บทความ Re-engineering (Part 1)


การลดกระบวนการทำงาน

คำว่า “Re-engineering” นั้นหลายๆ คนคงอาจเคยได้ยิน ได้ฟังมาบ้างแล้วว่าหมายความว่าอย่างไร ทำอย่างไร ถึงเรียกว่า “รีเอ็นจิเนียริ่ง” และคำคำนี้เอาไปทำอะไร ใช้ยังไง หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ คราวนี้ผมจะขอสรุปความหมายของคำว่า “re-engineering” เอาไว้พอสังเขปดังนี้

Re-engineering หรือความหมายในภาษาไทยที่เข้าใจกัน คือ “การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน” คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

                โดยส่วนมากแล้วหลายคนคงเข้าใจว่าเราจะใช้ “Re-engineering” ได้เฉพาะในองค์ที่ทำงานในรูปของการประกอบธุรกิจเท่านั้น ซึ่งหากจะมีแนวคิดแบบนี้ก็ไม่ถูกต้องทำใดนัก เพราะว่า “Re-engineering” เราสามารถปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้งานได้ในหลายๆ รูปแบบ ปรับใช้ได้กับทุกลัษณะของการ เพราะอย่าลืมว่ารีเอนจิเนียริ่งคือ “การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้งานเรานั้นมีประสิทธิภาพขึ้น” และมีบางแนวคิดที่สนับสนุนให้เห็นว่าเราสามารถนำ “Re-engineering” ไปใช้ได้ในทุกที่จากแนวคิดที่ว่า Reengineering เป็นการยึดงานเป็นหลัก....แล้วออกแบบให้สิ่งอื่นๆเข้ามาสนับสนุน (ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ การนับเงินในธนาคาร ซึ่งแต่ก่อนถ้าจะเบิกเงินหลักล้าน นี่ต้องใช้เวลานับกันเป็นวัน แต่ช่วงหลังก็ได้หาเครื่องนับเงินมาสนับสนุนงานหลักเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น)

                หลายคนคงมีข้อสงสัยว่า แล้วคำว่า Re-engineering นั้นมาจากไหน เริ่มเมื่อไร และจะจบลงตรงไหน ผมก็จะตอบว่า เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการขององค์กร เดเวนพอร์ท (1993 หรือประมาณปี พ.ศ. 2536) ซึ่งเขาจะเรียกชื่ออย่างเป็นทางการของรีเอนจิเนียริ่งว่า Business Process Reengineeringหลังจากที่มีการอธิบายถึงขั้นตอนและกระบวนการใช้งานรีเอนจิเนียริ่งแล้วนั้น ก็มีการใช้รีเอนจิเนียริ่งในองค์กรอย่างแพร่หลายเพื่อ “ลดความซ้ำซ้อน” ของงานที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ส่งผลทำให้บางครั้งเกิดสิ่งที่เรียกว่า “มหกรรมการไล่ออก” เนื่องจากบางองค์กรพบว่าหลังจากที่ออกแบบการทำงานแล้วนั้นทำให้พบกับสิ่งที่ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ และงานที่ซ้ำซ้อนกันเยอะมาก เมื่อออกแบบใหม่แล้วทำให้ “คนเกิน” ปริมาณงานที่ทำจึงเป็นเหตุผลให้เกิดมหกรรมการไล่ออกอย่างที่กล่าวมา

                ส่วนความหมายของคำว่า “Re-engineering” ของผมนั้น คือ การออกแบบการทำงานใหม่ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงานที่ทำเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง สอดประสานงาน (ทีมเวิร์ค) ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการทำงาน

อ่านต่อบทความถัดไป...

คำสำคัญ (Tags): #เกียรติ
หมายเลขบันทึก: 285302เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ค่ะอยากทราบว่าธุรกิจอะไรบ้างที่นำ reengineering มาใช้ปรับปรุงองค์กรนั้นบ้างค่ะ

 

                                                      ศิษย์.....เนินสง่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท