Renal stone Screening and I – san Metabolic Syndrome


หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม

Renal  stone  Screening  and I – san  Metabolic  Syndrome

หญ้าหนวดแมว : สมุนไพรช่วยผู้ป่วยนิ่วในไตได้

หญ้าหนวดแมว (orthosiphon )ชื่อพื้นเมือง   เช่น พยัพเมฆ, บางรักป่า, อีตู่ดง สาระสำคัญ ใบของหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมในปริมาณสูง0.7-0.8%

ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา
ใช้ปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆให้หลุดออกมาได้
       ผลการศึกษาวิจัยหญ้าหนวดแมว
       รศ.นพ.อมร เปรมกมล ได้ทำการศึกษาผลของหญ้าหนวดแมวในการลดขนาดนิ่วไต ซึ่งพบว่าหญ้าหนวดแมว สามารถลดขนาดนิ่วได้ และผู้ป่วยนิ่วที่มีอาการเรื้อรังได้แก่อาการแน่นท้อง ปวดเอว ปวดข้อ เมื่อยเพลีย ปวดศีรษะ แสบร้อนสีข้าง ปวดขา หลังให้การรักษาด้วยหญ้าหนวดแมว พบว่า อาการดังกล่าวลดลงเกือบจะหมดและยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นสามารถทำงานได้มากขึ้น จากผลการศึกษาปรากฏว่าผลของสมุนไพรหญ้าหนวดแมว ในการลดขนาดนิ่วไตที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับความทุกข์ทรมานทางกาย ความทุกข์ทางใจ การสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งที่มีราคาสูง การเป็นนิ่วที่พบบ่อยในภาคอีสาน ซึ่งประชาชนมีฐานะยากจน การรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่การผ่าตัด การสลายนิ่ว ล้วนแต่ต้องใช้เงินมากมายนั้น การนำสมุนไพรหญ้าหนวดแมวมาใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งช่วยลดค่ารักษาพยาบาลประชาชนปลูกใช้เอาได้ขั้นตอนใช้ไม่ยุ่งยาก
ข้อแนะนำและวิธีการใช้
         ใช้ยอดอ่อน (ซึ่งมีใบอ่อน 2 – 3 ใบ) ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก เพราะจะเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมาก (แต่ไม่ใช้ดอก) นำมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแดดให้แห้งแล้วใช้ 1 หยิบมือ (2 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 5 – 10 นาที ดื่มขณะร้อนๆ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร และต้องดื่มน้ำตามมากๆ
ข้อควรระวัง
           • เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ
           • ควรใช้การชงไม่ควรใช้การต้มและควรใช้ใบอ่อนไม่ใช้ใบแก่เพราะอาจมีสารละลายออกมามาก     เกินไปทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ
          • ถ้าใช้ใบสดจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่นจึงควรใช้ใบตากแห้ง
          • สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน 

หมายเลขบันทึก: 285377เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท