การเขียนสปอต (Spot) วิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์


สปอตวิทยุโทรทัศน์เป็นงานเขียนรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากใช้เวลาในการออกอากาศไม่นาน และสามารถเรียกร้องความสนใจผู้ชมได้เช่นเดียวกับสปอตโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ แต่แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ กล่าวคือ สปอตวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อจูงใจให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมหรือคล้อยตามไปด้วย เป็นการให้ข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวก เป็นการแก้ไขภาพลักษณ์เชิงลบ หรือเพื่อเป็นการรณรงค์เฉพาะกิจ (อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต, 2545, หน้า 131)

การเขียนสปอตวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ จะมีความยากตรงที่สั้น แต่ต้องให้ได้ใจความ โดยต้องระบุภาพให้สื่อความหมายได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้การลำดับตัดต่อภาพ รวมทั้งใช้เทคนิคพิเศษทางภาพต่าง ๆ เข้าช่วย ตลอดจนการใช้เสียงบรรยาย เสียงดนตรี เสียงประกอบ หรือแม้แต่ความเงียบต้องผสมผสานกลมกลืนไปด้วยกัน

ในการเขียนสปอตวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ผู้เขียนบทอาจอาศัยวิธีการเขียนได้หลายวิธี เช่น การใช้เหตุผล  การเร้าอารมณ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม การใช้บุคคลเป็นสื่อ โดยเฉพาะบุคคลสำคัญ และบุคคลที่มีชื่อเสียง  การใช้อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบ  การใช้เสี้ยวหนึ่งในชีวิตคนมาเป็นสิ่งที่เสนอเรื่อง  เสนอปัญหาและแก้ไขปัญหา  การใช้เรื่องและภาพในแนวแฟนตาซี (Fantasy) ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เกินขอบเขตความจริงหรือเหนือจริงไปบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องพยายามสร้างสรรค์ให้น่าสนใจ หรือสะดุดความสนใจของผู้ชมให้ได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่ธรรมดา ดังตัวอย่าง (ศรีพิไล ทองพรม, 2531, หน้า 279-322)

 

สปอตวิทยุโทรทัศน์เพื่อรณรงค์ในเรื่อง อุบัติเหตุ และความปลอดภัย

รายการ                  สัมผัสที่ 6                                              ออกอากาศ.........../................/................

เรื่อง                       แก้วแตก                                                เวลา.........................................................

ความยาว                1 นาที                                                    สถานี........................................................

ฉาก

ภาพ

เสียง

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

 

8.

 

9.

 

10.

11.

LS หญิงคนหนึ่งเดินมาหยิบแก้วน้ำที่ชั้นวางแก้ว

CU หญิงทำแก้วน้ำหลุดมือ

CU ที่พื้นเห็นแก้วตกกระทบพื้นแตกกระจาย

LS หญิงก้มตัวลงจะเอามือกวาดเศษแก้ว

CU ใบหน้าหญิงหันมามองกล้อง แล้วเบลอ

CU หญิงเอามือกวาดเศษแก้ว แล้วสะดุ้ง

LS ใบหน้าของหญิง ยกมือขึ้นดู แสดงสีหน้าเจ็บปวด

LS ภาพข้ามไหล่ เห็นบาดแผลและเลือดที่มืออีกมือหนึ่งจับไว้แน่นด้วยความเจ็บ

CU ใบหน้าหญิงจากเบลอเป็นชัด พยักหน้าแล้ว Zoom out หญิงลุกขึ้นเดินหลุดเฟรม

LS หญิงหยิบไม้กวาด

LS เดินกลับเข้ามาเฟรมถือไม้กวาดมากวาดเศษแล้ว

 

 

 

 

ระวัง...อย่ามองข้ามความปลอดภัยมิฉะนั้นอาจเป็นเช่นนี้

 

 

อย่าใช้มือเปล่าเก็บกวาดเศษแก้ว

เพราะจะเป็นอันตรายได้

ควรใช้ไม้กวาด เก็บกวาดให้สะอาดแทน

 

 

อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท โปรดอย่ามองข้ามความปลอดภัย

สรุป

 

กระบวนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นซักซ้อมก่อนออกอากาศ ขั้นออกอากาศ และขั้นประเมินผล

บทวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึง บทรายการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน องค์ประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนเนื้อหา และส่วนปิดท้าย

การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์มีลำดับขั้นตอน คือ พิจารณาวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง กำหนดแนวคิดรายการ กำหนดรูปแบบรายการ กำหนดเนื้อหาของรายการ การค้นคว้า กำหนดโครงเรื่องและเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อเขียนบท และตรวจทานบท

การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงต้องใช้ภาษาสามัญที่ง่าย ชัดเจน ไม่ยอกย้อนวกวน ไม่มีคำยากหรือยุ่งจนเกินไป ไม่มีตัวเลขมาก ๆ ชวนให้สับสน ไม่มีคำแสลง ต้องเป็นภาษาที่สุภาพ ประโยคสั้นกะทัดรัดได้ความสมบูรณ์ หลีกเลี่ยงคำสันธานทั้งหลายที่ทำให้ประโยคยืดเยื้อ วกวนไม่รู้จบ ฟังแล้วไม่เข้าใจและน่าเบื่อหน่าย

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียงที่เป็นที่นิยม คือ การเขียนสปอตเนื่องจากใช้เวลาในการนำเสนอไม่นาน แต่ได้เนื้อหาใจความตามที่ผู้ส่งสารต้องการ รวมทั้งยังสามารถดึงดูดใจผู้รับสารเป้าหมายได้ดี

เสียงประกอบ มีหน้าที่หลายประการ คือ บอกเวลา บอกทั้งสถานที่และช่วงเวลา เสียงบอกการกระทำหรือบอกผลของการกระทำ เสียงประกอบช่วยสร้างบรรยากาศ เสียงประกอบเสดงสัญลักษณ์ถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด และเสียงประกอบสร้างมิติแปลก ๆ  การใช้เสียงประกอบควรมีข้อที่ควรระมัดระวัง คือ อย่าใช้นานเกินไป นึกถึงหลักของความเป็นจริง และเสียงบางเสียงไม่ได้บอกผู้ฟังอย่างชัดเจนว่าคืออะไรซึ่งอาจก่อให้เกิดความสงสัยจากผู้ฟัง    

กระบวนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อนการถ่ายทำ ขั้นถ่ายทำ ขั้นหลังการถ่ายทำ และขั้นการประเมินผล

การรู้จักศัพท์เทคนิคที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ จะช่วยในการเขียนบทสั่งช่างกล้องเพื่อการถ่ายทำ การเคลื่อนกล้อง และการตัดต่อภาพต่าง ๆ ได้  ซึ่งนักประชาสัมพันธ์จำเป็นจะต้องรู้ในบางคำที่นำมาใช้บ่อย

ในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ ผู้เขียนบทควรจะทราบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้ง่ายต่อการเขียนและสะดวกต่อการทำงานของฝ่ายผลิตรายการ ข้อกำหนดนั้นแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การวางรูปแบบบทวิทยุโทรทัศน์ ข้อมูลเขียนก่อนบทวิทยุโทรทัศน์ รูปแบบของบทวิทยุโทรทัศน์ ขั้นตอนในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ และแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้า

เช่นเดียวกับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียง การเขียนสปอตวิทยุโทรทัศน์เป็นการทำประชาสัมพันธ์ที่เป็นที่นิยม เพราะสามารถดึงดูดใจผู้รับสารเป้าหมายได้ดี

คำสำคัญ (Tags): #สปอต
หมายเลขบันทึก: 283044เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใครมีโมดูลปฏิทินกิจกรรม Joomla1.0

ขอใด้ไหมครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท