ภาวะการตลาด


ภาวะการตลาด

การค้าน้ำมันปาล์มของไทยไม่มีนัยสำคัญทางการค้า ทั้งนี้เพราะปริมาณผลผลิตใช้บริโภคภายในเป็นหลัก กอร์ปกับราคาน้ำมันปาล์มไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ อย่างไรก็ตามในปี 2537 ต่อต้นปี 2538 เนื่องจากมาเลเซียและอินโดนีเซียเกิดปัญหาอุปทานตึงตัวและน้ำมันปาล์มมีราคาเพิ่มขึ้นสูง ขณะที่ไทยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เกินความต้องการ จึงมีการส่งออกน้ำมันปาล์มปริมาณ 15,704 ตัน มูลค่า 265.72 ล้านบาท ในปี 2538
สำหรับการนำเข้าน้ำมันปาล์มในอดีต เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้า แต่ในทางปฏิบัติไม่อนุญาตให้นำเข้า อย่างไรก็ตามในปี 2538 ไทยต้องการยกเลิกมาตรการดังกล่าวภายใต้ข้อตกลงองค์การค้าโลก (WTO) และใช้มาตรการด้านภาษีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นในปี 2538 ไทยปริมาณการนำเข้านอกเหนือจากปริมาณที่ต้องเปิดตลาดเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 157 อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าการเพิ่มขึ้นของผลผลิต จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาราคาภายในประเทศ ไทยจึงได้ขยายปริมาณเปิดตลาดนำเข้าน้ำมันปาล์มเป็นจำนวน 15,000 ตัน และเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 10 ดังนั้น ในปี 2538 ไทยนำเข้าน้ำมันปาล์มรวมทั้งสิ้น 19,421.71 ตัน มูลค่า 337.80 ล้านบาท ส่วนปี 2539 เนื่องจากภาวะการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในช่วงปลายปี 2538 ต่อต้นปี 2539 ไทยจึงเปิดตลาดนำเข้าน้ำมันปาล์มจำนวน 25,000 ตัน ส่งผลให้ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2539 ปริมาณนำเข้ามีรวมทั้งสิ้น 25,253.52 ตัน มูลค่า 350.93 ล้าน

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะการตลาด
หมายเลขบันทึก: 281191เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท