ข้อที่ 4


นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล

4. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่สามารถ

แก้ปัญหาการศึกษาได้เบ็ดเสร็จทุกอย่าง นวัตกรรมฯบางอย่างก็ล้มเหลว นวัตกรรมบางอย่างก็ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

“ปัญหาในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปใช้คือ จะทำอย่างไรให้

สมาชิกในสังคมยอมรับนวัตกรรมโดยการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมฯ และทำอย่างไรนวัตกรรมฯ นั้นจึงผสมกลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิก

ในฐานะที่เป็นนักการศึกษา มีบทบาทหน้าที่ในการใช้นวัตกรรมฯ จำเป็นต้องเข้าใจ หลักการ

กระบวนการ และสามารถเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่เหมาะสม จงแสดงให้เห็นว่า             

                -   ประเภทของการใช้วัตกรรมและเทคโนโลยีสาระสนเทศเพื่อการศึกษาควรให้ความสำคัญนวัตกรรมฯประเภทใด เพราะเหตุใด

 

ประเภทของนวัตกรรม

 

                ชัยยงค์  พรหมวงศ์  (อ้างถึงใน  สุมิตา  บุญวาส  2546:  78) นวัตกรรมมี  2  ประเภท  คือ

1.       นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด

2.       นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปัดฝุ่น

ปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น

 

สำนักงานการอุดมศึกษา  (2546:  2) นวัตกรรม มี  6 ประเภท  คือ

1.นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล 

การสอนระบบเปิด  การศึกษานอกระบบโรงเรียน

2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร

เช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง

กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจาก

หลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทค

โนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตร

ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนา

อีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการ

ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้

1). หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยา

การในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถ

ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม

2). หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบ

สนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความ

ก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ

3). หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์

เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นกระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น

4). หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น

เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละ

ท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียน

โปรแกรม  ศูนย์การเรียน  การเรียนด้วยตนเอง  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การสอนแบบ  คอนสทรัคทิวิสซึ่ม  การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่(ร่วมมือกัน)

นวัตกรรมสื่อการสอน

เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนอง

การเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ

แก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับ

สนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การ

เรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่าย

คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

ที่มา : http://botany.sci.ku.ac.th/learn/ http://cyberclass.msu.ac.th

เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี

โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิต

สื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและ

การเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

- มัลติมีเดีย (Multimedia)

- การประชุมทางไกล (Teleconference)

- ชุดการสอน (Instructional Module)

- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

การเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย

http://www.geun.net/

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it1.htm

http://www.thaiedunet.com/multimedia/

http://www.colorado.edu/physics/2000/applets_ST.html

 

 

4.นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เช่น สไลด์ วีดีทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์ 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)  การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต  (Web -  based  Instruction)  หรือ  e- learning

5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อน

เรียน  การวัดผลหลังเรียน  การวิเคราะห์ข้อสอบ

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล

                เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรม

คอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์

ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่

- การพัฒนาคลังข้อสอบ

- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา

- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/main/index.html

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบาง

สถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้าน

อุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่ายซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน

http://www.ceted.org/course/english/WebEnglish/login.php

 

 

6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์

จัดเก็บข้อมูล

นวัตกรรมการบริหารจัดการ

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ

ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูล

ในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และ

บุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการ

ออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ

ภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา

ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบ

ค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลาการใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อน

ทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนา

ฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1

 

                ควรให้ความสำคัญกับทุกประเภทของนวัตกรรมเพราะทุกประเภทล้วนมีความเกี่ยวข้องกันและมีความสำคัญทั้งนั้นในระบบการศึกษาไม่สามารถจะเจริญก้าวหน้าได้ หากขาดปัยจัยที่เป็นประโยชน์ไปเพราะทุกประเภทของนวัตกรรมล้วนเชื่อมโยงและผูกพันกัน

 

 

 

 

               

-     รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแบ่งได้กี่แบบ แต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร

 

1.  ห้องเรียนเสมือนจริง  

- การศึกษาทางไกล (Distance Learning)   

- การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.   สื่อหลายมิติ

จุดมุ่งหมายของการใช้สื่อหลายมิติ

1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น(Browsing)สารสนเทศต่าง ๆ
2. ใช้เพื่อการเชื่อมโยง (Linking) แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
3. ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่าง ๆ ที่มีความ น่าสนใจเนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว

ข้อดีของบทเรียนหลายมิติ

1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6.
ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน


3.เอกสารประกอบการสอน เป็นเอกสารที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเอง เพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาหนึ่งวิชาใดตามหลักสูตร นักเรียนเป็นผู้อ่านเอง อาจมีรูปภาพประกอบ น่าสนใจ เนื้อหาใช้คำอธิบายที่เป็นความคิดรวมยอด ใช้ภาษาวิชาการ เหมาะกับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ขึ้นไป
4. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นเอกสารทางวิชาการที่ยึดหลักวิชาการที่มั่นคง ถูกต้อง สะท้อนความคิด ทัศนะและภูมิปัญญาของผู้เขียนลงไปด้วย ใช้สำหรับนักเรียนอ่านเพิ่มเติมเหมาะสมกับวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล ควรจัดมีรูปเล่ม สีสันสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ
5.บทเรียนสำเร็จรูป เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์วิธีการไว้ชัดเจนให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าและประเมินผลด้วยตนเอง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ มักเป็นการสอนความคิดรวบยอด มีการเสริมแรงผู้เรียนเป็นระยะ เหมาะสำหรับใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน
6.บทเรียนการ์ตูน มีลักษณะเช่นเดียวกับบทเรียนสำเร็จรูป แต่มีการ์ตูนเป็นตัวเดินเรื่อง อาจใส่สีสันสวยงาม น่าอ่านยิ่งขึ้น
7. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีส่วนคล้ายกับบทเรียนสำเร็จรูป แต่แตกต่างตรงที่บทเรียนสำเร็จรูปเป็นเอกสารสิ่งตีพิมพ์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นบทเรียนที่ทำขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาจมีเสียงประกอบ คือโต้ตอบกับสื่อ ช่วยดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี
8. E-learning เป็นเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนใช้ E-learning นำเสนอข้อมูล เนื้อหาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในรูปสื่อมัลติมีเดีย ให้ผู้เรียนทำการศึกษาผ่านเว็บไซต์ อาจมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันครู-นักเรียน-เพื่อน สามารถปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้

 

 

   -    ทำไมครู...จึงต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเพราะเหตุใด

                เพราะนวัตกรรมทางการศึกษาจะเป็น    เครื่องมือ  สื่อ  แนวคิด  วิธีการกระบวนการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร และการเรียนการสอนในปัจจุบันนั้นเน้นที่จะส่งเสริมให้เด็กได้คิดแก้ปัญหาแสวงหาความรู้เป็นไม่เพียงแค่รอการป้อนความรู้จากครุผู้สอนเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้นจะเป็นตัวช่วยให้การเรียนการสอนสนุกน่าสนใจชวนติดตามและฝึกให้คิดได้อีกวิธีหนึ่ง

 ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา  ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์มีทั้งสำหรับครูและนักเรียน

ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครู

หมายเลขบันทึก: 283569เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท