ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามา 2 ชนิด อธิบายความหมาย ความสำคัญ และหลักการ/ปรัชญาเบื้องหลังนวัตกรรมนั้นมาพอเข้าใจ


ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  1.บทเรียนสำเร็จรูป
 

แนวคิดพื้นฐานและจิตวิทยาที่เกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป
         ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปอาศัยแนวคิดพื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สำคัญ    ได้แก่  หลัก จิตวิทยาของThorndike และ Skinner

  ศิริโสภาค  บูรพาเดชะ  ( 2529 : 171 -172 )  ได้เสนอหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป  ดังนี้

1. แรงจูงใจหรือแรงขับ  ( Motivation  and  Drive )  เกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก
ร่างกาย  แบ่งเป็นแรงจูงใจที่มิได้เกิดจากการเรียนรู้  และแรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้
2. สิ่งเร้า ( Stimulus ) คือโอกาสที่ทำให้การตอบสนอง  อาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุ  และ
อาจเกิดภายในและภายนอกร่างกายได้
3. การตอบสนอง( Response ) การตอบสนองคือผลทางพฤติกรรมของสิ่งเร้า  เป็นการ
กระทำของร่างกาย  และอาจจะเห็นไดชัดก็ได้  การตอบสนองมักจะเกิดตามหลังสิ่งเร้าเสมอ
4. สิ่งเสริมแรง  (Primary  Reinforce  )  คือสิ่งใด  ๆ  หรือเหตุการณ์ใด  ๆ  ที่สนับสนุน
ความเข้มแข็งของการตอบสนอง  หรือช่วยให้การตอบสนองคงอยู่  นักจิตวิทยาแบ่งสิ่งเสริมแรงออกเป็น  2  ประเภทคือ  สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นสิ่งเสริมแรงตามธรรมชาติ  และบำบัดความต้องการหรือ
ลดแรงขับโดยตรง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ เป็นรางวัลซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ที่มีมาก่อนกับสิ่งแรงปฐมภูมิ  และเกิดการเรียนรู้
     อารี  พันธุ์มณี ( 2538 : 123 ) ได้กล่าวถึงหลักการเรียนรู้ของThorndikeที่นำมาใช้ในบทเรียนสำเร็จรูปดังนี้คือ
 1. กฏแห่งผล ( Law  of  Effect) มีใจความว่าการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับ  การตอบสนอง   จะดีขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมการตอบสนองของตนถูกต้อง  การให้รางวัลจะช่วย  ส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น  ๆ อีก
 2. กฎแห่งการฝึกหัด  (Law  of  Exercise )มีใจความว่าการมีโอกาสได้กระทำซ้ำ  ๆ  ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง  จำทำให้พฤติกรรมนั้น  ๆ  สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  การฝึกหัดที่มี             การควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้
 3.  กฎแห่งความพร้อม  (Law  of  Readiness )  มีใจความว่ามีความพร้อมที่จะตอบสนอง  หรือพฤติกรรมใด  ๆ  ถ้ามีโอกาสได้กระทำย่อมเป็นที่พอใจ  แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะตอบสนอง  หรือแสดงพฤติกรรมการบังคับให้กระทำย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจ
             นอกจากทฤษฎีการ  ของ Thorndike แล้ว  อารี  พันธุ์มณี ( 2538 : 112-113 )  ยังได้กล่าวถึงหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูปอีก  ได้แก่ทฤษฎีของ  Skinner     ซึ่งกล่าวไว้ว่า      การให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีต้องมีการสร้างเงื่อนไขเพื่อตอบสนอง  การเสริมแรง การยุติ      การตอบสนอง  และการดัดรูปแบบพฤติกรรม  ให้กับผู้เรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. เงื่อนไขการตอบสนอง (Operant  Conditioning) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ 
จะเกิดขึ้นบ่อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความถี่หรือที่เรียนว่า  อัตราการตอบสนอง  หรืออัตราการแสดงออกของพฤติกรรม  การเรียนรู้  การสร้างเงื่อนไข  การตอบสนองและการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการเสริมแรง
2. การเสริมแรง  (Reinforcement )  การที่สิ่งมีชีวิตจะมีการตอบสนองที่ดีได้นั้นต้องมีสิ่งเร้ามากระทบ  ถ้ามีสิ่งเร้าแบบเดิม  ๆ  การตอบสนองอาจจะไม่ดี  ดังนั้นสิ่งเร้าใหม่อาจจะทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง  เราเรียก  สิ่งเร้าว่า  ตัวเสริมแรง
3. การยุติการตอบสนอง  (Extinction ) เมื่อการตอบสนองมีการเสริมแรงแล้วและมีอัตราการตอบสนองอัตราสูง  เราสามารถลดอัตราการตอบสนองลงมาอยู่ในระดับเดิมได้   โดยไม่มีการเสริมแรง ของการตอบสนองนั้น  การตอบสนองนั้นจะมีการลดความถี่ลงเรื่อย  ๆ    จนกระทั่งถือว่าไม่สำคัญ  หรือไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้
 4. การดัดรูปแบบพฤติกรรม ( Shaping)   การเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อนมาก  ๆ จะมีวิธีการตอบสนองที่เป็นขั้น  ๆ   วิธีการที่สำคัญเกี่ยวกับการตอบสนองเป็นขั้น  ๆ  คือ  การรู้ว่าขั้นสุดท้ายเป็นอะไร  มีการเสริมแรงแต่ละขั้นไปเรื่อย  ๆ  จากแบบง่าย  ๆ  พัฒนาไปสู่ระบบที่ยาก  และซับซ้อน
               สุกัญญา  สิทธิจูมิม (2546 : 5) ยังได้กล่าวถึงทฤษฎีของ  Skinner ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปว่า  ส่วนใหญ่ทฤษฎีของ  Skinner  จะใช้หลักการของ  Thorndike  ส่วนสำคัญที่นำมาใช้ในบทเรียนโปรแกรม  คือการเสริมแรง   ผู้เรียนจะเกิดกำลังใจต้องการเรียนต่อ เมื่อได้รับการเสริมแรงในขั้นตอนที่เหมาะสม การเสริมแรงของบทเรียนสำเร็จรูปนั้นใช้การเฉลยคำตอบให้ทราบทันที  และพยายามหาวิธีการเพื่อไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดพลาด  โดยการจัดเสนอความรู้ให้ต่อเนื่องทีละขั้นอย่างละเอียด
จากการศึกษาทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปจะใช้ทฤษฎีของThorndikeซึ่งเป็นทฤษฎีที่เน้นผลที่เกิดจากการตอบสนองสิ่งเร้า  และการตอบสนองที่ได้ผลดีต้องมีการกระทำซ้ำ  ๆ  เมื่อมีโอกาส และทฤษฎีจำเป็นต้องใช้ ทฤษฎีของSkinner    ซึ่งหลักจิตวิทยาของ Skinner ที่นำมาใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปได้แก่ หลักการเสริมแรง  กล่าวคือ  ผู้เรียนจะเกิดกำลังใจ  ต้องการเรียนต่อไปเมื่อได้รับการเสริมแรง    บทเรียนสำเร็จรูปจึงนำการรู้ผลมาเป็นการเสริมแรง   โดยในคำถามแต่ละกรอบหรือแต่ละตอนจะมีคำตอบเฉลยไว้ให้ผู้เรียนจะได้ทราบว่า   คำตอบของตนถูกหรือผิด

  ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป
       บทเรียนสำเร็จรูปอาจจะถูกนำมาสร้างในลักษณะต่าง  ๆ  กันตามความเหมาะสมกับจุดประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเครื่องช่วยสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูปจะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
         1. เนื้อหาวิชาจะถูกแบ่งออกเป็นตอนย่อย  ๆ   เรียกว่า  กรอบ   กรอบเหล่านี้จะเรียงลำดับจากง่ายไปหายากโดยมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ประโยคหนึ่งจนถึงเนื้อหาเป็นตอนๆ  เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปทีละน้อย  ๆ จากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่ความรู้ใหม่
        2. ภายในแต่ละกรอบจะต้องมีการให้นักเรียนตอบสนอง  เช่น  ตอบคำถาม  หรือเติมข้อความลงในช่องว่าง  ทำให้นักเรียนแต่ละคนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้จากการมีส่วนร่วม  ในกิจกรรมต่าง  ๆ  ของบทเรียน
        3. นักเรียนจะได้รับแรงเสริมกลับทันที  คือ  จะได้ทราบคำตอบที่ถูกต้องทันที  ซึ่งจะทราบว่าถูกหรือผิด  และสามารถแก้ไขความเข้าใจที่ผิดของตนได้ทันที
        4. การจัดเรียงลำดับหน่วยย่อย  ๆ ของบทเรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับจากง่ายไปหายาก  การนำเสนอเนื้อหาในแต่ละกรอบควรลำดับขั้นของเรื่องให้ชัดเจน  เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้เรียน  และตอบสนองเรื่องนั้นได้โดยตรง
        5. ผู้เรียนปฏิบัติหรือตอบคำถามในแต่ละกรอบไปตามวิธีที่กำหนดให้

        6. ผู้เรียนค่อย  ๆ  เรียนเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย  ๆ  ทีละขั้น
        7. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเองไม่จำกัดเวลาการใช้เวลาเรียนบทเรียนนั้น  ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียน
        8.บทเรียนสำเร็จรูปได้ตั้งจุดมุ่งหมายเฉพาะไว้แล้ว มีผลสามารถวัดได้ว่า  บทเรียนนั้น  ๆ  ได้บรรลุเป้าหมายหรือไม่
         9. บทเรียนสำเร็จรูปยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  คือ  ต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นเกณฑ์  ดังนั้น  จึงต้องเอาบทเรียนนั้นไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่สามารถใช้บทเรียนนั้นได้เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง  และแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้จริง

 บทเรียนโปรแกรมมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
         1.เนื้อหาสาระถูกแบ่งออกเป็นเนื้อหาย่อย  ๆ  ทำเป็นกรอบ  และแต่ละกรอบต้องเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
         2. ภายในแต่ละกรอบจะต้องให้นักเรียนได้มีการตอบสนอง  เช่น  ตอบคำถามเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเนื่องจากได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในกรอบ
        3.การจัดเรียงลำดับหน่วยย่อย  ๆ ของบทเรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับจากง่ายไปหายาก มีการทบทวนและให้ผู้เรียนทดสอบตนเองอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาไปตามลำดับขั้น 
       4.นักเรียนได้รับการเสริมแรงย้อนกลับในทันที  โดยได้รับทราบคำตอบที่ถูกต้องทันทีทำให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขความเข้าใจผิดได้ทันที
       5.  ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง โดยไม่จำกัดเวลา ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเรียนได้ความสามารถของแต่ละบุคคล
       6.  บทเรียนโปรแกรมเป็นบทเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นเกณฑ์    ดังนั้นก่อนนำมาใช้ต้องผ่านการทดลองใช้และแก้ไขปรับปรุงเรียนร้อยแล้ว

ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
          บทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษาพัฒนาโดยอาศัยหลักจิตวิทยานั้นมีหลายรูปแบบซึ่งสามารถแบ่งให้เป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
  บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (Linear )เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีของ  Skinner  โดยภายในกรอบประกอบด้วยเนื้อหาที่มีความยาว 2-3 บรรทัด  การจัดการเรียนลำดับจากง่ายไปหายาก  ผู้เรียนจะต้องเรียนตามลำดับตั้งแต่งกรอบแรกถึงกรอบสุดท้าย เมื่อผู้เรียนเนื้อหาในกรอบจบแล้วก็จะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบคำถามได้ทันที
 บทเรียนสำเร็จรูปชนิดสาขา  หรือแตกกิ่ง (Branching  Program )
บทเรียนสำเร็จรูป ชนิดสาขา เป็นบทเรียนที่ Crowder  พัฒนาโดยอาศัยหลักของ  Fressey  บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขานี้ภายในกรอบหนึ่ง  ๆ  จะมีความยาว  2- 3  ย่อหน้า  ในตอนท้ายจะมีตัวเลือกและแต่ละตัวจะมีคำสั่งให้เปิดเฉลยในหน้าต่าง  ๆ  หากผู้เรียนตบถูกก็จะได้เรียนในกรอบต่อไป  หากตอบผิดอาจจะมีคำสั่งให้กลับไปศึกษากรอบเดิม  หรือให้อ่าคำอธิบายเพิ่มเติมแล้วเลือกคำตอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งในบทเรียนโปรแกรมชนิดสาขานี้จะอธิบายว่าเพราะเหตุใดคำตอบนั้น  ๆ  จึงผิด ถือว่าคำตอบผิดเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้รับคำอธิบายเนื้อหาที่ถูกต้องมากขึ้น

ที่มา: http://202.129.32.196/sector/cai/NAMO999/CAITRIGONE.htm

 

2. E-learning

ความหมายโดยสรุป ของ E-learning ก็คือ
"การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้
-เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
-เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
-ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
-ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
-มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
-มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
-มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
-ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
         ดังนั้นจะเห็นได้ว่า E-learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ
E-learning ในประเทศไทย
การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
-การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
-การนำเสนอในลักษณะ E-learning

รูปแบบการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย
         ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร    นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก  รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด Web Based Instruction โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-learning System (Chula ELS) ออกมาให้บริการเช่นกัน

ปัญหาการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย
การพัฒนา WBI และ E-learning ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
-ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร
-ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี E-learning และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
-ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์ CMS/LMS และการลิขสิทธิ์
-ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้, การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน
-ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา, ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
-ปัญหาเกี่ยวกับ Infrastructure ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม
-ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการพัฒนาเว็บภาษาไทย ทั้งการเข้ารหัส, การใช้ฟอนต์ และรูปแบบ
ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำระบบ CMS/LMS

ลักษณะสำคัญของ E-learning
E-learning นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น E-learning จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ E-learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ E-learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ E-learning ได้ดังนี้  Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ จึงมีความยึดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ ที่ปรึกษา และแนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับของการเรียน รู้ความก้าวหน้าได้จาก E-Mail การประเมินผลควรแบ่งเป็น การประเมินย่อย โดยใช้เว็บไซต์เป็นที่สอบ และการประเมินผลรวม ที่ใช้การสอบแบบปกติในห้องเรียน เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้เรียนเรียนจริงและทำข้อสอบจริงได้หรือไม่ อย่างไร

ข้อดี - ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ
ข้อดี
-เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
-ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
-ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
-ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
-ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้า-มากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย
-ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
-ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
-ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
-ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

 ข้อคำนึงในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ
ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม

ประโยชน์ของการเรียนการสอนออนไลน์
-เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
-สนับสนุนการเรียนการสอน
-เกิดเครือข่ายความรู้
-เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
-ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น

ที่มา: http://e-learning.aidsthai.org/ewl.html

หมายเลขบันทึก: 283120เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ค่ะ จึงอยากขออนุญาตแนะนำให้สมาชิกที่ต้องการใช้งานเพื่อการส่งการบ้าน สมัครใช้งานเว็บไซต์ Learners.in.th แทนการใช้งานบล็อกที่ GotoKnow.org ค่ะ

เนื่องจาก Learners.in.th นั้นเป็นระบบที่มีการใช้งานเหมือน GotoKnow.org แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานเพื่อการเรียนการสอน

ทั้งนี้ดิฉันฝากเรียนอาจารย์ผู้สอนให้แจ้งให้นักศึกษาที่ต้องการส่งการบ้านทุกท่านให้ย้ายไปยังเว็บไซต์ http://Learners.in.th ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท