียนความคิดเห็นที่ ไม่ตรงกันนั้นแนบไปด้วยกับรายงานของกลุ่ม

 

สรุป

ครูในโครงการ PDS มีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับการเรียนร่วมกลุ่ม ในวิชาคณิตศาสตร์ พวกเขากล่าถึงข้อได้เปรียบต่าง ๆ เช่น นักเรียนแต่ ละบุคคลมีส่วนร่วมมากขึ้น มีความรับผิดชอบสูงขึ้น มีความรับผิดชอบสูง ขึ้นมีพฤติกรรมด้านการปฏิบัติงานและมีพัฒนาการในด้านความภูมิใจในหมู่ คณะมากขึ้น นอกจากนี้ครูยังระบุว่าการเรียนคณิตศาสตร์เป็นกลุ่ม ๆ น่าสนใจมากกว่า ทั้งนักเรียน และตัวครูเอง พวกเขาใช้กลุ่ม ร่วมมือนี้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เกมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การตรวจการบ้าน รวมทั้งการแก้ปัญหาด้วย บางครั้งครูก็ให้รางวัล เป็นใบประกาศเกียรติคุณแก่กลุ่มที่ทำงานอย่างมีประ -สิทธิภาพด้วย แต่ ครูก็สังกตว่านักเรียนทำงานได้ดีไม่ว่าจะมีรางวัลหรือไม่ก็ตาม

การให้นักเรียนเขียนประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการแก้โจทย์ ปัญหามีประโยชน์มาก กระบวนการนี้เป็นการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับ ทักษะด้านการสื่อสารและส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีเหตุผล การใช้กรอบ K-W-D-L ในการเริ่มต้นทำงานกลุ่มได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถทำได้ และมีประสิทธิผลครูวิชาอื่น ๆ อาจเลือกใช้เทคนิคนี้ช่วย

นักเรียนของตนพิจารณาถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่พวกเขาใช้อยู่ ในการแก้ปัญหาร่วมกัน บรรดานักการศึกษาอาจต้องการเสนอ เทคนิค K-W-D-L นี้ต่อผู้ปกครองและสมาชิกอื่น ๆ ในครอบครัวถึง การช่วยเด็ก ๆ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ในการเรียนและการเพิ่มพูนความ รู้ด้านวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 285394เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท