คุณหนูไร่ส้ม commu-MJU.
นางสาว ปิยชนก คุณหนูไร่ส้ม commu-MJU. สกุลพันธ์

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับส้ม


ตามติดชีวิตคุณส้ม!!!!!ภาค1

 ตามติดชีวิตคุณส้ม!!!!!   (ภาค1)

     >>>>>>>>>>>>> เราไปทำความรู้จักกับ ส้ม กันก่อนเลยนะค่ะ

 

>>>ประวัติและความเป็นมาของส้มในประเทศไทย 

               มีการระบุว่าได้มีการปลูกส้มมานานหลายพันปีมาแล้ว เชื่อกันว่า ส้มหลายชนิด ที่อยู่ในสกุลซิทรัส เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด หรือเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมในเขตร้อน และเขตกึ่งร้อนของทวีปเอเชียและกลุ่มเกาะมลายู ในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่ามีการปลูกส้มกันมาตั้งแต่เมื่อใด พบแต่เพียงรายงานซึ่งมีต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ หรือกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว ที่กล่าวถึงส้มชนิดต่างๆ ๓ ชนิด คือ ส้มโอ ส้มแก้ว และมะกรูด สำหรับส้มเขียวหวานนั้นไม่ทราบประวัติที่ชัดเจน แต่มีข้อสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์จากส้มแก้ว หรือเกิดจากพันธุ์ที่ชาวจีนนำเข้ามาปลูกในภาคกลางเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว ต่อมาจึงมีการนำไปกระจายปลูกในภาคอื่นๆ และเรียกกันว่า ส้มเขียวหวาน

 

 

  

>>>ลักษณะทั่วไปของส้ม 

ส่วนต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ก้านใบ หนาม ดอก ผล เมล็ด และราก  

 >  ลำต้น โดยทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดกลางมีความสูงประมาณ ๔ - ๘ เมตร ส้มโอที่มีอายุมากอาจมีความสูงได้ถึง ๑๐ - ๑๕ เมตร ความสูงจะแตกต่างกันแต่ละชนิด ส้มมีทรงต้นโปร่ง มีการแตกกิ่งก้านแผ่เป็นพุ่ม รัศมีของทรงพุ่มประมาณ ๒ - ๕ เมตร มีใบ ตาข้าง ดอกและผลเกิดอยู่บนกิ่ง หนามจะอยู่ด้านข้างของตา  

 >  ใบ จัดเป็นใบเดี่ยว แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน 

                       ส่วนแรกเรียกว่าแผ่นใบ หรือตัวใบมีรูปร่างกลมมน เรียวยาว รูปไข่ยาวหรือรูปโล่ ปลายใบแหลมหรือป้าน ขอบใบอาจเรียบหรือหยัก ใบมีตั้งแต่สีเขียวอมเหลืองถึงสีเขียวอมดำ

                      ส่วนที่สองคือก้านใบ  จะมี หูใบ  มีลักษณะเป็นปีก รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ อาจเล็กแคบหรือมีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวใบ ลักษณะของแผ่นใบ สี ขนาด และหูใบ สามารถนำมาใช้จำแนกชนิดและพันธุ์ส้มได้ค่ะ บนแผ่นใบมีต่อมน้ำมันด้วยอาจ ขนาดเล็กหรือใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป น้ำมันส้มจะมีกลิ่นเฉพาะแตกต่างกันตามชนิดและสายพันธุ์

   >  ดอก  ดอกส้มเกิดที่ปลายยอดอ่อนหรือที่มุมใบ อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ อยู่บนฐานรองดอก ซึ่งเป็นส่วนของก้านดอก ส่วนของดอกประกอบด้วยชั้นต่างๆ ๔ วง เรียงจากวงนอกสุด คือ

                      กลีบเลี้ยง  มีขนาดเล็กและมีสีเขียวหรือสีเขียวอ่อน

                       กลีบดอก มีขนาดเล็กพอสมควรและมีสีเขียวหรือสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี ๕ กลีบ มีสีขาว แต่อาจมีสีอมเขียวหรือมีสีม่วงแต้มในส้มบางชนิด ที่กลีบดอกมักมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่

                      เกสรตัวผู้  ผู้มีจำนวน ๒๐ - ๔๐ อัน มีก้านสีขาว ยาว ส่วนปลายเป็นอับเกสร (anther) สีเหลือง ภายในมีละอองเกสร (pollen) จำนวนมาก

                      เกสรตัวเมีย  อยู่ชั้นในสุดเลยประกอบด้วย รังไข่ รูปร่างกลม สีเขียว ตั้งอยู่บนจานซึ่งเป็นส่วนของต่อมน้ำหวาน ส่วนปลายของรังไข่เป็นก้านชูเกสรตัวเมีย และที่รับละอองเกสร เมื่อดอกส้มบานจะมีกลิ่นหอมมาก

 >  ผล  ผลส้ม คือ ส่วนที่เจริญและพัฒนามาจากส่วนของรังไข่ เกิดขึ้นภายหลังจากการถ่ายละอองเกสร โดยลมหรือแมลง และเกิดการปฏิสนธิ  โดยทั่วไปมีกลีบผลอยู่จำนวน ๑๐ กลีบ อาจมีจำนวนกลีบมากหรือน้อยกว่าในแต่ละสายพันธุ์นะค่ะ กลีบเชื่อมจะติดกันเป็นวงกลมล้อมรอบแกนของผล เมื่อส้มเริ่มติดผลและพัฒนาจนเป็นผลที่สมบูรณ์ส่วนของผนังไข่  จะพัฒนาเปลี่ยนไปเป็นส่วนหนึ่งของผล คือ ส่วนเปลือกชั้นนอกสุด ที่มีสีเขียวหรืออาจเปลี่ยนเป็นสีอื่นเมื่อมันสุก เปลือกส่วนกลางมีลักษณะนุ่ม สีขาว อาจเป็นชั้นที่บางมาก และส่วนในสุดที่เป็นเยื่อหุ้มกลีบ ผนังด้านในของส่วนในสุดนี้จะแบ่งเซลล์และขยายตัวออกกลายเป็นถุง ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำ น้ำตาล และสารอาหารต่างๆ

>  เมล็ด เมล็ดส้มมีการเจริญและพัฒนามาจากไข่ (oval) รูปร่างคล้ายหยดน้ำ ด้านแหลมเป็นด้านที่รากงอกออกมา และด้านตรงข้ามซึ่งมีลักษณะป้าน รูปร่าง ขนาดของเมล็ด และสีของด้านป้านสามารถนำมาใช้เป็นลักษณะในการจำแนกชนิดและพันธุ์ส้มได้ เมล็ดประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆคือ เปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งมี ๒ ชั้น ชั้นนอกมีสีเหลืองฟางข้าว ส่วนชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบางสีน้ำตาล ต้นอ่อนหรือที่เรียกว่า เอ็มบริโอ (embryo) คือ ส่วนที่จะเจริญพัฒนากลายเป็นต้น และส่วนที่สะสมอาหารซึ่งเรียกว่า ใบเลี้ยง (cotyledon)

          >  ราก เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ส่วนของรากปฐมภูมิ (primary root) จะเจริญออกมาก่อน และมีการพัฒนากลายเป็นรากแก้ว (tap root) โดยปกติจะมีเพียงรากเดียว และมีการแตกแขนงออกไปเรียกว่า รากทุติยภูมิ (secondary root) รากที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า ไพโอเนียร์รูต (pioneer root) และที่มีลักษณะเป็นรากขนาดเล็กเป็นกระจุก เจริญมาจากรากแก้วเรียกว่า รากฝอย (fibrous root) โดยทั่วไปรากส้มจะอยู่ในดินระดับค่อนข้างตื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร รากจะทำหน้าที่หยั่งยึดลำต้นกับพื้นดิน ดูดแร่ธาตุอาหารและน้ำ

 

 

 

>>> การจำแนกพืชกลุ่มส้มตามหลักพืชสวน

นอกจากการใช้ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนกพืชสวนแล้ว การจำแนกความแตกต่างของส้มแต่ละชนิด โดยใช้ลักษณะ ขนาด รูปทรงผล ผิวเปลือก สี เนื้อ รสชาติ ความหนาของเปลือก ขนาดและจำนวนของเมล็ด ฯลฯ รวมถึงความสำคัญหรือคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้สามารถแบ่งพืชกลุ่มส้มโดยเฉพาะส้มที่ปลูกออกเป็น ๔ กลุ่มคือ

๑. กลุ่มส้มติดเปลือก หรือกลุ่มส้มเกลี้ยง (oranges) เป็นกลุ่มส้มที่เชื่อกันว่า มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียด้านที่ติดกับประเทศพม่าและประเทศจีน ปัจจุบันส้มในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มส้มที่มีการปลูกมากที่สุดในโลก ประเทศที่มีการปลูกส้มกลุ่มนี้มาก คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก สเปน และออสเตรเลีย ผลผลิตส้มส่วนใหญ่ใช้เพื่อบริโภคสดหรือคั้นเป็นน้ำส้มคั้นเข้มข้น ผลพลอยได้จากส้มชนิดนี้คือ น้ำมันหอมระเหย (essential oil) และเพกทิน (pectin)

ส้มในกลุ่มนี้ที่มีปลูกในประเทศไทยคือ ส้มเกลี้ยง และส้มตรา

๒. กลุ่มส้มเปลือกล่อน (mandarins) ถิ่นกำเนิดของส้มในกลุ่มนี้คาดว่าอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เป็นกลุ่มส้มที่ปลูกแพร่หลายในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย สเปน อิสราเอล และไทย ผลผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้บริโภคสด เนื่องจากมีเปลือกบาง หลุดล่อนออกจากส่วนเนื้อได้ง่าย ผลอ่อนนุ่ม และมีรสหวาน

ส้มกลุ่มนี้ที่มีปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มแก้ว

๓. กลุ่มส้มโอ (pomeloes) และเกรปฟรุต (grapefruits) ส้มในกลุ่มนี้น่าจะมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ประเทศที่ปลูกมากและปลูกเพื่อการค้า ได้แก่ ประเทศไทย จีน เวียดนาม มาเลเซีย และไต้หวัน

๔. กลุ่มมะนาวหรือส้มที่มีรสเปรี้ยว (common acid members) ส้มในกลุ่มนี้ได้แก่ ส้มที่เรียกกันว่า ส้มซิตรอน (citron) ซึ่งได้แก่ ส้มมือ มะนาวฝรั่งหรือเลมอน (lemon) และมะนาว (lime) ส้มในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย การใช้ประโยชน์จากส้มในกลุ่มนี้ ได้แก่ การทำน้ำคั้น (lemonade) การสกัดสารน้ำมันจากผิวเปลือก และสารเพกทิน (pectin) รวมทั้งการใช้เป็นไม้ประดับ ส้มบางชนิด เช่น ส้มมือ ในหลายประเทศใช้เป็นส่วนผสมของสมุนไพร

 

>>> คุณค่าทางอาหารของส้ม

ทุกท่านเคยท่านส้มกันนะค่ะ โดยเฉพาะส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีผลผลิตตลอดปี มีจำหน่ายในตลาดทั่วไป ราคาไม่แพงมาก และมีคุณค่าทางอาหารสูง ผลของการวิเคราะห์สารอาหารจากส้มเขียวหวาน ๑๐๐ กรัม โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก กล่าวคือ

คาร์โบไฮเดรต ๙.๙๐ กรัม, โปรตีน ๐.๖๐ กรัม, ไขมัน ๐.๒๐ กรัม, แคลเซียม ๓๑.๐๐ มิลลิกรัม, เหล็ก ๐.๘๐ มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส ๑๘.๐๐ มิลลิกรัม, วิตามินเอ ๔,๐๐๐ หน่วยสากล, วิตามินบี ๑ ๐.๐๔ มิลลิกรัม, วิตามินบี ๒ ๐.๐๕ มิลลิกรัม, วิตามินซี ๑๘.๐๐ มิลลิกรัม, เส้นใย ๐.๐๒ กรัม, ความชื้น ๘๘.๗๐ กรัม, แคลอรี ๔๔ หน่วย

ดังนั้น ผลส้มเขียวหวานหนัก ๑๐๐ กรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักเฉลี่ยของผลส้มเพียง ๑ ผล จะประกอบด้วยสารอาหารที่สำคัญ คือ แคลเซียม ๓๑ มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๘ มิลลิกรัม วิตามินซี ๑๘ มิลลิกรัม วิตามินเอ ๔,๐๐๐ หน่วย จึงจัดว่าส้มเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีราคาไม่แพง และเหมาะสำหรับการบริโภคประจำวัน

 กินส้มกันเยอะนะค่ะจะร่างกายจะได้แข็งแรง

 

 

 

ขอบคุณที่มาจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่ม 26

จัดทำโดย กลุ่มคุณหนูไร่ส้ม

นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ ชั้นปีที่ 1

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ส้มเจ้า ส้ม...........
หมายเลขบันทึก: 280351เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจนะคะ น่าจะมีภาพประกอบอีกหน่อย

สาวสวนส้มฝาง

เป็นยังไงบ้าง

ข้อมูลเยอะจังเลย

ได้ความรู้...จาก..ส้ม มากเลยค่ะ ^^

แวะมาทักทายนะคะ ^^

สนใจเรื่องส้มเหมือนกันครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ

เคยกินแต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าส้มจะมีเรื่องราวมากมายขนาดนี้

ฝากบล็อกกล้วยไม้ด้วยนะคะ

ลองเข้าไปดูได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท