การแก้ปัญหาความยากจน


ความยากจน ปัญหาสังคม อิสลาม

ความยากจนกับปัญหาทางสังคม

ความยากจนกับปัญหาทางสังคม

ความยากจนกับปัญหาทางสังคม

 

ทางสังคมอิสลามถือว่าความยากจนเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ในอิสลาม จากการสังเกตุจากคำสอนของอิสลามจะเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย หรือตัวบทกฎหมายจะให้ความหมายในเชิงไม่สนับสนุน ให้มนุษย์อยู่ในฐานะที่อดอยาก ขาดแคลนเเละลำบาก ต้องเป็นภาระให้กับผู้อื่น เเละขณะเดียวกันอิสลามได้ส่งเสริม กำชับเเละได้วางมาตรการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือคนยากจน เเละเเก้ปัญหาโดยอยู่บนพื้นฐานของความเห็นใจ และเป็นภาระของศาสนาที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการแก้ใขปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจสรุปคำกล่าวของอิสลามในเรื่องเกี่ยวกับความยากจนได้ดังต่อไปนี้

1.อิสลามห้ามเป็นผู้ขอแต่ส่งเสริมให้เป็นผู้ให้

ท่านรอซูลได้กล่าวมีความว่า ผู้แบมือขอมนุษย์เพื่อให้มีทรัพย์เงินมาก แท้จริงเสมือนเขาแบบมือขอถ่านไฟนรก ดังนั้นให้เขาจงลดให้น้อยลงหรือจงขอให้มากยิ่งขึ้น (เป็นคำขู่ของท่านนบี)

รายงานโดยมุสลิม

ท่านอิบนุอุมัรเล่าว่าท่านรอซูล (ซ.ล.)ได้กล่าวว่าขณะที่ท่านอยู่บนมิมบัรถึงเรื่องการทำทานและการไม่แบมือขอมีความว่า มือบนดีกว่ามือล่าง มือบนคือมือบริจาค มือล่างคือมือที่ขอ

รายงานโดยบุคคอรีเเละมุสลิม

2.ความยากจนที่เป็นภาระของผู้อื่นเป็นความอัปยศอย่างหนึ่งที่คนมีฐานะดังกล่าวต้องพยายามพึ่งอัลลอฮฺโยการขอพรและดิ้นรนทำงานเพื่อให้หลุดพ้นจากฐานะดังกล่าว

        ท่านรอซูล(ซ.ล.)กล่าวมีความว่า ผู้ใดที่ความยากจนเกิดขึ้นกับเขาและเขาได้ขอให้มนุษย์ปลดเปลื้องมัน ความยากจนของเขาจะไม่ถูกขจัดออกไปได้เลย เเละผู้ใดที่ขอจากอัลลอฮฺให้ปลดเปลื้องมันอัลลอฮฺจะรีบประทานปํจจัยแก่เขาทันที หรืออาจจะประวิงไว้ก่อน(ตามความจริงใจและการดิ้นรนของบ่าว) รายงานโดยอาบูดาวุดและอัตติรมีซีย์

ท่านอิบนุอุมัร รายงานว่าท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าว่ามีความว่า การขอจะยังคงคงอยู่กับใครบางคนในหมู่พวกท่าน จนกว่าเขาจะไปพบกับอัลลอฮฺโดยที่ใบหน้าของเขาไม่มีเนื้อเลยสักก้อนรายงานโดยบุคคอรี

3. ความอดอยากและยากจนเป็นบทลงโทษของอัลลอฮฺอย่างหนึ่งเพื่อให้ระลึกถึงพระองค์

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ตรัสไว้ในกรุอานมีความว่า และแน่นอนเราได้ลงโทษวงศ์วานของฟิรเอาน์ด้วยความแห้งแล้งและด้วยความขาดแคลนผลไม้ต่างๆเพื่อพวกเขาจะได้รำลึก อัล-อะฮฺรอฟ 130

ในซูเราะฮฺอัล-นะฮฺลีย์ โองการที่ 12 อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ตรัสมีความว่า และอัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์ เมืองหนึ่ง ซึ่งปลอดภัยและสงบ ปัจจัยยังชีพมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ทุกแห่งหน แล้วเกิดการปฏิเสธต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั้น อัลลอฮฺ จึงทรงให้พวกเขาเหล่านั้นลิ้มรสความรู้สึกแห่งความหิวและความกลัว ตามที่พวกเขาเคยกระทำไว้

4. มุสลิมพึงต้องขอพรต่ออัลลอฮฺ เพื่อมิให้ตกอยู่ในฐานะความยากจน ความขัดสน ความอดอยาก เพราะลักษณะดังกล่าวอาจจะเป็นเหตุทำให้คนคนหนึ่งเป็นปฏิเสธชนได้

                ท่านเราะสูล (ศ.ล.) ได้สอนการขอพรแก่บรรดาผู้ศรัทธาบทหนึ่งที่มีความว่า โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้ ห่างไกลจากความอ่อนแอ ความเกียจคร้าน ความขลาด และความตระหนี่ และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความยากจนและการปฏิเสธ

 

                ในรายงานหนึ่งท่านเราะสูลได้กล่าว

                มีความว่า โอกาสของความยากจนจวนใกล้กับการเป็นปฏิเสธชน

 

                5.  การทำงานและการหาเลี้ยงชีพเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีความสามารถ และเป็นเกียรติอย่างหนึ่งที่พึงรักษาไว้

ท่านเราะสูลกล่าว

มีความว่า การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะเอาเชือกไปแล้วนำฟืน กลับมาบนหลังเพื่อขาย ทั้งเพื่ออัลลอฮฺจะได้รักษาเกียรติของเขาไว้นั้น ยังเป็นการดีกว่าที่เจาจะขอจากผู้อื่น (โดยไม่คำนึงว่า) คนเหล่านั้นจะให้หรือปฏิเสธ รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม

 

                6.  การเกื้อกูลช่วยเหลือคนยากคนจนในสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีความสามารถ หาไม่แล้วจะถือว่าเป็นผู้ละเมิด และจะต้องรับผิดชอบ

                อัลลอฮฺตรัส

 

                มีความว่า และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง

 

                ในซูเราะฮฺอัลมาอูน อัลลอฮฺได้ตรัสถึงคุณลักษณะของผู้ปฏิเสธต่อวันปรโลก

 

                มีความว่า เจ้าเห็นแล้วมิใช่หรือผู้ที่ปฏิเสธการตอบแทน (ในวันปรโลก) นั้นคือผู้ที่ขับไล่เด็กกำพร้า และไม่สนับสนุนในการให้อาหารแก่ผู้ขัดสน

 

 

 

มาตรการการแก้ปัญหาความยากจนในอิสลาม

 

                อิสลามได้วางมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นแนวทางแก้ปัญหาความยากจน และเพื่อให้ความช่วยเหลือกับคนจนทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยอิสลามได้กำหนดมาตรการต่อไปนี้

                1.  อนุมัติและเปิดโอกาสให้กับมุสลิมสามารถทำงานได้ทุกอย่างเว้นแต่กรณีที่เกี่ยวพันธ์กับสิทธิของผู้อื่นหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีอันตรายหรือเป็นสิ่งต้องห้าม เช่น ยาเสพติด สุรา ดอกเบี้ย เป็นต้น

                2.  กำหนดเป็นหน้าที่เฉพาะตัว (فرض عين) ที่คนมีความสามารถต้องเลี้ยงดูและดูแลคนที่อยู่ใต้ปกครอง เช่น บิดาและมารดาหารายได้มาเลี้ยงดูภรรยาและบุตร

                3.  ส่งเสริมให้บริจาคทานและช่วยเหลือคนขัดสน คนยากจนหรือคนที่มีความจำเป็นต้องการความช่วยเหลือ เช่น เด็กกำพร้า แม่หม้าย เป็นต้น โดยสัญญาที่เป็นผลบุญ และการเพิ่มพูนรายได้

                ท่านเราะสูลกล่าว

มีความว่า และอัลลอฮฺพร้อมจะช่วยเหลือบ่าว ตราบใดที่บ่าวยังช่วยเหลือพี่น้องของเขา รายงานโดยอบูดาวูด

                และท่านได้กล่าวอีก

                มีความว่า ผู้ใดเป็นธุระให้แก่พี่น้องของเขา อัลลอฮฺจะเป็นธุระให้แก่เขาเช่นกัน รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม

                อัลลอฮฺตรัส

                มีความว่า และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคทาน พระองค์อัลลอฮฺจะกำหนดแทนมันให้ สะบะ โองการที่ 39

                4.  กำหนดระบบซะกาต เพื่อช่วยเหลือคนจน คนขัดสน และผู้ที่มีความจำเป็นต้องการช่วยเหลือ อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอาน

                มีความว่า ซะกาตนั้น สำหรับคนยากไร้ คนขัดสน เจ้าหน้าที่เก็บซะกาต ผู้ที่เข้ารับการศรัทธาใหม่ ๆ ในกิจการการไถ่ตัวทาส ผู้ที่มีหนี้สิน ในวิถีทางของอัลลอฮฺ และคนเดินทาง เป็นข้อกำหนดจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งและทรงปรีชาญาณยิ่ง  อัตเตาบะฮฺ โองการที่ 60

                สำหรับทรัพย์และสิ่งที่ต้องจ่ายซะกาตนั้น มีประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.             ทองคำ และเงิน เมื่อครอบครองทองคำไว้มีน้ำหนักประมาณเก้าสิบหกกรัม หรือเงินน้ำหนักประมาณหกร้อยเจ็ดสิบสองกรัม เป็นเวลาหนึ่งปี (จันทรคติ)

2.             ปศุสัตว์ ได้แก่อูฐ วัว แพะ และแกะ เป็นต้น เมื่อครบถ้วนกำหนดหนึ่งปี และมีจำนวนตามที่กำหนดโดยกฎหมายอิสลาม

3.             ธัญพืชและผลไม้ ได้แก่ธัชพืชและผลไม้ที่มนุษย์ใช้รับประทานเป็นอาหารหลักในยามปกติ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เสีย และครบจำนวนตามที่กฎหมายอิสลามกำหนด

4.             ทรัพย์สินที่ใช้ในการค้า ได้แก่สินค้าที่มีการเปลี่ยนมือเพื่อผลกำไร ไม่ว่าจะเป้นสินค้าประเภทใด ดั้งนั้นสินค้าประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในจำพวกที่ต้องจ่ายซะกาต (เช่นทองคำ เงิน ธัชพืช ผลไม้และปศุสัตว์ เป็นต้น) จำต้องจ่ายซะกาตเมื่อครบเงื่อนไข และถึงพิกัดที่กำหนดโดยกฎหมายอิสลาม

5.             สินแร่และทรัพย์ที่ถูกฝังไว้ ได้แก่ทองคำและเงินที่ถูกนำออกมาจากใต้พื้นดิน เมื่อครบเงื่อนไขและจำนวนที่กำหนดโดยกฎหมายอิสลาม

6.             ซากาตส่วนบุคคลที่ทุกคนที่เป็นมุสลิมต้องจ่ายในเดือนรอมฎอน

7.             กำหนดระบบวากัฟ การบริจาค เพื่อเป็นกองทุนสำหรับมุสลิม

8.             กำหนดค่าปรับที่มาจากการผิดกฎศาสนาในกรณีที่ศาสนาได้ระบุว่าต้องจ่ายค่าปรับให้กับคนยากจนหรือบุคคลที่กำหนดโดยกฎหมายอิสลาม หากมีการละเมิด

9.              กำหนดเป็นวาระแห่งศาสนา หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือเกิดภาวะแห้งแล้ง หรือมีความจำเป็น รัฐสามารถเรียกเก็บหรือบังคับหรือยึดทรัพย์จากผู้มีความสามารถเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่อยู่ในความเดือดร้อน

 

หมายเลขบันทึก: 282864เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท