การบริหารการศึกษา


สถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จได้ย่อมต้องมีการบริหารจัดการที่ดี

ครู-ผู้บริหารมืออาชีพ เพียบพร้อมด้วยคุณภาพและคุณธรรม

          มุ่งให้อาชีพครูเป็นอาชีพชั้นแนวหน้า เร่งรัดกองทุนเพื่อครูและระบบสหกรณ์ครูที่เข็มแข้ง และบริหารจัดการดีเพื่อสวัสดิการและการพัฒนาครูในทุกเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้ครูมีความเป็นอยู่ที่ดี ปราศจากหนี้สิน ดำรงความเป็น "ครู" ได้

          เร่งวางระบบให้ครูและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาความรู้ต่อเนื่อง และสามารถสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ แผนพัฒนาครูที่เร่งด่วนคือ

:  ภายในเวลา 2 ปี ครูทุกคนรวมทั้งครูโรงเรียนอาชีวะต้องได้รับการอบรมจนใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้

:  ครูภาษาอังกฤษต้องผ่านหลักสูตรเข้มข้นกับเจ้าของภาษา

:  ผู้บริหารต้องมีทักษะการบริหารและภาวะความเป็นผู้นำ

 รัฐต้องสรรหาคนเก่ง คนดีเป็นครู โดยเฉพาะสายที่ขาดแคลน ตั้งแต่บัดนี้ โดยคัดเลือกให้ทุนนักเรียนมัธยมที่เรียนดี ประพฤติดีและจะต้องคอยดูแล แนะแนวตลอดระยะเวลาการศึกษา    ยกย่องครู ผู้บริหารมืออาชีพที่ดำเนินชีวิตเรียบง่ายประหยัด ขยัน ปลอดอบายมุข และในขณะเดียวกันครูที่ทำผิดจรรยาบรรณ ครูต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและถูกลงโทษ

สนับสนุนให้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารในสถานศึกษา ชั่วโมงการสอน สัดส่วนนักเรียน เพื่อให้ครูสามารถอุทิศเวลากับงานสอน หรืองานส่งเสริมวิชาการ ผู้บริหารต้องทุ่มเทให้กับกิจการของสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามแผนงานทุกด้าน

 

กระบวนการสู่ความเป็นเลิศ

สนับสนุนให้โรงเรียนทั่วประเทศทยอยเข้าสู่ระบบการประเมินคุณภาพ ภายในรูปแผบบสากลที่ประยุกต์กับประเทศไทย โดยองค์กรมหาชนอิสระที่เป็นกลาง เพื่อให้ครู/ผู้บริหารคุ้นเคยกับวัฒนธรรมการประเมินคุณภาพอย่างสร้างสรรค์ในแง่ที่เป็นกระบวนการที่วัดผลเพื่อความก้าวหน้าของตนมิใช่เพื่อลงโทษ เป็นการช่วยให้สถานศึกษามีความพร้อมที่จะผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ สถานศึกาาที่ผ่านการประเมินควรได้รับงบประมาณเพิ่มเป็นแรงจูงใจ

 

ปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้

  ให้ทันโลก ทันสมัยอยู่เสมอ และเชื่อมโยงกับนโยบายด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะนโยบายแรงงาน สาธารณสุข เศรษฐกิจ เกษตร เพื่อความเป็นเอกภาพและก่อประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้เกษียณงานซึ่งต้องการทำงานอื่น

            หลักสูตรทุกระดับต้องได้รับการประเมินและปรับปรุงเป็นระยะ ๆ โดยคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชนสาขาอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งเกษตรกร เพื่อให้ผู้เรียนมีความสมดุลทางสติปัญญา อารมณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม มีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยหลักสูตรที่ทันต่อยุคสมัย ใช้ได้ในชีวิตจริงของแต่ละท้องถิ่น มีความหลากหลาย ยืดหยุ่น ไม่ซ้ำซ้อน ที่สำคัญ คือ มีภาคปฏิบัติ และเสนอวิชาเลือกที่ตรงกับความต้องการของสังคม ตัวอย่างเช่น การประกอบการสาขาต่าง ๆ การบริหารจัดการ ฯลฯ

          :  สนับสนุนการศึกษาของสงฆ์และทุกศาสนา เพื่อสืบทอดศาสนทายาทและสืบสานหลักธรรมทุกศาสนา

          :    สนับสนุนการศึกษา เพื่อคนพิการ และการศึกษาพิเศษ เพื่อให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม

          :  สนับสนุนให้อุดมศึกษาของรัฐและเอกชนพัฒนาคุณภาพและศักยภาพเต็มที่เพื่อเป็นแกนหลักในการ

พัฒนาประเทศ

จากบทคนสามารถบอกได้ว่า  การศึกษาไม่อาจหยุดนิ่งต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องปัจจัยสำคัญที่ทำให้การศึกษาขับเคลื่อนต่อไปได้คือ บุคลากรผู้ถ่ายทอดความรู้นั้นก็คือ ครู-อาจารย์นั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 285000เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท