Inhouse Dialogue: โรงงานยาสูบ


ไดอะลอก หรือ ได้อะหลอก / สุนทรียสนทนา หรือ แค่มาสนทนา

Dialogue: สุนทรียสนทนา
โรงงานยาสูบ

31 ก.ค. - 1 ส.ค. 2552  ณ ณุศา พลาญ่า หาดจอมเทียน พัทยา

   ครั้งนี้มีโอกาสได้เป็นผู้ประสานงานให้กับ Inhouse Dialogue โรงงานยาสูบ ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย ผู้บริหารและแกนนำโครงการแว่นขยาย (ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การจัดการความรู้ในองค์กร) รวม 31 ท่าน โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ มนชัย พินิจจิตรสมุทร มาเป็นวิทยากรบรรยาย และนำทำวงสนทนาภาคปฏิบัติ

   วัตถุประสงค์ในการจัดอบรมครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ประสานงานการจัดการความรู้ของโรงงานยาสูบเห็นว่า Dialogue เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM)   จึงต้องการให้ผู้บริหารและแกนนำ ได้เรียนรู้ สัมผัส เข้าใจ กระบวนการ Dialogue เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการแว่นขยายขององค์กร ต่อจากการอบรม KM ที่ สคส. ได้เคยให้การฝึกอบรมไปแล้ว

   กระบวนการฝึกอบรมโดยย่อ 2 วัน 1 คืน จะประกอบด้วย

  1. ภาคบรรยาย ความเป็นมา แนวคิด แนวปฏิบัติ และภาพรวม
  2. ฝีกปฏิบัติ 3 รอบการสนทนาในวันแรก  และ 2 รอบสนทนาในวันที่สอง
  3. ประเมิน และให้คำแนะนำเพิ่มเติมหลังการฝึกปฏิบัติในแต่ละรอบการสนทนา
  4. ตอบคำถามคลายความสงสัย
  5. ผู้เข้าอบรมแสดงความคิดเห็น และสิ่งที่ได้รับจากการทดลองปฏิบัติ

คำถามที่ถูกใช้ในการประเมินครั้งนี้มี 10 ข้อบวก 1 (คำตอบคือ ใช่ / ไม่ใช่ / ไม่แน่ใจ)

  1. มีสมาธิในการฟังอย่างต่อเนื่อง
  2. รู้สึกว่ารั้งความต้องการในการพูดแทรกได้ทัน
  3. มีความคิดตัดสินเรื่องราวที่ได้รับฟังเกิดขึ้น
  4. มีแรงกระตุ้น ต้องการออกไปพูดเกิดขึ้น
  5. รู้สึกถึงการได้รับข้อมูลความคิด รู้สึกถึงการไหลของข้อมูลภายในตัว
  6. เสียงหรือสภาพแวดล้อมภายนอกรบกวนการสนทนาน้อยมาก
  7. สมาชิกในกลุ่มสามารถแลกเปลี่ยนความคิดได้ลุ่มลึก ละเอียดอ่อน
  8. มีการไหลของกระแสความหมาย รู้สึกว่ามีความเข้าใจเพื่อนมากขึ้น
  9. ภายในกลุ่มมีการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน  มีความเคารพ และให้เกียรติกัน
  10. บรรยากาศของกลุ่มประกอบด้วยความรู้สึกสมานฉันท์
  • รู้สึกว่าเรารู้จักกันและกันมากขึ้น  มีความสุขที่ได้สนทนา

* คำถามจะถูกเปลี่ยนไปตามบริบทขององค์กร และพฤติกรรมของผู้เข้าอบรม

   บรรยากาศภายในงานอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้เข้าอบรมตั้งใจฟัง และตั้งใจปฏิบัติดี จากการประเมินของ อ.มนชัย พบว่า มีลักษณะของ Dialogue เกิดขึ้น แต่เล็กน้อย  ทั้งนี้อาจารย์ให้เหตุผลว่า การเกิดไดอะลอกจะมีหลายปัจจัย และปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือ ระยะเวลาที่ได้ทำการฝึกปฏิบัติ ซึ่งโดยประสบการพบว่า ควรต้องเคยฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จึงจะเกิดวงไดอะลอกได้สมบูรณ์  อย่างไรก็ดีจากพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมทำให้เห็นความเป็นไปได้ว่า ถ้าผู้เข้าอบรมนำหลักการไปฝึกปฏิบัติต่อ ก็จะสามารถเข้าใจและทำให้วงไดอะลอกเกิดขึ้นได้

  ผู้เข้าอบรมสะท้อนว่า รู้สึกดีที่ได้มีโอกาสมาพบกัน ได้พูดคุยสนทนากัน ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง รุ่นพี่กับรุ่นน้อง เพื่อนร่วมงานกับเพื่้อนร่วมงาน ทำให้รู้จักกัน  เข้าใจกันมากขึ้น กลับไปจะไปหาเวลาคุยกันให้มากขึ้น ภายในองค์กรจะได้รู้จักรู้ใจกัน ได้รับรู้ได้ช่วยกันแก้ปัญหามากกว่าที่เป็นอยู่

 

  ตอนนี้ก็เป็นได้อะหลอก (หลอกๆ) ไปก่อน เอาแค่สนทนาคุยมาคุยไป พอกลับไปฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็เอาใจช่วยครับ  จะได้เป็นไดอะลอก (ของจริง) เพื่อเป็นองค์กรแห่งสุนทรียสนทนาในอนาคตต่อไป

อภิชา วิรัตนโภคิน

หมายเลขบันทึก: 284108เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความรู้ทั้งนั้นขอบคุณค่ะ

เครื่องคิดเลข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท