ปี๋นี้ปี๋เป้า


สัมพันธภาพของบรรพบุรุษเมื่อหลายพันปี

น่าชื่นชมบรรพบุรุษในยุคก่อนหน้าเราหลายร้อยปีมากนะครับ เหมือนเขาได้มีการสื่อสารกันข้ามชาติข้ามภาษามานานแล้ว สังเกตจากการนับเวลาเป็นปีและมีสัตว์เป็นสัญลักษณ์ ไทย จีน ฝรั่งก็ไม่แตกต่างกันเลย น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น  บรรพบุรุษแถวบ้านผมก็มีปีนักษัตรหรือนามปีเกิดเหมือนกัน สัญลักษณ์ สัตว์เหมือนกันเพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป ผมจะเทียบให้ดู (ถ้าจะให้ดีคนทางเหนือต้องอ่านสำเนียงพื้นเมืองด้วยนะครับ)

      ล้านนา              ไทย                 สัตว์

        ไจ้            =     ชวด                 หนู

        เป้า           =     ฉลู                   วัว

        ยี              =     ขาล                 เสือ

        เม้า           =     เถาะ                 กระต่าย

        สี              =     มะโรง               งูใหญ่

        ไส้            =     มะเส็ง               งูเล็ก

        สง้า          =     มะเมีย              ม้า

        เม็ด          =     มะแม                แพะ

        สัน           =     วอก                  ลิง

        เล่า           =     ระกา                ไก่

        เส็ด          =     จอ                    หมา

        ไก้            =     กุน                   หมู (ทางล้านนาเป็น ช้าง)

ผมเกิดปีเส็ด  นาม(นำ) หมา   ครับ

ฉะนั้นปี 2009 นี้ก็เป็นปี ฉลู  ปีวัวทอง/วัวไฟ  หรือ ปี๋เป้า ทางล้านนาเราครับ 

 

แถมครับ ท่องคล้องจองแต่ไร้สาระ(เก็บมาจากวงเหล้า)

ชวด  ปู             ฉลู   ห่าน          ขาล  เงาะ         เถาะ  ตะโขง

มะโรง  อีเก้ง     มะเส็ง   เหี้ย      มะเมีย   แย้       มะแม  กระรอก

วอก   ลา           ระกา   ฬ่อ        จอ   ตุ่น            กุน   ตะกวด

ท่านใดมีอะไรสนุกๆก็แลกเปลี่ยนได้นะครับ

                                  

หมายเลขบันทึก: 284320เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หนูเกิดปีมะเส็ง  ก็เป็น ปี๋ไส้  แต่ว่า...ไร้สาระเป็นปีเหี้....ว้าย...../ยาหยี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท