I recommend rejection of this paper


วารสารของประเทศไทยบางแห่ง กำหนดกรอบไว้เลยว่า การศึกษาวิจัยจะต้องมี statistical replication ทำให้งานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวมหลายๆ ชิ้นไม่สามารถแม้กระทั้งส่งไป review

Date: 03 May 2006

Decreasing fallow periods in shifting cultivation may result in a depletion of soil fertility. The authors aim at determining the effect of reduced fallow periods on soil fertility of various land-use systems in north Thailand. Furthermore, they address the effect of regular burning on selected soils.

Quantitative information on the effect of current land-use changes in tropical countries are without doubt urgently needed. However, this manuscript fails to significantly contribute to this issue, because of an inadequate experimental design. <p>If the effect of decreasing fallow periods is to be analyzed, all other factors influencing soil fertility have to be controlled, i.e., geological parent material, morphology, soils, land-use history, current land-use etc. have to be comparable among the various treatments. This can be achieved by analyzing real chronosequences or by using space-for-time substitution and garanteeing that only the current land-use is different but not environmental conditions and land-use history. None of these approaches has been realized in the present study.</p><p>Instead, a number of soils under variable land use has been characterized resulting in a pure description of some Thai soils under different land use. Even the potentially interesting assessment of the effect of burning on soil fertility lacks statistical replication. Consequently, only qualitative comparisons are possible adding. I therefore recommend rejection of this paper.</p><p>ข้อความข้างบน เป็นบันทึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ส่งให้บรรณาธิการวารสาร เพื่อปฏิเสธงานเขียนของผมครับ</p>สำหรับความรู้สึกและข้อคิดเห็นของผมที่มีต่อผู้ทรงคุณวุติที่ท่านนั้นเป็นอย่างไร ได้แสดงในข้อความด้านล่างนี้ครับ <p>ผมขอบคุณที่สละเวลาอันมีค่า มาอ่านชิ้นงานเขียนที่ไม่ค่อยดีของผมครับ</p><p>คำวิจารณ์ของท่านที่มีต่อเนื้องานวิจัยของผม  ผมไม่เห็นด้วยทั้งหมด และมีบางส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างมาก</p><p>ผมรู้สึกว่าท่านไม่ต้องการคำชี้แจงเหตุผลว่าทำไมกระบวนการและวิธีการวิจัยถึงไม่เป็นไปตามวิธีการออกแบบแปลงทดลองในอุดมคติ ตามแบบของท่าน</p><p>ผมไม่รุ้จักท่าน ผมคิดว่าท่านได้ทำวิจัยมาหลายประเทศและมีประสบการณ์สูง แต่ผมขอแย้งว่า</p><p>บางครั้งวิธีการวิจัยแบบ field experiment ในบางพื้นที่นั้น   ไม่สามารถหาตัวซ้ำได้ตามต้องการ</p><p>ในสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ในประเทศไทย  โดยเฉพาะพื้นที่การศึกษาของผม  ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาย่อย สี่แห่ง การใช้ที่ดินทุกประเภทไม่สามารถหาให้ได้ครบภายในพื้นที่ย่อยทั้งสี่แห่ง เพราะมีความหลากหลายมาก เกษตรกรไม่มีการวางแผนการใช้ที่ดินไว้ล่วงหน้า มักจะคิดปีต่อปีว่าจะเพาะปลูกอะไร</p><p>นอกจากนี้ผมแสดงประวัติการใช้ที่ดินย้อนหลังสิบปีให้ท่านทราบ  กลับเป็นว่านั่นคือข้อมูลที่ทำให้ท่านคิดว่างานของผมมีการออกแบบการทดลองที่ไม่ดีและที่ผิดพลาด</p><p>การจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่แนะนำได้ทั้งหมดนั้น ผมว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปแทบไม่ได้เลย  สำหรับการทำการวิจัยในสภาพพื้นที่จริง   ถ้าจะทำแบบที่ท่านแนะนำซึ่งเป็น quantitative field experiment ผมคงต้องซื้อที่ดินแปลงใหญ่ ที่ประวัติการเพาะปลูกเป็นแบบเดียวกัน  แล้วทำการกำหนดการใช้ที่ดินเอง  ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลเลย สำหรับการตอบปัญหาที่อยากรู้ในสภาพที่แท้จริงของพื้นที่    และการทำแบบนั้นจะต้องใช้งบประมาณในการทำวิจัยสูง </p><p>ผมเห็นว่า  การกำหนดวิธีการวิจัยแบบนั้น เราก็ไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาได้เลย  เพราะนักวิจัยจะสนใจแต่งานที่สามารถนำไปตีพิมพ์ได้เท่านั้น ซึ่งส่วนมากก็เป็นการศึกษาในแปลงทดลองที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ  จนแทบพูดได้ว่า สภาพแบบนั้นยากที่จะเกิดขึ้นได้จริงในโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลายใบนี้</p><p>วารสารบางแห่ง ได้กำหนดขอบเขตของวิธีการวิจัยและการออกแบบวิจัยไว้แล้ว ซึ่งงานวิจัยหลายเรื่องไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารแห่งนั้น</p><p>วารสารของประเทศไทยบางแห่งเช่นกัน  ได้กำหรดกรอบไว้เลยว่า การศึกษาวิจัยจะต้องมี statistical replication ทำให้งานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวมหลายๆ ชิ้นไม่สามารถแม้กระทั้งส่งไป review ได้</p><p>—————————————————————————————————–</p><p>สำหรับงานของผมชิ้นนี้ ผมยอมรับว่าไม่เหมาะสมที่จะวารสารแห่งนี้ครับ เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้ผมจะอยู่บนฐานการข้อมูลตัวอย่างในลักษณะ survey research</p><p>นอกจากนี้ผมเองก็เขียนอภิปรายผลการทดลองในเชิงปริมาณ (quantitative information) ไม่มากนัก ซึ่งผมทราบว่าข้อมูลเชิงปริมาณเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเข้าใจถึงปัญหาอย่างลึกซึ้ง ในเนื้องานของผมจะแสดงข้อมูลเชิงปริมาณในลักษณะของ trend ซึ่งไม่ได้แสดงเป็นค่าเฉลี่ยเพราะข้อมูลแต่ละ treatment มีความแปรปรวนสูงมาก</p><p>การแปลผลการวิจัยของผม เป็นการดูจากแนวโน้มของข้อมูลของทุกตัวอย่าง ทุก treatments พร้อมกัน</p><p>แม้ไม่ได้ใช้ค่าเฉลี่ยหรือเปรียบเทียบความแปรปรวม หรือค่าเฉลี่ยของแต่ละ treatment หรือ ANOVA ก็ตาม แต่การแปลผลการศึกษา โดยใช้แนวโน้มที่เกิดขึ้นจากข้อมูลทั้งหมด (trend) มีความยากกว่ามาก เราต้องมองภาพรวมให้ออก ซึ่งมีความซับซ้อนของปัจจัยต่างๆ ที่ไม่ได้ควบคุม ที่ไม่ได้ block ส่งอิทธิพลต่อผลการวิจัย</p><p>ทำให้ผู้ทำวิจัยต้อง เข้าใจองค์ประกอบทั้งหมดของระบบ เป็นอย่างดี ถึงจะตอบปัญหาได้</p><p>การแปลและอธิบายของการทดลองจากค่าสถิติด้วยเทคนิคต่างๆ บางครั้งผมว่าไม่เหมาะสมกับการทดลองบางอย่างที่มีข้อจำกัดหลายๆ ด้าน</p><p>การกำหนดจำนวนซ้ำให้มากขึ้นในแต่ละ treatment มีค่าใช้สูง  และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับการวิจัยในสภาพพื้นที่ความเป็นจริง ซึ่งเราไม่สามารถหาแปลงศึกษาที่สมบุรณ์แบบได้  อีกสิ่งคืองบประมาณและข้อจำกัดด้านเวลา </p><p>การกำหนดวิธีการวิจัยให้อิงกับกระบวนการด้านสถิติมากเกินไป ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมในชนบท ไม่ค่อยมีนักวิจัยไปทำในสภาพจริงมากนัก   นักวิจัยส่วนใหญ่มักจะวิจัยกับในแปลงทดลอง แปลงในสถานีวิจัยฯ</p><p>ส่วนการวิจัยในแปลงของเกษตกรในสภาพจริง ที่ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมลำบาก มักจะหลีกเลี่ยงเนื่องจาก ผลการศึกษาเชิงปริมาณที่ได้มักจะออกมาไม่สวยงาม ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ซึ่งทำให้แปลตีความผลการศึกษาลำบากมากถ้าใช้วิธีการสถิติ</p><p>ผมไม่ได้ต่อต้านการวิจัยที่มีการควบคุมปัจจัย ผมยังเห็นว่า นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและเหมาะสมกับการศึกษาบางประเภทครับ</p><p>————————————————————————————-</p><p>นั้นเป็นความรุ้สึกส่วนตัวของผมครับ ที่มีต่อวิธีการทางสถิต ที่มักนำมาเป็นสิ่งกำหนดคุณภาพของงานวิจัย</p><p>บ้านร่มเกล้า ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง  </p><p>พื้นที่วิจัย: บ้านร่มเกล้า  ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง</p>

หมายเลขบันทึก: 28174เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สิ่งที่ผมพบจากการศึกษาการใช้ที่ดินการเกษตร ในพื้นที่นั้น (บ้านร่มเกล้า) ก็คือ  เขามีการวางแผนการใช้ที่ดินของเขาเองในลักษณะของแผนระยะสั้น  แบบสั้นมากคือน้อยกว่าหนึ่งปี

ระบบการเกษตรที่นั้นเป็นแบบอาศัยน้ำฝนทั่วทั้งพื้นที่ เนื่องจากไม่สามารถสร้างแหล่งเก็บน้ำสำหรับการเกษตรได้

เกษตรกรเหล่านั้นจะตัดสินใจปลูกพืชชนิดใดในการเพาะปลูกครั้งหน้านั้น ก็เมื่อตอนหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว (ช่วงเดือนพฤศิจกายน) บางครั้งก็เปลี่ยนใจกระทันหันตอนก่อนฤดูเพาะไม่กี่เดือน ประมาณเดือนมีนาคม

ลักษณะการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกปีแบบนี้  ทำให้ยากต่อเลือกแปลงตัวอย่างในขั้นตอนของการออกแบบการทดลอง

สิ่งที่เป็นตัวกำหนดลักษณะด้านการใช้ที่ดินคือ จำนวนแรงงานที่หาได้กับสภาพเศษฐกิจของครัวเรือน  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิธิพลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือกวิธีการจัดการพื้นที่ด้านเกษตรกรรม ภายในพื้นที่ศึกษา

  • แนะนำว่าอาจารย์ลองส่งไปในวารสารฉบับอื่นสิครับ
  • มีวารสารหลายฉบับที่ สกว.ยอมรับนะครับ

ดีใจมากครับ ที่อาจารย์แนะนำมา ผมติดตามอ่าน blog ของอาจารย์เรื่องภาษาอังกฤษ เสมอ

ผมเพิ่งเปิดบล็อกเมื่อวานนี้เอง ปกติผมจะปิดไว้บันทึกส่วนตัว ผมยินดีมากครับ ที่เมืองไทยมีแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงปฏิบัติการบนอินเตอร์เนต และประสบความสำเร็จแบบระบบของ GotoKnow

ผมขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิต  ผมได้ส่งไปวารสารอีกฉบับหนึ่งครับ  ก็ภาวนาขอให้ได้ตอบรับครับ เพราะอยากเรียนจบแย่แล้ว และก็คิดถึงบ้านมากด้วยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท