มีส่วนร่วมของชุมชนคือการพัฒนาสุขภาพของชุมชนที่ยั่งยืน


เราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแล้วเรามีส่วนทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่หรือไม่ อย่างไรบ้าง

สรุปการเรียนรู้รั้งที่ 8 Community Participation in Health Development
     อาจารย์หมอประเวศ  วะสี ได้ให้ความหมายของ “ระบบสุขภาพ” คือ ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ  นั่นแสดงว่า การพัฒนาระบบสุขภาพในชุมชน ต้องเป็นการพัฒนาปัจจัยต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือ การพัฒนาวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนให้มีสุขภาวะนั่นเอง
     จากเรื่องเล่าของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากเรื่องเล่าของท่านอาจารย์ ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ และจากสื่อที่ท่านอาจารย์ได้นำมาให้เรียนรู้ ตั้งแต่เรื่องเล่าของชุมชนไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราช  เรื่องเล่าจากชุมชนหนองกลางดง จ.ประจวบคีรีขันธ์  เรื่องเล่าจากมูลนิธิขวัญข้าว จ.สุพรรณบุรี และ เรื่องเล่าจาก อบต.หังดง จ.พิจิตร สรุปบทเรียนได้ว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน ต้องเริ่มที่คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ที่สำคัญต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก มีส่วนร่วมตั้งแต่รับรู้ถึงข้อมูล รับรู้ถึง “ปัญหาของชุมชน” ซึ่งอาจไม่ได้เริ่มต้นที่ปัญหาด้านสุขภาพ แต่เริ่มที่ปัญหาเรื่องปากท้องของคนในชุมชน เช่น เรื่องหนี้สิน เรื่องการทำมาหากิน ต้องมีการพูดคุยของคนในชุมชนเองที่เรียกว่า“ประชาคม” การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต้องร่วมทุกกระบวนการตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ด้วยกัน ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน คือ “หัวใจอยู่ที่การเรียนรู้ร่วมกัน” การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากการบอกกล่าว เล่าเรื่อง การศึกษาดูงาน การทำวิจัยในชุมชน การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ จะทำให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาเกิดขึ้นในชุมชน ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผู้นำและภาวะผู้นำของคนในชุมชนเองที่จะ นำพาคนในชุมคนได้ปรับเปลี่ยนแนวคิด ตระหนักเห็นความสำคัญของปัญหาและหาแนวทางในแก้ไขปัญหาร่วมกัน การพัฒนาสุขภาพชุมชนจึงเป็นเรื่องขององค์รวม ไม่เพียงแต่เรื่องปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่เป็นเรื่องสุขภาวะของคนในชุมชน เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งจะนำไปสู่การมี“คุณภาพชีวิต”ที่ดีของคนในชุมชนนั่นเอง คงทำให้ชุมชนน่าอยู่นะครับ ทิ้งท้ายด้วยคำถามว่า “เราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแล้วเรามีส่วนทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่หรือไม่ อย่างไรบ้าง?” ตอบตัวเองได้มั๊ยครับ

สรุปเรื่องราวครั้งนี้ผ่านการถ่ายทอดจากท่านอาจารย์ ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์

หมายเลขบันทึก: 280528เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และที่สำคัญ เราเป็นนักสาธารณสุข เราคงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ ออกกำลังกายสมำเสมอ กินอาหารที่ปลอดภัย อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปราศจากแหล่งโรค ลดอบายมุข และให้ความสุขกับตัวเอง กับคนรอบข้าง มองโลกให้เห็นด้านที่เป็นจริง และรู้ทัน ทำความเข้าใจ หาทางออกจนเกิดเป็นปัญญา แล้วความสุขก็จะกระจายให้คนในครอบครัว หากมีเวลาบ้าง ก็เผื่อแผ่ไปยังครอบครัว คนรอบข้าง สังคมก็จะเป็นสุข ครับ แต่อีกอย่างที่อยากแลกเปลี่ยนครับ หากเรามองเรื่องปากท้องชาวบ้าน แยกออกไปจากระบบสุขภาพ เพียงเพราะเราเป็นนักสาธารณสุข เท่ากับว่า เราเข้ายังไม่ถึงระบบสุขภาพ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทั้งมวลของสิ่งที่เกี่ยวข้องสุขภาพครับ อย่างที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ ที่พยายามบอกกับพวกเราครับ ซึ่งการมองแยกส่วนอย่างที่นักสาธารณสุขอย่างเรามองกัน ไม่ทำให้ชุมชนไปถึงคุณภาพชีวิตอย่างที่เราฝันอยากให้ชุมชนได้รับครับ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นและข้อคิดที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพก็เป็นหมวกอีกใบที่เราต้องปฏิบัติทั้งฐานะบุคลากรด้านสุขภาพ และฐานะประชาชนทั่วไปที่อยู่ในชขุมชน สังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท