ฟ้าทะลายโจร


สมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด ไข้ เจ็บคอ และเสริมภูมิต้านทาน

ฟ้าทะลายโจร


ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)     Andrographis paniculata (Burm. F) Wall. ex Nees


ชื่อวงศ์  (Family)                            :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น  (Other)                               ฟ้าทะลาย , น้ำลายพังพอน, หญ้ากันงู, สามสิบดี, คีปังฮี, ซีปังกี,  ชวนซินเหลียน,  
 ชวงซิมไน้ ,  ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน, สามสิบดี, ฉีกะฉาว,

ชื่อสามัญ (Common name)            : Creat, Green chireta, Kalmegh, King of bitters, Kirayat,
ส่วนที่ใช้                                         : ส่วนเหนือดิน หรือ ใบ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์                 : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน

สารสำคัญ
ส่วนเหนือดินฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญจำพวกไดเทอร์พีนแล็กโทน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดร-กราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดร-กราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxy-didehydro andrographolide) วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดีควรมีปริมาณแล็กโทนรวมคำนวณเป็นแอนโดรกราโฟไลด์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖ ไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นานๆ เพราะปริมาณสารสำคัญจะลดประมาณร้อยละ ๒๕ เมื่อเก็บไว้ ๑ ปี

ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
๑. ฤทธิ์ลดการบีบหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร
๒. ฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย โดยทำให้การสูญเสียน้ำทางลำไส้จากสารพิษของแบคทีเรียลดลง
๓. ฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ
๔. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
๕. ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้ พาราเซตามอลหรือเหล้า
๖. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
๗. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

 

ประสิทธิผลในการรักษาโรคจากรายงานการวิจัยทางคลินิก

. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis)
ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด ๖ กรัม/วัน หรือพาราเซตามอล ๓ กรัม/วัน หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด ๓ กรัม/วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ ๓ หลังรักษา แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ ๗

๒. การรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรีย (Bacilliary dysentery)
ผู้ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจรทั้งขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัมทุก ๖ ชั่วโมง และขนาด ๑ กรัม ทุกๆ ๑/๒ ชั่วโมง เทียบกับ ยาเตตราไซคลีน พบว่าสามารถลดจำนวน อุจจาระร่วง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรียได้อย่างน่าพอใจ ลดการสูญเสียน้ำได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาเตตราไซคลีน

๓. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold)
ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดรกราโฟไลด์ และดีออกซีแอนโดรกราโฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า ๕ มิลลิกรัม/เม็ด ครั้งละ ๔ เม็ด วันละ ๓ เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด พบว่า วันที่ ๒ หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและในวันที่ ๔ หลังได้รับยา ความรุนแรงของทุกอาการได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

นาดที่ใช้และวิธีที่ใช้
กินครั้งละ ๑,๕๐๐-๓,๐๐๐ มิลลิกรัม ของผงยาวันละ ๔ ครั้ง หลังอาหาร ๓ เวลา และก่อนนอน (จำนวนเม็ดหรือแคปซูลที่กินแต่ละครั้งให้ปรับตามขนาดของผงยาที่บรรจุในแต่ละเม็ด)

้อห้ามใช้
้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่างๆ ต่อไปนี้

๑. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
๒. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
๓. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูมาติก
๔. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียและมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น

้อควรระวัง
๑. ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
๒. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชา หรืออ่อนแรง
๓. หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน ๓ วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์
๔. สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร

คำสำคัญ (Tags): #andrographis paniculata#creat#kirayat
หมายเลขบันทึก: 283013เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท