ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการ เรื่อง "เกษตรอินทรีย์ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม"


ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการ เรื่อง "เกษตรอินทรีย์ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม" ในงานทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 5 วันที่ 17 สิงหาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

 

ฯพณฯ  นายอำพล  เสนาณรงค์  องคมนตรี  เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการ เรื่อง "เกษตรอินทรีย์ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม" ในงานทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์     ครั้งที่ 5   วันที่  17  สิงหาคม 2552    มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตพัทลุง

อาจารย์ ดร.ไพบูลย์ ประโมจนีย์  คณบดีคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง  เปิดเผยว่า  ในวันที่  17  สิงหาคม 2552    คณะเทคโนโลยีฯ กำหนดการประชุมวิชาการ เรื่อง "เกษตรอินทรีย์ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม"  โดย ฯพณฯ  นายอำพล  เสนาณรงค์  องคมนตรี  ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง  "เกษตรอินทรีย์วิถีไทยสู่สากล"    

เกษตรอินทรีย์ คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมเน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร)

ประเทศที่มีการซื้อขายเกษตรอินทรีย์มากที่สุด 10 อันดับแรก คือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปจะสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25-50 อย่างไรก็ตามปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั่วโลกในปัจจุบันมีร้อยละ 1 ของปริมาณสินค้าทั้งหมด และคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้นร้อยละ 10 ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มาก

          โอกาสที่จะพัฒนาด้านการเกษตรอินทรีย์เป็นความหวังทั้งในการเพิ่มมูลค่าการตลาดของสินค้าเกษตร  และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเกษตรและผู้บริโภค  ในการจัดงานทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 5 นี้  จึงเป็นโครงการที่สำคัญอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยทักษิณจะได้เป็นเจ้าภาพในการขยายแนวความคิด  และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานราชกร  องค์กรเอกชน  และเกษตรกร  ให้เข้าใจถึงการเกษตรอินทรีย์ทั้งในลักษณะนโยบายและการปฏิบัติ

ภายหลังจากพิธีเปิด และปาฐกถาพิเศษแล้วมีการอภิปรายกลุ่มในหัวข้อเรื่อง  "เกษตรอินทรีย์เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม"  ผู้นำการอภิปราย คือ ศาสตราจารย์ ดร. จรัญ  จันทลักขณา  นายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณ   และมีผู้ร่วมอภิปรายคือ นายสุพจน์  ชัยวิมล  สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร  กรมส่งเสริมการเกษตร  ดร. สมศักดิ์  โชคนุกูล ผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ   นายวัน  ขุนจันทร์ รองประธานสภาลานวัดตะโหมด  นางจินตนา  อินทรมงคล  ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและขยายพันธ์สัตว์  ผู้อำนวยการศูนย์ปศุสัตว์อินทรีย์  ส่วนในช่วงบ่ายมีการบรรยายในหัวข้อโปรแกรมดินไทย  โดยกรมพัฒนาที่ดิน   การทำนาเชิงอินทรีย์  โดยเกษตรกรจากลุ่มน้ำปัตตานี    กระบวนการผลิตและการตลาดของผลิตผลเกษตรปลอดสารพิษของเกษตรกรในภาคใต้  โดยนายกำราบ  พานทอง    เกษตรกรรมเชิงอินทรีย์ และการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  โดย อาจารย์ ภาณุ  พิทักษ์เผ่า  ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง  นอกจากนั้นยังมีการจัดนิทรรศการ   การนำเสนอผลงานในแบบ Poster  Presentation ด้านเกษตรอินทรีย์ จากหน่วยงานด้านการเกษตรอีกหลายหน่วยงาน 

ดังนั้นจึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น   ในวันที่ 17 สิงหาคม 2552  ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน  โทรศัพท์ 074-693996  หรือที่ งานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยทักษิณ โทร. 074-609600 ต่อ 7202-3  หรือ 074-673232 www.pt.tsu.ac.th

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #onblog#online#pr#sar#tsu
หมายเลขบันทึก: 283157เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท