แผงยาขนมเจ๊ก..เรื่องเด็กๆแต่ไม่เล็กสำหรับปู่ย่าตายาย


แผงยาขนมเจ๊ก..เรื่องเด็กๆแต่ไม่เล็กสำหรับปู่ย่าตายาย

                                                                        P5               P4

             เหงื่อเม็ดโป้ง ๆ กำลังผุดพรายอยู่กลางหลังของป้าพรมหญิงชราวัย เจ็ดสิบปี วันนี้อากาศร้อนจริง ๆ นั่งรอหมอจัดยาอยู่ที่หน้าห้องยา เดี๋ยวนี้เขามีคิวตัวเลขชัดเจนใหญ่โตเลยมองเห็นง่าย เสียงเรียกคิวที่ 108 ผ่านไปแล้ว ต่อไปคงเป็นคิว 109 ของป้าพรม เฮ้อ เดี๋ยวก็ได้กลับบ้านแล้ว ลูกคงกำลังรออยู่   ถุงกรอบแกรบใบใหญ่ของโรงพยาบาลที่ใส่ยาหลากสีหลายแบบ ยาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรคหัวใจ ยาแก้ปวด ยาโรคกระเพาะนับถุงยาแล้วสิบกว่าถุงเห็นยาแล้วก็พาลเบื่อแต่อย่างไรก็ต้องกินจะได้ไม่ทรมานไปมากกว่านี้ หลังข้าวกลางวันป้าพรมคว้าถุงยามาเพื่อเตรียมกินยามื้อกลางวัน สี่ซองนี้จำได้ว่าต้องกินตอนเช้ากับเย็นอีกสองซองเป็นยาความดันที่หมอห้องยาเขาบอกว่าเปลี่ยนสีใหม่เหมือนของเดิมที่เคยกินได้ยินเขาพูดแว่วๆว่ากินเหมือนเดิม  แต่ซองใหม่ที่ได้มาหมอบอกว่ากินสองเวลาเป็นยาขับปัสสาวะคงต้องเอาไว้กินตอนเย็น  แต่ยาก่อนอาหารวันนี้ป้าก็ลืมกินอีกด้วย มัวแต่รอตรวจ

                สามวันผ่านไป ป้าพรมรู้สึกเพลียเหลือเกิน กลางคืนก็ปัสสาวะบ่อยจนไม่ค่อยได้นอน มันพาลไม่อยากเดินเหินไปไหนเลย คอยแต่จะอยากกินน้ำ เสียงรถยนต์มาจอดหน้าบ้าน มีคนเรียกป้าพรมป้าพรมแว่วๆ  หมาเห่ากันขรม แล้วป้าพรมก็เห็น หมอเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลบ้านลาดนั่นเอง  วันนี้หมอเขามาติดตามอาการของป้าดีเหมือนกันจะได้ถามสักหน่อยว่าทำไมมันเพลียเหลือเกิน   หมอพูดคุยทักทายแล้วก็สอบถามอาการพร้อมกับขอดูยาซึ่งเป็นภารกิจหลักและสอบถามการกินยา หมอจึงบอกว่าป้าพรมกินยาไม่ถูกสองสามอย่าง  ยาขับปัสสาวะต้องกินตอนเช้ากับเที่ยง ไม่ควรกินมื้อเย็น เพราะจะทำให้ปัสสาวะมากช่วงกลางคืน พร้อมกับขับเกลือแร่และสารน้ำออกมามากจึงทำให้รู้สึกเพลีย  นั่นนะสิ..ตอนนี้หายสงสัยแล้วว่าทำไมถึงปัสสาวะบ่อยเหลือเกินสองสามคืนที่ผ่านมา   หมอก็เลยถามว่าจะช่วยกันอย่างไรเพื่อให้ป้าพรมกินยาถูกต้องและก็ครบตามที่หมอสั่ง ป้าพรมเองก็ยอมรับว่าบางครั้งก็หลงๆลืมๆ ยาก่อนอาหารบ้าง หลังอาหารบ้าง บางตัวกินแค่ตอนเช้า บางตัวกินแค่ตอนเย็นบางตัวก็กินก่อนนอน มันหลายขนานไปหน่อยจำไม่ไหว อายุมากแล้ว  หมอเขาเลยเสนอว่าจะช่วยจัดยาให้เป็นแผงๆเหมือนขนมเจ๊กแบบแผงราคาสามบาทห้าบาทซึ่งใช้กระดาษแข็งหรือกระดาษลังยาทำเป็นแผงร้อยหัวด้วยเชือกหรือเชือกฟาง  ติดด้วยซองยาเรียงแถวไปตามขวาง 3 แถวตามมื้อ เช้า กลางวัน และเย็นส่วนทางลงเรียงไว้ 7 แถว แทนวันในแต่ละสัปดาห์ มีทั้งหมด 3 แผงคือ แผงก่อนอาหาร แผงหลังอาหาร และแผงก่อนนอน ให้หยิบใช้เป็นมื้อๆ ซองหนึ่งมื้อเช้า ซองหนึ่งมื้อกลางวัน ซองหนึ่งมื้อเย็นแล้วก็จัดไว้สัปดาห์ละครั้งพร้อมกับเขียนตัวหนังสือใหญ่ๆของวันที่ กับเวลาที่กินจะได้หยิบกินได้สะดวกไม่หลงลืมและก็ได้ยาครบด้วย   หมอบอกว่าจะช่วยให้ป้าได้รับยาถูกคน ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกวิธี ถูกโรคและถูกทาง ( ตามหลัก 6 R    คือ Right Patient ถูกคน /Right Time ถูกเวลา /Right Dose ถูกขนาด /Right Rout ถูกวิธี/ /Right Drug ถูกชนิด / Right Technique ถูกเทคนิค )  หมอเล่าให้ฟังว่าที่ผ่านๆมามีคนไข้ที่รับประทานยาไม่ค่อยถูกคล้ายๆกับป้าพรมนี่แหละ อย่างผู้ป่วยสูงอายุเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงมียากินหลายขนาน คนละไม่ต่ำกว่า 7 ชนิด ต่างคนก็หูตาไม่ดี ลูกหลานก็ไม่ได้อยู่ด้วย หยิบยากินเองถูกๆผิดๆ  เลยพบปัญหาว่าบางครั้งน้ำตาลขึ้นสูง บางครั้งน้ำตาลลงต่ำ ก็เป็นเพราะ หยิบยาไม่ค่อยถูก   บางวันกินยาแล้วก็ว่ายังไม่ได้กิน เลยกินซ้ำ บางวันคิดว่ากินแล้วก็เลยไม่ได้กิน  บางคนพอหมอเขาไปเยี่ยมบ้านครั้งใดก็พบว่ามียาเหลือไว้จนผิดสังเกต จนหมอต้อง เก็บยาเก่าๆกลับไปโรงพยาบาลครั้งละหลายๆถุง หรือบางคนก็มารับยาก่อนวันนัด  สอบถามไปมาก็พบว่ากินผิดๆถูกๆนั่นเอง  ทีมดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลจึงทำโครงการยาเก่าแลกยาใหม่ และสร้างนวตกรรมในชุมชนเป็นแผงยาขนมเจ๊กขึ้น และสำหรับผู้ป่วยที่ยังมีความจำดีแต่เพียงแค่อ่านตัวหนังสือไม่ค่อยออก ทางงานเภสัชกรรมก็จะจัดซองยาพิเศษที่มีสัญลักษณ์โดยเฉพาะและมีตัวหนังสือติดสติกเกอร์ใหญ่หมอเลยต้องชักชวนกันทำแผงยาขนมเจ๊กแบบที่เอามาให้ป้าดูในวันนี้  โดยทำเป็นแผงกระดาษ 3 แผงตามมื้ออาหาร เช่นยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหารและยาก่อนนอน  และจัดไว้ครั้งละ 1 สัปดาห์ โดยหาจิตอาสาและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) หรือญาติเป็นผู้ช่วยจัดทำและช่วยกันตรวจดูว่าการกินยาถูกต้องหรือไม่  หมอบอกว่าหลังจากจัดยาใส่แผงทดลองใช้กับผู้ป่วยไป 20 ราย พบว่าปัญหาการกินยา  ปัญหายาเก่าเหลือ ปัญหามาก่อนนัดลดลง นอกจากนี้ยัง มีเด็กๆลูกหลาน ช่วยคุณตาคุณยายจัดยาใส่แผงกระดาษลังที่ ท่าทางจะทำง่ายๆไม่ต้องมีต้นทุนอะไรมากคล้ายแผงขนมเจ๊กห้าบาทเลียนแบบแผงยาสีสันสวยงามของหมอที่ มีวันเดือนปีและสัญลักษณ์ต่างๆพร้อม  เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ตาฝ้าฟาง  มีสัญลักษณ์เตือนให้รู้ถ้าอ่านหนังสือหรืออ่านฉลากยาไม่ชัด  อีกทั้งสามารถตรวจเช็คได้ว่ากินยาครบทุกมื้อทุกวันหรือเปล่าเพื่อช่วยสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ฟื้นฟูวิถีไทย  ใช้วิถีพอเพียงและยังร้อยเรียงวิถีเรียนรู้เชิดชูคุณภาพเรื่องการจัดการบริหารจัดการยา นำทุกคนมีความสุข

                                                                                    P3                    P2

หมายเลขบันทึก: 280964เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท