ถ้าจะพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


บทบาทของ กศน. นั้นเปรียบได้กับการเป็นพระรองในละคร พระเอกคือประชาชน ในยามที่พระเอกถึงถึงทางตันไม่สามารถที่จะพาตัวเองให้ฝ่าพ้นวิกฤติได้ ก็เป็นหน้าที่ของพระรอง อย่าง กศน. ที่จะต้องไปสรรหาหน่วยงานภาคีเครือข่ายมาให้ความช่วยเหลือ ให้ประชาชนฝ่าวิกฤติปัญหานั้น ไปได้ เพราะ กศน. ไม่ได้รู้และเชี่ยวชาญทุกเรื่องตามที่ประชาชนอยากรู้อยากเรียน หน่วยงาน ภาคส่วน องค์กรต่างๆ ซึ่งมีความรู้ที่หลากหลายตามบทบาทภารกิจ หาก กศน. สามารถที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ดึง องค์กร หน่วยงาน ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมหนุนเสริมให้ประชาชนได้รับการเรียนรู้ ตามที่อยากรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน

 

                หากเราศึกษารูปแบบและวิธีการจัดจากเอกสาร  จะพบว่า  รูปแบบการจัดกิจกรรมที่กำหนด   มานั้นยังอยู่ในวงแคบมากๆ  โดยเฉพาะการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย  พบว่า  ยังคงเน้นที่การศึกษาตามอัธยาศัยแบบเดิมๆ อยู่ดูแล้วยังไม่ค่อยมีความหลากหลาย  อีกทั้งยังไม่ได้ตรงตามที่เป้าหมาย  เพราะส่วนใหญ่กระบวนที่จัดไม่ตรงตามความต้องการของชุมชน  ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรในการดำเนินงานของ กศน.   

                ในการขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องนำยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะ ยุทธศาสตร์ลุยถึงที่  และยุทธศาสตร์การสนับสนุนภาคีเครือข่ายให้ร่วมกันจัด  ในแง่มุมของข้าพเจ้าคิดว่า พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ปี พศ.  2551 นั้นเปิดกว้าง แต่การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องลงไปสร้างกระบวนการให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่อยากรู้และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาให้กับตนเอง สังคม ชุมชน  ได้อย่างแท้จริง

                จากบริบทของชุมชนมีความแตกต่างกัน สภาพปัญหาความต้องการอยากรู้อยากเรียนของคนในแต่ละพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกัน  กระบวนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมีความจำเป็นในการที่จะหา รูปแบบ วิธีการ  หลักสูตร เนื้อหา ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ  เท่ากับว่าเราได้ทราบว่าหลักสูตร เนื้อหาที่คนในชุมชนต้องการคืออะไร  เป็นหลักสูตรและเนื้อหาที่ประชาชนสนใจอยากจะเรียน เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์จริง  ทำไปเรียนรู้ไป  ไม่มีคำว่าจบหลักสูตร  สามารถพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาที่เรียนรู้มาแล้วได้อย่างต่อเนื่อง และถ่ายทอดบทเรียนนั้นๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง 

                 มีคำเปรียบเทียบการศึกษาตามอัธยาศัย คำหนึ่งคือ "พ่อเป็นช่างปั้นหม้อ ลูกเป็นช่างปั้นหม้อ"  แต่หากเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยตาม พ.ร.บ. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในยุคปัจจุบัน จะเห็นว่าในชุมชนสภาพของคำที่เปรียบเทียบว่า "พ่อเป็นช่างปั้นหม้อ ลูกเป็นช่างปั้นหม้อ" ก็ยังคงมีอยู่ แต่การปั้นหม้อของลูกนั้น มีหลักการ วิธีการ และรูปแบบที่เปลี่ยนไป  ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และมีการพัฒนา  เพราะถ้าหากเป็นหม้อในรูปแบบเดิมๆ ที่ได้เรียนรู้จากรุ่นปู่ รุ่นพ่อ อาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาดผู้ที่ซื้อหาไปใช้อาจลดน้อยลงเพราะฉะนั้น หม้อในรุ่นต่อไปต้องมีการสร้างสรรค์งานพัฒนาเป็นรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อหาไปใช้ อาจอยู่ในรูปของแจกัน กระถางต้นไม้ กระถางไม้แขวน หรือของที่ระลึกเพื่อให้ทันยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงตามกระแสการบริโภคของมนุษย์

                กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น กศน. คงจะไม่มีความสามารถในการที่จะเป็นพระเอกตลอดกาล  เพราะตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นั้นระบุบทบาทของ กศน. ในการจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ด้านต่างๆ ไว้ชัดเจน  ซึ่งบทบาทของ กศน. นั้นเปรียบได้กับการเป็นพระรองในละคร  พระเอกคือประชาชน  ในยามที่พระเอกถึงถึงทางตันไม่สามารถที่จะพาตัวเองให้ฝ่าพ้นวิกฤติได้  ก็เป็นหน้าที่ของพระรอง อย่าง กศน. ที่จะต้องไปสรรหาหน่วยงานภาคีเครือข่ายมาให้ความช่วยเหลือ ให้ประชาชนฝ่าวิกฤติปัญหานั้น ไปได้  เพราะ กศน. ไม่ได้รู้และเชี่ยวชาญทุกเรื่องตามที่ประชาชนอยากรู้อยากเรียน หน่วยงาน ภาคส่วน องค์กรต่างๆ ซึ่งมีความรู้ที่หลากหลายตามบทบาทภารกิจ  หาก กศน. สามารถที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ดึง องค์กร หน่วยงาน ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมหนุนเสริมให้ประชาชนได้รับการเรียนรู้ ตามที่อยากรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง  สังคม ชุมชน              

               เรื่องของการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ให้มองที่ โลโก้ หรือสัญลักษณ์ ของ กศน. ที่มีรูป คน 2 คน สีเขียวหนึ่งคนคู่กับสีเหลืองหนึ่งคน แล้วมีอักษรกำกับว่า "กศน. เพื่อนเรียนรู้" เมื่อมาคิดพิจารณาให้ดี  และวิเคราะห์ดู ก็มองเห็นว่า การที่คนจะเป็นเพื่อนเรียนรู้กันได้ก็ต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เสียก่อน คือคนหนึ่งคนต้องเรียนรู้ แล้วไปชวนอีกคนมาร่วมเรียนรู้ขยายจาก หนึ่งเป็นสอง ฉะนั้น คำว่าเพื่อนเรียนรู้จึงอาจไม่ใช่การสอนของ กศน. ที่จัดให้กับประชาชน แต่ กศน. ต้องเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชน กลุ่มเป้าหมาย

 

หมายเลขบันทึก: 281486เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จากที่ได้อ่านบทความการสะท้อนความคิดจากบทบาท กศน.ของท่านสำราญเมืองคอน แล้วก็จริงอย่างที่ท่านว่า กศน.เป็นได้เพียงพระรอง ไม่สามารถเป็นพระเอกได้ เพราะบทบาทหน้าที่ได้กำกับไว้แล้วเป็นได้เพียงแต่ตัวรอง แม้แต่นักรบแนวหน้าอย่าง ครูอาสาฯในอดีต ตอนนี้ก็เริ่มจะเป็นพระรองเข้าทุกวันแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องขวัญและกำลังใจที่มีให้กับนักรบแนวหน้าอย่างครูอาสาฯ บทบาทที่แสดงก็ถูกจำกัดเข้าทุกวันแล้วละครับท่านสำราญ ท่านว่าจริงไม่เอย

ตอนนี้ไม่ต้องปั้นหม้อ แต่ซื้อหม้อไฟฟ้ามาใช้แทนคะ(แซว)

แวะมาทักทาย

ขอบคุณสำหรับเรื่องราว หลักคิดดีๆคะ

สวัสดีครับ...ครูเกษม ผลกล่ำ

  • อันนี้แล้วแต่ครูจะคิดครับ...
  • ครูได้ผ่านยุคไปแล้วไม่ต้องเป็นกังวลเหมือนพวกผม...
  • ผมเพียงอยากรู้ว่าข้างบนจากครูเกษมขึ้นไปเขาคิดอย่างไรบ้าง...
  • บทสะท้อนจากพวกเราตอนรับเข็มหน้าด้าน...คงไม่มีอะไรคืบหน้า...
  • ทำไมต้องแบ่งเป็นงานครู ศรช. และงานครูอาสาฯ
  • ทำไมทั้ง ครู ศรช. และครูอาสาฯ ไม่ช่วยกันทำงาน กศน.
  • ข้างบนน่าจะทบทวนใหม่นะครับ...

สวัสดีครับ...น้องรัช...

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม...
  • เปลี่ยนไปตามยุคก็ดีอยู่แล้วครับ...
  • แต่ของเก่าก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์
  • ต้องคิดหาวิธีนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น ครับ...

ทำไมจึงให้ครู ศรช.เป็นหัวหน้า กศน.ตำบลทั้งที่เข้ามาโดยไม่ผ่านกระบวนการสอบ(ลาภลอย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท