การเรียนการสอน


กลยุทธ์ในการฝึกให้นักศึกษาพยาบาลจำและอ่านผล Lab

จากประสบการณ์การนิเทศนักศึกษาพยาบาล  ที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ  วิชาการพยาบาลมารดาทารกและ

การผดุงครรภ์ 1  ในแผนกฝากครรภ์ที่ผ่านมา  พบว่า  หลายครั้งที่นักศึกษาผ่านการฝึกภาคปฏิบัติมาแล้ว  ไม่

สามารถบอกได้ว่า  หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ต้องตรวจ  Lab  อะไรบ้างและ Lab แต่ละตัวที่ตรวจเรียกว่า

อะไร  การแปลผลเป็นอย่างไร  ตัวอย่างเช่น  นักศึกษาอาจบอกได้ว่าต้องตรวจเรื่องไวรัสตับอักเสบบี  แต่ไม่

สามารถบอกได้ว่าตรวจไวรัสบีนั้นก็เจาะ Lab คือเจาะหาอะไร ผลที่ได้รายงานว่าอย่างไร (ตรวจตับอักเสบบี

คือตรวจ  HBsAg   ส่วนผลการรายงาน จะบอกเป็น positive  หรือ  Negative นักศึกษามักจะบอกได้แต่ว่าผลปกติ  หรือผิดปกติ  โดยไม่สามารถบอกได้ว่าปกติคืออะไร  ผิดปกติคืออะไร  หรือในบางครั้งก็บอกมาแบบ

ผิด ๆ  เช่น  แทนที่จะบอกว่าปกติ  คือ  Negative ก็บอกว่า Non reaetive   เช่นนี้เป็นต้น  เมื่อพบปัญหาเช่นนี้มา

บ่อยๆ  จึงพยายามคิดหากลยุทธ์ในการที่จะให้นักศึกษาได้เรียนรู้และจำให้ได้ว่า

1.       การตรวจเลือดในหญิงตั้งครรภ์ต้องตรวจหาอะไรบ้าง

2.       Lab  แต่ละตัวตรวจหาอะไร

3.       การอ่านผลการรายงานและแปลได้ถูกต้อง

ในที่สุดจึงได้ลองใช้กลยุทธ์  ก็คือ นักศึกษาทุกคนที่มาฝึกตรวจครรภ์จะต้องรายงานรายละเอียด

เกี่ยวกับผลการตรวจครรภ์ของคนไข้ของตัวเอง  โดยให้นักศึกษาอ่าน  Lab  ทุกตัวและผลการตรวจให้ถูกต้อง

ใน 2-3  case แรกที่นักศึกษาฝึกตรวจ  แล้วหลังจากใน case  ต่อ ๆ ไป จึงให้ใช้วิธีการสรุปว่าผล Lab  มีค่าใดที่ผิดปกติหรือไม่  วิธีการนี้จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติอ่าน Lab  ทุกตัวแทนที่จะใช้วิธีการรายงานที่รวบรัด

โดยที่นักศึกษาบางคนรายงาน Lab ปกติ แต่พอถูกย้อนถาม  Lab ปกติคืออย่างไร  มีอะไรบ้าง  นักศึกษาจะตอบ

ไม่ได้  เราอาจยอมเสียเวลากับนักศึกษา  2-3  case  แรก  แต่จะได้ผลดี  ตรงที่ว่านักศึกษาจะรู้  Lab  ทุกตัวที่

ต้องตรวจ  และสามารถอ่านผล  Lab  ได้ถูกต้อง

 

                                                                                เล่าโดย          อ.เพ็ญรุ่ง      เกิดสุวรรณ

                                                                                 ภาควิชา         การพยาบาลสูติศาสตร์

                                                                                E-mail:            Penrung [email protected]

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 281466เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท