"การสอน...ให้และรับอย่างมีความสุข..."


"สิ่งสำคัญ คือ ครูไม่ควรสร้างอารมณ์ที่ไม่ดีคล้อยตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน เพราะจะนำมาซึ่งความล้มเหลวในการจัดการเรียนการสอน"

          ในการจัดการเรียนการสอนวิชาบรรยายโดยเฉพาะในรายวิชาสังคมศึกษาจะเนื้อหาเยอะนักเรียนจำไม่ได้ และเป็นวิชาบรรยายที่น่าเบื่อหน่ายครูจะใช้วิธีใดเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนและเรียนด้วยความสุข

          แน่นอนที่สุดการจัดการเรียนการสอนต้องเน้น “ผู้เรียน” เป็นสำคัญ แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอนว่าจะสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยแค่นั้น “ครู” มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง พบว่าในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีเนื้อหาเยอะนักเรียนจำไม่ได้ และเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนครูส่วนใหญ่มักจะบ่นว่า “พยายามที่จะให้...แต่ในเมื่อนักเรียนไม่รับ...ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร” ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายทั้งครูและนักเรียน ครูสอนเพื่อให้จบชั่วโมงสอนส่วนนักเรียนก็นั่งเรียนเพื่อให้จบชั่วโมงเรียนเช่นกัน แต่นี่คือสิ่งที่ครูคิดผิดอย่างมหรรษ์!!!

          ทำอย่างไร? จึงจะจัดการเรียนการสอนอย่างมีความสุข สิ่งแรกในการเข้าชั้นเรียนครูจะต้องสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นกับตัวครูก่อน เพราะเมื่อใดที่ครูขาดกำลังใจในการสอนก็จะทำให้นักเรียนได้รับเนื้อหาสาระอย่างไม่เต็มที่ หรือได้รับเนื้อหาที่มากจนเกินไป ทำให้นักเรียนจำยาก และส่งผลให้เกิดความเครียดในตัวเด็ก ดังนั้น ครูควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในตัวครูเสียก่อน เช่น สร้างความเชื่อมั่นกับตนเองว่าตัวครูมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในทุกสถานการณ์ได้ ควรตั้งความหวังในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละวัย และครูควรมองภาพลักษณ์ของตนเองในทางบวกมองว่าตัวครูสามารถสอนเนื้อหาที่ยาก ๆ ให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย ๆ โดยอาศัยเทคนิคการสอนเนื้อหาสาระเป็นลำดับขั้นตอน "สิ่งสำคัญ คือ ครูไม่ควรสร้างอารมณ์ที่ไม่ดีคล้อยตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน เพราะจะนำมาซึ่งความล้มเหลวในการจัดการเรียนการสอน"

          เมื่อครูสามารถสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นในตัวครูแล้ว ครูก็ควรสร้างเสริมแรงจูงใจในการเรียนให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนด้วย โดยการสร้างทั้งแรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก ซึ่งในการสร้างแรงจูงใจภายในนั้น ครูควรจูงใจให้นักเรียนเกิดความต้องการ สนใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนให้เกิดขึ้นภายในใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนรู้สึกกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน และเรียนด้วยความเต็มใจ ส่วนการสร้างแรงจูงใจภายนอกนั้น ครูควรใช้เทคนิคการสอน วิธีการสอน และบุคลิกภาพของครูก็ถือเป็นสิ่งจูงใจให้นักเรียนเกิดความรู้สึกอยากเรียนด้วยเช่นกัน

          หากครูได้ปฏิบัติเช่นนี้แล้ว รับรองได้เลยค่ะว่าการจัดการเรียนการสอนของครูประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ผู้ให้ก็ให้อย่างมีความสุขส่วนผู้รับก็รับอย่างมีความสุข ทำให้บรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีความสุขที่แท้จริง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28168เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เห็นด้วยครับ ถ้าครูมีสื่อการเรียนการสอน มีเทคนิคการถ่ายทอดที่ดี
  • วิชาสังคมอาจารย์ท่านหนึ่งนำ CDแหล่งประวัติศาสตร์มาให้ดูเราเป็นเด็กบ้านนอกตื่นเต้นมาก หลังจากนั้นก็มีหนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ อาจารย์ไม่ได้ให้ดูจบเรื่องหรอก ดู ครึ่งเรื่อง ที่เหลือเราต้องไปหาหนังสืออ่านเอาเอง สนุกมาก
  • ตั่งแต่นั้นมาผมก็ชอบวิชาสังคม
  • สิ่งที่ผมพบคือถ้าเราชอบอาจารย์ท่านใดเราจะตั้งเรียนเรียนวิชานั้นครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท