การจัดการความรู้ในมุมมองของ นพ.พิชัย ตั้งสิน


กระทรวงสาธารณสุข

นพ.พิชัย จบแพทย์จุฬา ปี ๒๕๓๑ เคยทำงาน รพ.ชุมชน เข้ากระทรวงอยู่ สนย. ไปเรียนต่องานด้านสาธารณสุขที่ เยอรมัน เรียนต่อหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ จากหลายสถาบัน แล้วลาออกจากราชการมาเป็น สิบปี มาอยู่ภาคเอกชนดูแลธุรกิจครอบครัวประมาณ สิบปีเศษได้ให้มุมมองน่าสนใจ

ประเทศเยอรมัน ช่องว่างของชนชั้นน้อยกว่าประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่ที่น่าสนใจ ในระบบธุรกิจ ผู้บริหารไม่สามารถกอบโกยผลประโยชน์ตั้งเงินเดือนให้ตนเองสูงๆได้แม้ว่าธุรกิจมีผลกำไรสูงเช่นบ.โตโยต้า

การเรียนรู้ในเยอรมันสอนให้เรียนด้วยตนเอง ในมหาลัยที่เยอรมัน ห้องสมุดต้องให้นักศึกษาเข้าถึงได้ง่ายอยู่ในชุมชน ในตลาด ไม่เหมือนบ้านเรา

กระทรวงสาธารณสุขในเยอรมันเล็กมากเป็นเพียงตึกแถวสี่ชั้น แต่บ้านเราเหมือนอาณาจักร ดูแลทุกเรื่องแต่ที่อื่นดูแต่เรื่องนโยบายเท่านั้น

การกระจายอำนาจเขาให้ความสำคัญบางหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ควรเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ต้องใช้คนมาก แต่ใช้เทคโนโลยี่มาช่วย

ระบบการรายงานของ สธ.เมื่อก่อนก็ถูกตั้งคำถามว่าสร้างภาระแต่ไม่เอาไปใช้ประโยชน์ จึงมีการยกเลิกรายงานที่ไม่จำเป็นมาก แต่มาเป็นเซอร์เวย์แทน ยกเว้นรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวัง

ในภาคเอกชนต้องแข่งขันต้องดิ้นรนขวนขวาย แต่รัฐไม่สนใจไม่มีเจ้าของที่แท้จริงหากผู้บริหารขาด ธรรมาภิบาลสร้างปัญหาได้มาก

โดยสรุปความแตกต่างที่มองเห็นจากประสบการณ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน

1.เอกชนต้องแข่งขันเพื่อความอยู่รอด พัฒนาตนเองตลอดเวลา

2.ให้ความสำคัญกับลูกค้าพยายามตอบสนองเต็มที่

3.เรียนรู้ตลอดเวลา

4.บริหารจัดการเชิงระบบ

5.กระบวนการตัดสินใจดีกว่า

6.การมีส่วนร่วม

7.ไม่ยึดติดในกฏระเบียบมากเกินไป

8.ปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง

9.อย่าหวังพึ่งรัฐต้องพึ่งตนเอง

10.ใช้ความรู้เป็นเครื่องมือ

คำสำคัญ (Tags): #สาธารณสุข
หมายเลขบันทึก: 283992เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท