การนำวิธีการ AAR มาปรับใช้กับการประชุมทีมงานของฝ่าย


AAR หรือ After Action Review หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า "เรียนรู้ระหว่างทำงาน" เป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการทำงาน เป็นการทบทวนวิธีการทำงาน สามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการประชุมของทีมงานต่างๆ ภายในฝ่าย

        วันก่อน ผมได้เข้าไปอ่านบทความของสคส. พบบทความหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการ ลปรร โดยใช้วิธีการ AAR (After Action Review) และสามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการประชุมของทีมงานต่างๆ ภายในฝ่าย เราลองมาดูวิธี AAR กันหน่อยครับ

        AAR หรือ After Action Review หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า "เรียนรู้ระหว่างทำงาน" เป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการทำงาน เป็นการทบทวนวิธีการทำงาน ทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้่น ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อค้นหาคนที่ทำงานผิดพลาด ไม่ใช่การกล่าวโทษใครทั้งสิ้น แต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว

ทำไม AAR จีึงได้รับความสนใจมากมายนัก ลองมาดูกันว่าจุดเด่นของ AAR มีอะไรบ้าง

  1. ทำให้เรียนรู้ว่าในการทำงานต่างๆ ไม่ควรชื่นชมความสำเร็จแต่เพียงด้านเดียว ต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย และควรให้ความสนใจมากกว่าความสำเร็จด้วยซ้ำ เพราะ ปัญหาคือโอกาสในการพัฒนาคนเพื่อพัฒนางานนั่นเอง
  2. ฝึกการรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำของเพื่อนร่วมงาน ที่อาจทำให้คุณได้รู้ว่า "ทุกปัญหามีทางออก" นั้นเป็นอย่างไร
  3. ฝึกการทำงานเป็นทีม
  4. สามารถใช้เทคนิคนี้กับงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานประจำที่ดูเหมือนว่าไม่สำคัญ เช่น การรับโทรศัพท์ การจัดประชุม ไปจนถึงโครงการระยะยาวที่ได้รับเงินสนับสนุนหลายพันล้านบาท
  5. ผู้ที่เข้าร่วมคือเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมแผนก หรือทีมงาน ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจาก Peer Assist ที่เป็นการขอคำแนะนำจากผู้รู้ภายนอกกลุ่ม

     วิธีการในการทำ AAR ก็ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแต่คุณตอบคำถาม 4 ข้อนี้ และทำให้ครบ 7 ขั้นตอนเท่านั้นเอง

4 คำถามกับ AAR คือ

  1. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร

  2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

  3. ทำไมจึงแตกต่าง

  4. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร

7 ขั้นตอนกับ AAR คือ

  1. ควรทำ AAR ทันทีหรือเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้นๆ

  2. ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง

  3. มี "คุณอำนวย" คอยอำนวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน

  4. ถามตัวคุณเองว่าผลที่คาดว่าควรได้รับคืออะไร

  5. หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

  6. ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงแตกต่าง

  7. จดบันทึก เพื่อเตือนความจำว่า วิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว

     อย่างไรก็ตามคุณต้องเข้าใจว่า คำตอบหรือวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการทำ AAR คงไม่ใช่คำตอบสุดท้่ายสำหรับงานของคุณ เพราะ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริบทเปลี่ยนไป ย่อมทำให้เกิดปัญหาใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ที่มา : http://www.kmi.or.th/

หมายเลขบันทึก: 282779เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท