No - Fault patient Compensation


การฟ้องร้องแพทย์อาจมีผลดีอยู่บ้างในแง่ของการทำให้แพทย์ต้องระมัดระวังในการตรวจรักษาให้ได้มาตรฐาน

No - Fault patient Compensation

                ถือว่าเป็นความผิดของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์(No- Fault patient Compensation) เช่นการฉีดวัคซีน หรือการได้รับยาที่ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งก่อให้เกิดการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายอย่างมากมายในปัจจุบัน การฟ้องร้องแพทย์อาจมีผลดีอยู่บ้างในแง่ของการทำให้แพทย์ต้องระมัดระวังในการตรวจรักษาให้ได้มาตรฐานที่ดีที่สุด ถือว่าเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง แต่การที่มีการฟ้องร้องแพทย์อย่างมากมายก็ย่อมทำให้เกิดระบบการประกันการทำงานของแพทย์เกิดความเสี่ยงในแง่ของการจะถูกฟ้องร้องเช่น เมื่อแพทย์ถูกฟ้องร้องและถูกศาลตัดสินให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ป่วย(ซึ่งมักจะเป็นจำนวนมากมายมหาศาล) ทำให้แพทย์มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และแพทย์ก็คงต้องไปขึ้นราคาค่ารักษาผู้ป่วยให้มากขึ้น เพื่อจะให้ตัวเองมีรายได้พอเพียงกับรายจ่าย ซึ่งย่อมมีผลกระทบโดยตรงไปสู่ประชาชนหรือโครงการประกันสุขภาต่างๆที่จะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และมีคดีฟ้องร้องในศาลมากขึ้นตลอดเวลา

                ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าปัจจุบันที่มีการฟ้องร้องกันมากขึ้นถือว่าเป็นการดี  เพราะจะเป็นการควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการตรวจรักษาและการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรฐานที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือทรัพย์สินก็ตาม  เพราะแพทย์เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลอย่างสูงที่จะทำให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพดีหรือมีความเจ็บป่วยมากขึ้นจนถึงกับพิการหรือเสียชีวิต แพทย์จึงต้องเป็นผู้ที่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมอย่างสูงยิ่งกว่าคนประกอบอาชีพอื่นๆทั่วไป เพราะถ้าแพทย์ขาดคุณธรรมจริยธรรมแล้ว ย่อมทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้เจ็บป่วยหรือประชาชนที่ไปรับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้นั้นอย่างแน่นอน จริยธรรมของแพทย์จึงมีความหมายถึงคุณธรรมหรือศีลธรรมของประชาชนทั่วไป และยังต้องมีจริยธรรมของวิชาชีพแพทย์อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 285373เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท