สงขลาศึกษา : พงศาวดารสงขลา ๒


ในสมัยของ เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) มีปีเถาะอยู่เพียงปีเดียวคือ ปีเถาะ สัปตศก ศักราช ๑๒๑๗

         พงษาวดารเมืองสงขลา
ของเจ้าพระยาวิเชียรคิรี (บุญสังข์)
แต่งเมื่อปีเถาะ   จุลศักราช  ๑๒๐๗

               วันอาทิตย์เดือนอ้ายแรมสิบสามค่ำ  จุลศักราชได้ ๑๒๐๗ ปีเถาะนักษัตรสัปตศก  เพลา ๓ โมงเช้า  พระยาวิเชียรคิรี ศรีสมุทวิสุทธิศักดา มหาพิไชยสงครามรามภักดี พิริยพาหะ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาที่ ๔  นั่ง ณ จวน พร้อมด้วยกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยปรารภถึงวงษ์สกูลว่า   ได้ครองเมืองสงขลามาแต่ครั้งไหน สักกี่ชั่วมาแล้ว หามีผู้ใดจะเล่าได้ไม่  กรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยที่สูงอายุ เมื่อครั้ง พณ หัวเจ้าท่านเจ้าพระยาอินคิรีศรีสงคราม ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาก็ล่วงไปสิ้น เจ้าคุณผู้สำเร็จราชการให้สืบหาผู้มีชื่อที่ได้ทำราชการครั้ง ฯ พณฯ เจ้าพระยาสงขลาจะมีอยู่แห่งใดบ้าง จะได้สืบเรื่องราวราชการบ้านเมืองแต่ก่อน บุตรหลานจะทำราชการไปเมื่อน่าจะได้ว่าวงษ์สกูลรับราชการว่ารั้งเมืองสงขลาแต่ครั้งนั้นได้ความว่าขุนพรหมเสนา ตั้งเรือนอยู่บ้านมะม่วงหวาน  เปน กรมการครั้งเจ้าพระยาสงขลาที่ ๑ มีอยู่คนหนึ่งอายุได้    ๘๕  ปี ได้เอาตัวขุนพรหมเสนามาสืบ ขุนพรหมเสนาเล่าว่า บิดาขุนพรหมเสนาเป็นหลวงยกบัตร ตั้งเรือนอยู่บ้านหัวเขาคุมไพร่ส่วยดีบุก เมื่ออายุขุนพรหมเสนาได้ ๑๑ ปี ๑๒ ปี ขุนพรหมเสนาได้ยินหลวงยกรบัตรบิดาขุนพรหมเสนาเล่าว่า...


ในสมัยของ เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) มีปีเถาะอยู่เพียงปีเดียวคือ ปีเถาะ สัปตศก ศักราช ๑๒๑๗ (พ.ศ.๒๓๙๘) ดังนั้นที่เขียนว่า จุลศักราชได้ ๑๒๐๗ ปีเถาะนักษัตรสัปตศก” จึงน่าจะคลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องน่าจะเป็น จุลศักราชได้ ๑๒๑๗ ปีเถาะนักษัตรสัปตศก

หมายเหตุ

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง)
เป็นเจ้าเมืองสงขลา ระหว่างปี พ.ศ. 2390-2408
http://th.wikipedia.org/wiki/ณ_สงขลา

หมายเลขบันทึก: 282651เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท