อุปนิสัยแห่งการวิจัย (Research innate character)


 

การเรียนและจบปริญญาเอกนั้นโดยการวัดจากการทำ “วิจัย” หรือที่เรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” นั้นเพียงเล่มหนึ่ง เล่มเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ ถึงแม้นว่าสิ่งที่วิจัย สิ่งที่ค้นพบจะดีสักเพียงใด

ผู้ที่เรียนปริญญาเอกและจะจบปริญญาเอกได้ควรจะเรียน “วิจัย” เพื่อให้มี “อุปนิสัย” แห่งการวิจัย

การเรียนปริญญาเอกนั้นจะทำให้เรารู้หลักการที่เรียกว่า “ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)”
อาจารย์ที่ปรึกษา (Adviser) ควรจะที่สร้างอุปนิสัยแห่งการ “รัก” อันเป็นรักแบบ “ขาดเธอไม่ได้” คือ ทำให้ทุกย่างก้าวของนักศึกษาระดับปริญญาเอกและผู้ที่เรียนจบปริญญาเอกนั้นเป็น “การวิจัย (Research)”

“อุปนิสัยแห่งการวิจัย (Research innate character)” คือการที่ชีวิตติดอยู่กับ “สมมติฐาน (Hypothesis)”
เห็นอะไรต่ออะไรก็ “ขี้สงสัย” สงสัยไปเรื่อย
ได้ยินโน่น ได้ยินนี่ก็ “สงสัย” ไว้ก่อน
จากนั้นก็นำสมองอันชาญฉลาดมาคิด มานึก ไตร่ตรอง พิจารณาให้ถ้วนถี่
คิดได้แล้ว ก็อย่าเพิ่งสรุปเป็นคำตอบ ให้ลองทำ ลองปฏิบัติ หรือทำจริง ๆ จัง ๆ ถ้าลองทำด้วยชีวิตได้ยิ่งดี...

อาจารย์ที่ปรึกษา (Adviser) ของนักศึกษาปริญญาเอกจึงควรสร้าง เสริม แต่งเติมให้นักศึกษามี “อุปนิสัยแห่งการวิจัย (Research Nature)” มากกว่าสอนการทำวิจัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไปเรียนปริญญาเอกเพื่อที่จะกลับมาเป็น “ครู (Teacher)” และ “อาจารย์ (Lecturer)”  จะต้องนักวิชาการที่ “ขี้สงสัย” ความขี้สงสัยนั้นเป็น Hypothesis (สมมติฐาน) แบบไทย ๆ ที่ครูและอาจารย์ทั้งหลายพึงมี

การเป็นนักวิจัยที่ดี (Premium Researcher) นั้น ต้องเป็นผู้ที่คิดเก่ง ทดลองเก่ง และไม่สรุปความ หาคำตอบจากการ “อ่านหนังสือ”

นักวิจัยที่ดีมีหนังสือเป็น อ่านหนังสือเป็น “ข้อมูล”
นักวิจัยที่ดีจะไม่ใช้หนังสือเป็น “คำตอบ (Reply)” หรือ "ผลลัพธ์ (Quotient)"

นักวิจัยที่ดีต้องอ่านมาก ฟังมาก คิดมากเพื่อ “ทดลอง”ให้มาก
นักศึกษาระดับปริญญาหรือผู้ที่เรียนจบปริญญาเอกจึงต้องทดลองให้มาก มากกว่าการ “อ่านหนังสือ”

หลักสูตรปริญญาเอกปัจจุบันอ่านหนังสือมาก และฟังอาจารย์สอนมาก
อ่านมาก ฟังมาก แต่คิดน้อย ทดลองน้อย

หลักสูตรปริญญาเอกแผนใหม่ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเมืองไทยน่าจะที่วัดผลจาก “อุปนิสัยแห่งการวิจัย (Research innate character)” ว่าใครมีลมหายใจเป็นการวิจัย (Research breather) คนนั้นจึง “ผ่าน”

หมายเลขบันทึก: 284371เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท