แนวความคิดการจัดการอาชีวศึกษา


การฝึกงาน

โคราชโมเดล คือการปรับกระบวนการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาโคราชเป็นต้นแบบโครงการจัดการเรียนโดยความร่วมมือกับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษาแผนกวิชาโลหะการ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมากับบริษัท ดานิลี่ ฟาร์ อีสต์ จำกัด บริษัท แคนาดอล เอเชีย จำกัด บริษัท ควอลิเทค พลับบลิค จำกัด และ/หรือ ปรับเปลี่ยยนวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเป็นโรงเรียนพานาโซนิค(โดยความร่วมมือกับ บริษัท พานาโซนิค โฮมแอพล์แอนซ์ ประเทศไทย จำกัด)เพื่อ

1. เพื่อแก้ภาพพจน์ว่าความเชื่อพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่อยากเรียนโลหะการที่ช่างเชื่อม กลัวลูกเกิดอุบัติเหตุขณะปฎิบัติงาน ตาบอด ร้อน พวกที่เชื่อมโครงหลังคาคือคนงานเชื่อมเหล็กไม่ใช่ช่างเชื่อม บริษัท แคนาดอล เอเชีย และบริษัทดานิลี่ ฟาร์ อีสต์ พนักงานของเขาเป็นช่างโลหะการหรือบริษัทโลหะการ  เป็นเรื่องราวของการตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำลาย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ประเทศไทยไม่มี อย่างเช่น บริษัท ควอลิเทคนั้น ตรวจสอบวัสดุทั่วโลก เกี่ยวกับระบบน้ำมัน เกี่ยวกับแก๊ส บริษัท แคนาดอล เอเชีย ตรวจสอบด้วยวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้วยรังสีเอกซเรย์  มีการออกใบรับรองผู้ตรวจสอบวัสดุในระดับ 1 ระดับ 2 ให้ได้ด้วย ใบรับรองผู้ตรวจสอบวัสดุก็เหมือนกับใบ ก.ว. ของวิศวกรรม ซึ่งมีค่าวิชาชีพติดตัวอย่างน้อย 10,000 และหากเขาเหล่านั้นไปทำงานในต่างประเทศ เขาจะมีค่าคุณวุฒิและเงินเดือนประมาณ 50,000 บาท เป็นอย่างน้อย แล้วเราจะทำอย่างไรที่จะให้เด็กอยากเรียนแผนกวิชาโลหะการ ครูแผนกวิชาโลหะการควรออกไปชักจูงบอกนักเรียน ม.1 มาเรียนกับแผนกวิชาโลหะการนะ แผนกนี้มีการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ แต่ต้องไม่เอาพวกอุปกรณ์การเชื่อมไปโชว์นะ เราต้องเอากิจการการต่อเรือเดินสมุทร  นำเอากิจการที่ สาม บริษัทข้างต้น เขาทำกิจการอะไรอยู่ไปฉายให้เด็กดู เปรียบเหมือนในท่อมืด ที่เราเปิดปลายสว่างให้เขาเดิน ถ้าเราปิดปลาย เขา(นักเรียน)ก็จะเดินสเปะสปะ ไปไม่ถูก เหมือนคลำทางไปในท่อมืด มันมองไม่เห็น เขาก็จะคลำมั่วไปหมด เหมือนการเรียนปัจจุบันนี้ไม่รู้จะไปไหน เรียนที่ไหนก็เรียนไม่ได้ หนูเรียนแผนกนี้แผนกนี้เรียนอะไร คำตอบคือไม่ทราบครับ เรียนแล้วจบไปทำงานอะไรยิ่งไม่รู้เลย นักเรียนบางคนไม่เคยรู้และว่าภาคอุตสาหกรรม หรือในภาคอุตสาหกรรมเขามีอะไร  แต่ตอนนี้เราต้องไปบอกเขาตั้งแต่ ม.1 ม.4  จบ ม.3 แล้วคุณจะไปไหน จบ ม.6 แล้วคุณจะไปไหน มาเรียนกับเราเถอะ เรามีการทำความร่วมมือกับ บริษัทอะไร การันตี เรื่อง สวัสดิการ เงินเดือนเท่าไร  การใช้ทฤษฎีในการประสานสถานประกอบการที่จะให้นักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์นั้น ในการเลือกบริษัทที่จะทำความร่วมมือด้วยนั้นบริษัทควรต้องมีระบบ ISO ต้องมีกรรมวิธีการผลิต ต้องมีการควบคุมคุณภาพ ต้องมีเรื่องของสิ่งแวดล้อม ต้องมีเรื่องของความปลอดภัย ต้องมีเรื่องของอาชีวะ อนามัยและความปลอดภัย  เรื่องของมาตรฐานแรงงานไทย และต้องเรียนรู้เรื่องมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน ต้องมีการควบคุมคุณภาพ ต้องมีเบี้อเลี้ยง สวัสดิการ เสมือนหนึ่งพนักงาน 1 คน เราควรยึดหลักการเลือกโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการอย่างไร

 หลักการเลือกโรงงานคือว่า โรงงานที่จะเลือกมีข้อแม้อย่าหนึ่งว่าเราใช้หลักในการพิจารณา คือ 2B 2S และ P กล่าวคือ

                B แรกคือ Brand ต้องดัง พอเอยชื่อโรงงานทุกคนต้องรับรู้ถึงกิจกรรมว่าใช่เลย เช่นถ้าเอ่ย TOYOTA ต้องนึกถึงรถยนต์แน่นอน เพราะฉะนั้น Brand เป็นเรื่องสำคัญ หากเราถามว่าหนูฝึกงานอะไรที่ไหนฝึกงานที่บริษัท โตโยต้า ทุกคนรู้จักหมด แต่ถ้าหากเราถามว่าหนูฝึกงานอะไรที่ไหน อย่างไร หนูฝึกงานที่บริษัท  เอ็มเอ็มพี ค่ะ ไม่มีใครรู้จักว่า บริษัท เอ็ม เอ็ม พี ทำกิจการอะไร เมื่อแบรนด์ไม่ดัง พอแบรนด์ไม่ดังความเข้าใจและความภาคภูมิใจก็ไม่มีสำหรับนักศึกษา

                B ที่สอง คือ Benefits ผลตอบแทนต้องดี ไม่ใช่ว่าพอเราส่งเด็กฝึกงานก็ให้ก็ให้ผลตอบแทนที่เป็นเบี้ยเลี้ยงราคา 80 บาท เราก็ไม่ให้ไปฝึกด้วย

S แรก คือ Safety  ต้องปลอดภัย  ไม่ใช่ไปฝึกงานเดี๋ยวนิ้วขาด ตาบอด ต้องปลอดภัย ที่พัก เรื่องการเดินทาง บริเวณรอบที่อยู่ ไม่ปล่อยให้ไปอยู่ในดงเสือ ตีกัน มีเจ้าถิ่น เดินเข้าไปถูกเจ้าถิ่นตีทำร้าย

S ที่สอง คือ Stability  ความอยู่คงทนถาวร ความอยู่นิ่งหรือความมั่นคง ของบริษัท ไม่ใช่อยากจะปิดก็ปิด อยากเปิดก็เปิด  พรุ่งนี้ตื่นเช้ามา บริษัทปิด เหมือนบริษัทไทยศิลป์ก็คงไม่รับพิจารณา

P คือ Progressive คือความก้าวหน้า ไม่ใช่ว่าทำงานตั้งนาน โอกาสจะได้เป็นหัวหน้างาน ก็ไม่มี 

การพัฒนาก็ไม่มี นี่คือความก้าวหน้า วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาก็เลยจัดทำหลักสูตรนี้ โดยความร่วมมือกับสถานประกอบการขนาดใหญ่ เช่น บริษัท พานาโซนิค โฮม แอพไพล์แอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท คานาดอยล์ เอเชีย จำกัด บริษัท แดเนียลลี่ ฟาร์อิสท์ จำกัด โดยยึดหลักง่ายๆ คือเราจะผลิตนักศึกษา โดยไม่ให้เรียนอยู่แต่ในห้อง ๆ อาศัยความเชื่อที่ว่า David Bechem (นักฟุตบอล) ต้องลงไปซ้อมในสนาม Tiger Wood ต้องตีกอล์ฟในสนาม  ตีกอฟท์ในห้องไม่เก่งหรอก  Tiger Wood ก็เก่งอย่างเดียวคือกอล์ฟ เตะฟุตบอลบอลได้ไหม ได้แต่ไม่เก่ง แต่เก่งกอล์ฟ  David Bechem ตีกล์อฟได้ไหม ได้ แต่เขาเก่งบอล ฉะนั้นเราเองให้เก่งสักอย่าง วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมามีความพยายามจะผลักดันให้เป็นสถาบันโลหะการหรือจะเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพานาโซนิค เรียนรู้กระบวนการทุกกระบวนการของพานาโซนิค ตั้งแต่ระบบMechaninism ระบบไฟฟ้า ว่าทำไมคุณใช้วงจรBridgeแบบนี้  ทำไมคุณใช้จาระบีชนิดนี้ เรียนกันให้รู้ให้กระจ่างกันไปเลย และเป็นศูนย์กลางการผลิตบุคลากรของ บริษัท Danieli Far East  บริษัทCanadoil Asiaหรือ บริษัท Panasonic Home Appliance ส่วนไหนเขาขาดแคลนเราก็เติมเต็มให้ เพราะนักศึกษาเรียนมาแล้ว เมื่อก่อนเราเรียนแบบไร้จุดมุ่งหมาย เพียงแค่เอาหลักสูตรมาพิจารณาร่วมกันแล้ว นำคำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์รายวิชามาดู พิจารณาร่วมกัน หากบริษัทแจ้งว่า  บริษัทเราใช้องค์เพียงแค่ 3 บทเอง เราก็เรียน 3 บทให้มาก เน้นให้เรียนรู้ในบริบทของบริษัทให้กระจ่างซัก 9 สัปดาห์และให้รู้แบบผิวเผิน อีก 15 บท วิ่งก็ได้ เรียนรู้แต่ไม่ต้องชำนาญ แต่ 3 บทที่บริษทัทต้องการต้องเรียนให้กระจ่างต้องชำนาญ  บริษัทให้เราสอนอะไรมาหารือร่วมกัน พอคนงานเค้าเต็ม เขาจะไปรับแผนกอื่น ขยายงาน ก็มานั่งคุยกันใหม่ ทำตามที่ต้องการ นี่คือโคราชโมเดล

                เราก็ปรับหลักสูตรและวิธีการ ฝึกงาน ปวช.ให้มีระยะการฝึกงาน 1 ปี หรือ 6 เดือน ปวส. 1ปี ป.ตรี  1 ปี ทำไมต้องฝึกงานเป็นระยะเวลานาน 6 เดือน หากเราฝึกงาน 9 สัปดาห์ บริษัทชั้นนำเขาไม่รับเลย เพราะมันลงทุนไม่คุ้ม เพราะโรงงานไม่มีปิดเทอม โรงงานต้องหาที่พักรองรับการฝึกงานที่มี เรื่อการจัดหารถรับส่ง  ปิดเทอมจะให้นักศึกษาอยู่ว่างทำไม ก็ต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน การฝึกงานก็จะเป็น 6 เดือนเมื่อผนวกการหารายได้ระหว่างปิดภาคเรียนเข้าไปด้วย การจัดการก็จะง่ายขึ้นแต่วิทยาลัยเองต้องเตรียมการวางแผนตั้งแต่แรก ตั้งแต่ ม. 1 แจ้งนักเรียนว่าเรามีโครงการอะไร มีทิศทางไปทางไหน เขาเหล่านั้นต้องเตรียมตัวเองอย่างไรหากต้องการเดินไปสู่อนาคตร่วมกับเราคุณอย่าสักยันต์นะ  อย่าเจาะหูนะ  ไม่งั้นคุณจะไม่ได้เดินทางไปกับเรา อยู่กับเราเรียนแบบนี้ คุณจะมีโอกาสไปอยู่ต่างประเทศเช่น อิตาลี เหมือน ดานิลี่ ฟาร์ อีสต์ อยู่แคนาดา เหมือนของ แคนาดอล เอเชีย  เราควรคุยกับเขาอย่างนี้ พอปี 1 เขามาเรียนกับเราปิดเทอม ต.ค วิทยาลัยฯก็จัดการทำโครงการหารายได้ระหว่างปิดภาคเรียนร่วมกับบริษัท ซี พี สักเดือน ไปให้รู้วินัย อุสาหกรรม  พอปิดเทอมใหญ่(ซัมเมอร์) ปี 1 ก็ทำโครงการเดิมอีก พอปิดเทอมปี 2  เดือน ต.ค ก็ไปอีกครั้ง ปิดเทอมใหญ่ปี 2(เมษายน) ก็เข้าโรงงานไปฝึกประสบการณ์ 1 ปี สมมติหรือไปฝึกงาน 6 เดือน หรือ 1 ปี พอมาเรียนปวส.1   1ปี     ครั้นถึงปวส.2 ก็ไปฝึกงานอีก 1 ปี ถามว่าทำได้อย่างไร  4 เทอมของ ปวส. กำหนดให้มีการฝึกงานในเทอมที่ 3 ก็เอาเทอมที่ 4 มากระจายรายวิชาใส่เทอม 1- 2 และซัมเมอร์ พอกระจายรายวิชาใส่เทอม1และ2 ซัมเมอร์ เทอมที่ 4 ก็ว่าง ก็ไปฝึกงานจบการศึกษาระดับ ปวส. บริษัทต่างๆก็อยากได้ เพราะบริษัทไม่ต้องวิ่งไปหาคนงานหรือพนักงานอื่น จบแล้วคุณก็จะได้อยู่กับเขาตรงนี้ เหมือนกับที่วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาส่งนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาไปฝึกงานอยู่กับบริษัท Danieli Far East  จบแล้วบริษัทก็บรรจุเลย เพราะเขาชอบ ครูเองก็มีโอกาสเข้าฝึกงานกับสถานประกอบการ ครูก็จะได้ความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น  นักศึกษาได้อะไร นักศึกษาได้ประสบการณ์ ได้เงินได้ความเชื่อมั่นว่าตนเองออกไปทำงานภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มที่ มีความรู้เรื่องวินัยอุตสาหกรรม ทำงานได้ดี บริษัทได้อะไร บริษัทได้คนที่มีความรู้ เหมือนกันหมดเลย สามารถวางแผนการผลิตได้เลย ยังไงก็มีคนทดแทนและเป็นคนที่มีคุณภาพ  ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ระหว่างฝึกงาน ไม่ต้องกลัวลูกไปเกเร เพราะลูกอยู่ในโรงงาน เพราะเกเร โรงงานต้องโทรไปหาครู ครูก็ต้องไปตรวจสอบดูแล เด็กถ้าบริษัทเค้าไม่ต้องการรับเค้าเป็นพนักงานเพราะเหตุอันใดก็ตาม ถามว่านักศึกษาจะเดือนร้อนไหม นักศึกษาไม่เดือนร้อน เพราะเขามีใบผ่านงานจากบริษัทชั้นนำของประเทศ เขาสามารถไปอยู่ที่ไหนก็ได้ ต่างกับนักศึกษาสถาบันอื่น

จบมายังไม่มีใบผ่านงานยังไม่มีประสบการณ์ที่ดีเลย แต่นักศึกษาอาชีวะเขามีใบผ่านงานตั้งแต่ซีพี ตั้งแต่เขาหารายได้ระหว่างปิดภาคเรียนอม ตั้งแต่ ปวช. มาถึง ปวส.  หาก ปวช.ได้ใบผ่านงานของบริษัท พานาโซนิค  ระดับปวส. ได้ได้ใบผ่านงานของบริษัท Danieli Far East  หรือโตโยต้า เขาจะมีความมั่นใจในการเข้าสู่สังคมภาคอุตสาหกรรมนี้  และยิ่งถ้าเขาจะเรียนต่อปริญญาตรี เขาสามารถอยู่ในโรงงานเลยโดยไม่ต้องมาเรียนในห้องเรียนเดี๋ยววิทยาลัยจะทำการจัดการเรียนการมอนให้ในโรงงานหรือหากนักศึกษาต้องการกลับมาเรียนในวิทยาลัยก็สามารถทำได้ การฝึกงานในอนาคตอาจจะฝึกอยู่ที่ประเทศไทยหรือที่แคนาดา อาจจะอยู่ที่อิตาลี หรือรัสเซีย ก็แล้วแต่จะตกลงกันในอนาคต นี่คือหลักการที่ทำความร่วมมือและหารือกันไว้โดยความเห็นชอบของ CEO ของบริษัทแล้ว บริษัทได้อะไร บริษัทมีแรงงานแน่นอนไม่ต้องไปเสาะหาจากทั่วๆไป เคยสอบถามบริษัทว่าให้คุณมาเสาะหาคนงาน คุณจะได้อะไร ได้คนกี่คน ไม่มีใครตอบได้ คุณจะได้คนที่รู้เรื่องของกิจการของคุณกี่คน ก็ตอบไม่ได้ เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้เรียนมา แล้วบริษัทได้คนดีสักกี่คน บริษัทคุณตอบไม่ได้เลย การทำงานเหมือนไปหว่านแหในทะเล ได้ปลาอะไรก็ไม่รู้ ได้ปลาป่วยมาตัวหนึ่ง กัดกับคนทั่วไปแหลกราญ เพราะปลาที่ป่วยตัวนี้บริษัทอื่นๆเข้าไม่รับแล้ว ไปไหนไม่ได้แล้ว บริษัทไหนก็ไม่รับ พอดีเราไปหว่านแหเจอพอดี และหากฝ่ายบุคคลนั่งรอยู่บริษัท ก็เหมือนใส่ไซหน้าบ้าน ปลาซิวเข้ามาก็เน่าตาย เพราะมันโตไม่ได้ ปลาช่อนมาก็ไม่ค่อยเข้าไซ เข้ามาทีก็ปลาช่อนป่วย ซมซานมา แผลเต็มตัว เหมือนมันรอไม่มีการกำหนดอนาคตไม่ได้ แต่ นักศึกษาของเราเหมือนปลาในกระชัง ความรู้เท่ากัน ความสามารถเท่ากัน พื้นฐานเท่ากัน อายุเท่ากัน อยากให้ปลากระชังนี้โตยังไง บอกวิธีการเลี้ยงมาจะให้เราสอนอะไร มากางหลักสูตร อยากให้มันโตเร็ว ๆ เอาหัวอาหารมา เอาทุนมา เอาวัสดุฝึกมา มันก็โตเร็ว อยากได้คนเยอะ ๆ เราก็หาพันธมิตรให้ซึ่งประหยัดทั้งค่าบริษัทจัดหางาน(Sub-Contractor)ประหยัดทั้งค่าเสาะหาคนงาน มีอาจารย์คอยคุมให้ด้วย อยากให้ดี ก็ให้ครูไปอิตาลี(บรัทแม่)ไปเรียนรู้เทคโนโลยีมา ครูก็ดีใจได้ไปอิตาลี ได้ไปเรียนกลับมายังไง แม่ไก่ ก็ฟักออกลูกมาเป็นไข่ไก่ มันก็ผลิตลูกไก่ให้โรงงาน ๆ ก็คุ้ม ถ้า 100 คน ก็ไปฝึกงานที่บริษัทพานาโซนิค ปีหน้า 100 คนก็ไปพานาโซนิค จะขอให้บริษัทสนับสนุนอะไรก็ได้ความมั่นใจ ความผูกพันก็มี วิทยาลัยฯต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตคนแล้ว ทั่วโลกขาดคน ที่ญี่ปุ่น เวเนซูเอลา ยุโรป เยอรมัน อิตาลี ค่าแรงแพงมาก คนไทยมีฝีมือ ถ้าอาชีวศึกษาเอาเด็กพวกนี้ไปฝึกงาน ไปเป็นคนงานสัก 2-3 ปี กลับมามีความร่ำรวย มีประสบการณ์ มีภาษา ใครจะสู้เขาเหล่านี้ได้  ชีวิตดีขึ้น หากเราจัดการอาชีวศึกษาแบบนี้คนก็อยากเรียน อยากมาเรียนกับเราตรงนี้ต่างหาก เพราะของเราขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการประท้วงการหยุดงานในโรงงาน มีแต่เด็กอาชีวะเข้าไปอยู่แล้วช่วยแก้ปัญหาการประท้วงการหยุดงานในโรงงาน เพราะนักศึกษาเด็กไม่ขึ้นต่อสหภาพ นักศึกษาขึ้นกับครู บริษัทก็สบายใจว่า

1. ประท้วงไม่มี

2. มีแรงงานแน่เมื่อต้องการ 

3. ไม่ต้องเสียเรื่องบริษัทจัดหางาน เพราะบริษัทจัดหางาน เอาแต่เงิน หาคนมาได้อายุ 45 32 18

บ้าง แต่นักศึกษาอาชีวศึกษา 18 ล้วน ๆ อายุเท่ากัน ความสามารถเท่ากัน พื้นฐานความรู้เท่ากัน ไม่ต้องเสียค่าหัวให้กับ บริษัทจัดหางาน บริษัทก็สบาย บริษัทยังเอาค่าแรงที่จ่ายไปลดภาษีได้ด้วย เด็กก็ได้รับเงินมาแทนที่จะไปเรียนอยู่ในห้อง ออกไปอยู่ในสนามจริงได้เงิน 7,000-8,000 บาทต่อเดือน เขาก็อยู่ได้สบาย พ่อแม่ก็ประหยัดเงินไม่ต้องไปจ่ายค่าเทอม ค่าเดินทาง เด็กก็ได้ความรู้มากขึ้นได้ประสบการณ์ โรงเรียนก็ประหยัดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัสดุ พื้นที่ก็ว่าง สามารถรับคนได้เพิ่มมากขึ้น ครูก็มีอาชีพมากขึ้น ครูก็มีโอกาสได้ไปฝึกฝนตัวเอง ฝึกฝนเทคโนโลยี ได้ไปเที่ยวต่างประเทศ  สมมติ ว่าเด็กไปอยู่รัสเซียสัก 20 คน ครูก็ไปนิเทศได้ ได้ไปหาประสบการณ์ นี่คือ โคราชโมเดล  เราจะทำยังไงเข้าสู่กระบวนการที่จะจัดการฝึกงาน ฝึกการเรียนการสอน การจัดการอย่างนี้ได้ประโยชน์ทุกภาคส่วน มีแต่ได้กับได้แทนที่เราจะมาเสียค่าน้ำ ค่าไฟ เราก็ให้เด็กเรียนรู้พื้นฐาน ค่าเครื่องจักร เราก็ไม่ต้องไปพัฒนามากนัก ให้นักศึกษาเรียนรู้พื้นฐานให้แน่น แจ้งกับบริษัทเลยว่าคุณอยากได้ตุ๊กตาตัวไหน เราจะปั้นตุ๊กตานั้นให้อย่างสวยงาม ตัดขอบพร้อม คุณไประบายสีเอาเองไปฝึกให้ชำนาญเอง  เรื่องการแต่งกาย คุณธรรม จริยธรรม อะไรต่าง ๆ เราจะทำมาให้พร้อมเลยตุ๊กตาตัวที่คุณต้องการ เพราะตอนนี้เราปั้นตุ๊กตามั่วไปหมด ทั้งโปเกม่อน โดเรมอน แล้วบริษัทจะรับหรือต้องการหรือไม่ก็ไม่รู้ เราก็ปั้นแหลก  เราปั้นโดเรมอน อย่างงดงาม แต่บริษัทจะเอาอิจิบัง ปั้นไปก็ไม่เอา ถ้าอย่างนั้นบอกมาจะเอาตุ๊กตาแบบไหน เราจะปั้นให้สวยเลย แล้วคุณไประบายสีเอา บริษัทมีแต่ได้กับได้ บริษัทไม่ต้องทำประกันสังคม เพราะทำประกันหมู่มันดีกว่าประกันสังคม ประกันสังคม 5% ประกันหมู่ 200 บ. ประหยัดไปอีกหลายล้าน เพราะการทำประกันสังคม บรัทต้องจ่ายสมทบทุกเดือน ๆ ละ 5% ประกันหมู่จ่ายครั้งเดียว 200 บ. คุ้มครองทั้งปีแต่ประกันสังคมทำไป ถ้าเด็กนิ้วขาด ป่วย ต้องจ่ายเงินไปก่อน ไปนั่งรออีก แต่ประกันหมู่ บอก AIA เด็กป่วย AIA มาเลย ถ้าบริษัทประกันลบริการไม่ดีปีหน้าไม่จ้าง บริษัทที่ร่วมมือกับวิทยาลัยก็ประหยัดค่าประกันสังคม บริษัทประหยัดค่าบริษัทจัดหางานอีก 20%  นี่คือDirect Sellตัวจริง Direct Sellคือการโฆษณาชั่วชีวิตของนักศึกาที่ไปฝึกงานกับบรัท  แน่นอนไปฝึกงานโตโยต้า รถคนแรกคือโตโยต้า บริษัทมีแต่ได้กับได้ ทุกฝ่ายวิน-วิน พ่อแม่ผู้ปกครองของนักศึกษาไม่ต้องจ่ายค่าอะไรเลย ไปอยู่โรงงานมีรถรับส่งพร้อม มีบ้านพร้อม มีข้าวกินพร้อม มีชุดฝึกงานพร้อม ได้ฝีมือพร้อมพ่อแม่ก็สบายใจแล้ว ถ้ามีอะไร ลูกป่วยก็บอกอาจารย์ ๆ ก็ขับรถไปดูแล ยังไงก็สบายใจ ยิ่งต่อไปให้ครูไปคุมให้ครูไปอยู่ในโรงงาน สักคนละเดือน ถ้าอยากเอาเบี้ยเลี้ยงเอาไปเลย อยากเอาเงินเดือน ค่าสอน เอาไปเลย แล้วได้เบี้ยเลี้ยงจากโรงงานด้วย คือเบี้ยเลี้ยงโรงงานจ่าย เงินเดือนจ่าย ค่าสอนก็จ่าย ได้ 3 ต่อ ครูก็พัฒนาด้วย คุมเด็กด้วย โรงงานก็ยิ้ม มีอาจารย์คุมนักศึกษาให้ อันนี้คือสิ่งที่ได้ทั้งหมด มีแต่ได้กับได้แล้วอุตสาหกรรมก็จะไปได้ดี พัฒนาได้ดี ถ้าเราทำตรงนี้ได้ มีแต่ที่นี้อาชีวะเท่านั้น มหาวิทยาลัยทำไม่ได้ ปีนี้เราอยาได้อุลตร้าโซนิคเทสติ้ง 10 คน เราอยากได้เชื่อม 10 คน เราอยากได้ PLC 10 คน เราอยากได้Fabricatuion 10 คน ปีหน้าเราบอกไม่เอาแล้ว เราจะเอาเขียนแบบ ก็มานั่งเริ่มลงมือสร้างคนกันใหม่ว่าเราจะปรับหลักสูตรกันใหม่ เราปรับหลักสูตรได้ บริษัทปรับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะบริษัทเขาคงที่ แต่วิทยาลัยปรับได้ตามความต้องการของสถานประกอบการ อันนี้คือเหตุผลที่ทำอยู่ เราประหยัดเยอะมาก พ่อแม่ก็แฮปปี้ ลูกกลับมาก็แฮปปี้  จัดให้มีกระบวนการทางจิตวิทยาตั้งแต่ ปวช.เลย พอ ปวช.1 เข้ามาปั๊บ ก็พาไปดูโรงงานว่าโรงงานนี้ชอบไหม คือเราบอกมาตั้งแต่ ม.1 แล้วว่าเราจะจับมือกันนะว่าปลายท่อเราเป็นแบบนี้นะ จบ ม.3 มาเรียนกับเราเถอะ คือเราไม่ต้องการเด็กดี ลูกเรียนดีไปเรียนวิทย์-คณิต กินเหล้า สูบบุหรี่ ตีกันมาอยู่กับเรา เด็กมันก็ไม่มีความตั้งใจ เราก็บอกเด็กไปว่าไม่ต้องเก่งหรอก เพราะเรามีครูเก่งเยอะ เราสามารถพัฒนาให้พวกคุณเก่งได้ แต่ขอให้เป็นคนดี เพราะเราเชื่อว่าคนดี สามารถพัฒนาได้ พอเข้ามาปี 1 เราก็พาไปดูโรงงานของจริง ชอบไหม โรงงานนี้แหละที่จะมาอยู่ ถ้าชอบเข้านาวิกโยธินที่สัตหีบเลย อัดให้น่วมละลายพฤติกรรม ให้เค้ารักกัน  และกลับมาเรียน ปิดเทอม ต.ค. ไปหารายได้ระหว่างปิดภาคเรียนที่

ซีพี ปิดเทอมใหญ่ ซัมเมอร์ไปซีพี พอเปิดเทอมมีเงินหมื่นสบาย ๆ  พอปิดเทอม ต.ค.ไปอีกแหละ ได้อีก 6,000-7,000 บาท พอปิดเทอมปี 2 ไปเลยทีนี้ เข้าโรงงาน หากจัดการศึกษาได้อย่างนี้ ชีวิตก็เริ่มเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบขึ้น พอจบ ปี3 อยากเรียนอยู่ในโรงงานก็เรียนอยากมาเรียนกับเราก็มาเรียนได้ อีก 1 ปี กับ 1 ซัมเมอร์และไปอยู่โรงงานอีก 1 ปี เรื่องการประเมิน บริษัทมีการประเมินคนงานเขายังไง ที่เป็นพนักงานดีเด่นยังไง ก็เอามารวมกันกับการประเมินคุณธรรมของอาชีวศึกษา รวมทั้งรายวิชาหรือความรู้ ตามฐานสมรรถนะ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไหม  กรณีเขียนแบบ โรงงานนี้ใช้โปรแกรมAuto Cad เราก็จะให้เรียน Auto Cad โปรแกรมนี้เรียนMechanical Desktopเราก็จะให้เรียนMechanical Desktopโปรแกรมนี้ใช้Unigraphicsเราก็ใช้Unigraphicsสอนเด็ก ตามนี้ เอางานของโรงงานมาศึกษาเลยแล้วเรียนตามนั้น เขียนโปรแกรมตามนี้ เรียนรู้โค้ดตามนี้ คงจะมีการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น คุณเรียนวิศวะจุฬามา คุณมาถึงโรงงานคุณนั่งนับ 1 ใหม่ แต่นักศึกษาเราเคาะสนิมแล้วเดินเลย โรงงานก็อยากได้คนประเภทนี้Conceptนี้เรียกว่า โคราชโมเดล

 

 

หมายเลขบันทึก: 285332เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท