มุมหักเห...จากกระจกบานเล็ก


ผู้ใหญ่ก็ดื้อไม่แพ้เด็ก...เหตุที่ว่า "ดื้อ" ก็เพราะไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น...เมินเฉยความเสมอภาคทางความคิด...เพียงเพราะเค้าเป็นเด็ก

เมื่อเห็นแย้ง...หาว่าโต้เถียง...ไม่ทำตาม...ก็หาว่าดื้อรั้น ทั้ง ๆ ที่บางครั้งบางที ผู้ใหญ่ก็ดื้อไม่แพ้เด็ก...เหตุที่ว่า "ดื้อ" ก็เพราะไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น...เมินเฉยความเสมอภาคทางความคิด...เพียงเพราะเค้าเป็นเด็ก

---------------------
เมื่อคิดเพียงว่า "ความเสมอภาค" คือการเอาตัวเองเป็นหลักเสียแล้ว...เมื่อนั้นความคิดตน...ย่อมถูกต้องเสมอ...ใครเห็นแย้งไม่ได้...เห็นต่างไม่ฟัง...ยิ่งเป็นเด็กกว่าตนด้วยแล้ว...ก็จะถูกตีตราว่า "เด็กดื้อ...ชอบเถียง...ไม่เชื่อฟัง" หากเราระวางการพิจารณาความเสมอภาคจากแง่ของตนลงเสียบ้าง และหันไปฟังมุมคิดเล็ก ๆ ของเด็ก...อาจทำให้คุณได้แย้มยิ้มเต็มใบหน้า...เมื่อมองเห็นมุมหักเหจากกระจกบานเล็กอย่างสร้างสรรค์
----------------------

อย่างน้อย...การรับฟังความคิดเห็นที่ตั้งอยู่บนความเสมอภาค...เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลให้กับเด็ก...เป็นการกดสวิตปุ่มความคิด...ให้พัฒนาการโลดแล่นอย่างสร้างสรรค์
---------------------

หมายเลขบันทึก: 285108เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น(ปรโตโฆสะ)เป็นหลักข้อหนึ่งในการจะก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้มีทัศนคติที่ถูกต้อง(สัมมาทิฏฐิ)

ผู้ใดไม่มีก็ไม่สามารถจะถึงจุดหมายปลายทางที่แท้จริงได้

แม้มองภายนอกจะยิ่งใหญ่แต่ภายในกลวงขอรับ..

..ขอบคุณคุณครูที่ไปทักทายขอรับ..

นมัสการค่ะ...หลวงพี่

ซาบซึ้ง และยินดีกับการสนทนาธรรมค่ะ

คนประเภทนี้...มีเยอะในสังคมไทย

--------

เพราะสังคมไทย สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่...อ่อนน้อนถ่อมตน

แน่นอนล่ะ...การเคารพหรืออ่อนน้อมถ่อมตนนั้น เป็นสิ่งที่ดีและควรอย่างยิ่ง

แต่เมื่อพิจารณาแล้ว...ทุกอย่างควรตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล

เมื่อเห็นแย้ง...ก็แย้งอย่างมีเหตุมีผล...มากน้อยค่อยตัดสิน

และเห็นแย้งในที่นี้มิใช่เถียงเพียงเพื่อเอาชนะ...แต่ส่วนใหญ่แล้ว หากเด็กแย้ง

ผู้ใหญ่ (บางคน) มักตัดสินว่า..."เถียง"

---------

ขอบพระคุณมากค่ะ...สำหรับการสนทนาธรรม

ทุกคนต้องรู้จักธรรมะ(ชาติ)อย่างรู้เท่าทัน

หลวงพี่เพียงแค่นำเสนอในมุมมองของการที่ได้สัมผัสกับใจตน

สังคมสมัยนี้พอพูดถึงเรื่องธรรมะก็บอกว่าเป็นเรื่อของพระที่อยู่ในวัดเป็นเรื่องของคนที่จะหลุดพ้น ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดถนัด สังคมเลยปรากฎอย่างที่เห็น

ทุกคนต้องเรียนรู้ธรรมะ(ชาติ)ธรรมะไม่ใช่ของพุทธศาสนาแต่มีประจำโลกอยู่แล้ว

ธรรมะไม่จำเป็นต้องออกมาจากปากพระใช่ไหมขอรับ

คนจบแพทย์มาไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อกาวก็รักษาคนได้ใช่ใหม..

ดังนั้นการปลงผมห่มจีวรนอนที่วัดทำวัตรสวดมนต์..เป็นเพียงแค่รูปแบบ..

เมื่อเข้าใจธรรมชาติเราก็จะมองข้ามช๊อตเพื่อหาแก่นแท้ของมันอย่างแท้จริง..

มีโอกาสจะมานำเสนอมุมมองที่จริงแท้แต่คนโดยมากบอกของปลอม..

นอนดึกรักษาสุขภาพนะขอรับ..

ขอความดีที่คุณครูมีคุ้มครองคุณครูนะขอรับ..

นมัสการค่ะ...หลวงพี่

เมื่อพูดถึงธรรมะ...ไม่ว่าเรียนศาสตร์ไหน...ใส่สื้อสียี่ห้ออะไร...อาชีพ-หน้าที่การงานอย่างไร

หากทุกคนยึดมั่นปฏิบัติตนอยู่ในศิลธรรม-ไม่หลงมัวเมาอยู่ในความเสื่อม...ปัญหาสังคมคงไม่เกิด

--------------

ขอบพระคุณมากค่ะ...สำหรับการสนทนาธรรม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท