เรื่องเล่าดีดี


เมื่อผู้ป่วยได้ต่อลมหายใจ................. เมื่อผู้ป่วยได้ต่อลมหายใจ...........

................. เมื่อผู้ป่วยได้ต่อลมหายใจ...........

 

                  มีผู้ป่วยหลายคนที่มีความทุกข์ทรมานอย่างมากจากอาการหายใจหอบเหนื่อยป่านจะขาดใจบัดเดี๋ยวนั้นเลย  อย่างเช่น คุณลุงอ่อนศรี สูบบุหรี่ตั้งแต่เป็นวัยรุ่นจนถึงปัจจุบัน อายุ55ปี เป็นโรคถุงลมโป่งพอง จนต้องได้มาโรงพยาบาลบ่อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าจนเกิดการติดเชื้อวัณโรค      แพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อในโรงพยาบาลซึ่งตอนนั้นยังไม่มีห้องแยกโรค ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิต          ลุงมณี เป็นมะเร็งตับระยะสุดท้ายเหนื่อยเพลียมากจนต้องได้ใช้ออกซิเจนตลอด    และคุณลุงเก้า เป็นเบาหวาน  ไตวายเรื้อรัง และมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมารักษาซ้ำตลอดนับจากปลายปี 2549 ถึงมกราคม 2552  พบว่านอน โรงพยาบาล 20 ครั้ง และเป็นการ  Re-admit  ภาย 28 วันเกือบทุกครั้ง   จนกระทั่งได้ออกซิเจนไปไว้ที่บ้าน การมารพ.ห่างขึ้น จาก 3-5 วันก็จะมาแต่

2ครั้งล่าสุด ห่างมากกว่า 30 วัน  และลูกอยู่ ม.2 และภรรยา ต้องได้ทำกิจกรรมต่างในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไปทำมาหากิน และเลี้ยงวัว เป็นอาชีพเสริม   ภรรยาลุงเก้าบอกว่าตั้งแต่ได้ออกซิเจนไปใส่ที่บ้านอาการดีมากขึ้นเพราะผู้ป่วยเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่นเคยมีหน้ามีตาในสังคม และเป็นผู้มีอัตตาสูง เคยไปรักษาแต่เฉพาะที่คลินิก กว่าจะมารักษาที่โรงพยาบาลก็อยู่ในระยะที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเสียแล้ว    การที่จะมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และนอนหอผู้ป่วยรวม คิดว่าทำให้เกิดการเสีย Seft พอสมควร  

 

                 ผู้ป่วยที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง ยังมีอีกมาก ที่ลูกหลานต้องการให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น ไม่ทรมานมากนัก ถึงแม้ว่าจะหมดลมหายใจได้มีออกซิเจนจน เฮือกสุดท้ายก็เป็นสิ่งที่ญาติพวกเขาต้องการให้จากไปอย่างสมศักดิ์ศรีที่บ้านเป็นความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการอยู่บ้านที่ตัวเองเคยอยู่มาตลอดชีวิต  งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลป่าติ้วได้มีการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ให้ยืมถังออกซิเจนไปใส่ที่บ้าน แต่ต้องเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ผู้ที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ  เพราะบางทีไม่พอใช้ในหอผู้ป่วย  เดี๋ยวจะเกิด ความเสี่ยงขึ้นได้  .......  บางคนญาติต้องไปทำมาหากิน มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตไปทั้งครอบครัว     ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากจากอันตรายจากถังออกซิเจน เราก็ได้ให้คำแนะนำความเสี่ยง   ให้เอกสารแผ่นพับ  และต้องรายงานให้ผู้อำนวยการ ทราบทุกครั้ง  และได้ส่งต่อให้เวชปฏิบัติครอบครัวได้ดูแลต่อที่บ้าน    และหากอยู่นอกเขตก็ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำ 

 

                  ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต หากเพียงแต่เราหยิบยื่นสิ่งดีดีให้ และเป็นการต่อลมหายใจ และยื้อชีวิตไว้ไม่ได้เลย ให้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ได้ไม่นานนัก   แต่มันก็เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ลูกหลาน    ได้อยู่ด้วยกันด้วยความอบอุ่น ได้ดูแลกันอย่างเต็มที่  ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่สมควรจะได้รับสิ่งดีดีจากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 .......ในยุคข้าวยากหมากแพง ...............................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 283427เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีครับ เป็นอีกความพยายาม ในการใกล้ชิด และเข้าใจผู้ป่วยเป็นกำลังใจให้ครับ

เห็นด้วยกับการให้ยืมถังออกซิเจนนะครับ

ถึงม้จะยื้อชีวิตของผู้ป่วยได้ไม่นาน แต่ก็ทำให้ญาติพี่น้องได้สบายใจ

ว่าผู้ป่วยไม่ต้องทรมาน หรือต้องไปรพ.บ่อยๆ

ครอบครัวอยากให้ผู้ป่วยอยู่กับเขานานเท่านาน เจ็บปวดน้อยสุด ไม่ทรมาณ ไม่อยากสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ผู้ป่วยและญาติคงดีใจที่หลายๆคนเข้าใจและอยากช่วยเหลือพวกเขาให้มีความทุกข์ทรมาณน้อยที่สุด ค่ะ

  • ลองคิดต้นทุน ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและญาติที่เดินทางมานอนโรงพยาบาลเพื่อรับออกเจนดูนะจ๊ะเปรียบเทียบกับการนำออกซิเจนไปใช้ที่บ้าน
  • อยากทราบเหมือนกันค่ะว่าที่ไหนบ้างให้ยืมถังออกซิเจนไปใช้ที่บ้านบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท