TACIT KNOWLEDGE


TACIT KNOWLEDGE

                                                                    TACIT   KNOWLEDGE

                              ประสบการณ์การเป็น CKO ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2

                                                                                                            เชวง   วัฒนธีรางกูร

 

 

          ในปีงบประมาณ 2551และครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2552 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้กำกับ ดูแลงานในกลุ่มนโยบายและแผน ซึ่งครอบคลุมงานในศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้รับมอบหมายให้เป็น CKO

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 ในการนำการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

มาใช้เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน ตามกรอบแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดและความคิดริเริ่มรวมทั้ง Best Practice ที่แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้กำหนดขึ้นโดยมีงบประมาณสนับสนุนและมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเฟ้นหา 10 ลำดับแรกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลการดำเนินการโครงการการจัดการความรู้ยอดเยี่ยม

              เพื่อให้ได้ผลตามหลักการของการจัดการความรู้ และติดอันดับ 1ใน 10 จึงได้กำหนดกิจกรรมสำคัญๆร่วมกับคณะกรรมการการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 ดังนี้

             1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้ให้กับผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 ทุกคนและหัวหน้ากลุ่มทุกคน รวมผู้เข้ารับการอบรม 200 คน ณ ห้องประชุมทองจันทร์ หงส์ลดารมย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมีวิทยากรเป็นอาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ซึ่งได้รับรางวัลการจัดการความรู้ในระดับชาติมาแล้ว

              2.จัดอบรมรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ KM

           3.จัดอบรมการใช้  Blog  Go to Know  ให้กับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเขตพื้นที่ทุกคน และจูงใจให้แต่ละคนนำ  Tacit Knowledge ขึ้น Blog  Go to Know โดยมีการแข่งขันกันเป็นรายกลุ่ม และรายบุคคล มีการมอบรางวัลเป็นเกียรติบัตรและของรางวัลในโอกาสสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่

               4.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำ 19 โรง ใช้เวลา 2วัน หลังจากอบรมแล้วโรงเรียนเหล่านี้ได้เสนอโดรงการที่ดี บางโรงเรียนมีการกำหนดเวลาการทำ KM ไว้ในปฏิทินประจำวันว่า ชั่วโมง KM

               5.เจ้าหน้าที่ ICT รับผิดชอบดูแล Website Maengmoom ให้มีผลงานเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

               6.ทุกกลุ่มจัดมุมให้ความรู้เกี่ยวกับ KM หรือความรู้ Tacit Knowledge หรือ Explicit Knowledge โดยเรียกว่า KM  Corner”

            7.นำเจ้าหน้าที่ ศึกษานิเทศก์ และโรงเรียนแกนนำเข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้ระดับชาติที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์  กรุงเทพมหานคร

               8.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม และแต่ละโรงเรียน

               การจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายคือผลงานอยู่ในกลุ่ม10 ลำดับแรก เพราะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทีมงานทุกคนโดยเฉพาะคณะกรรมการการจัดการความรู้ และที่สำคัญคือผู้บริหารสถานศึกษา

  

 

การพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์กับการศึกษาในสังคมสารสนเทศ

2726792

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #cko#tacit knowledge
หมายเลขบันทึก: 279983เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นความพยายามของหน่วยงานทางการศึกษาที่จะเสริมสร้างความรู้ความชำนาญให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาประสบการณ์ทางด้านวิชาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานทั้งด้านการสอนและการบริหารจัดการองค์กรทางการศึกษา

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

คุณมีความสามารถในการทำงานมากค่ะ

เป็นผู้บริหารที่ร่วมสมัย

โดยดูได้จากกิจกรรมที่ทำในเขตพื้นที่การศึกษา

โดยเฉพาะเรื่องการใช้ Blog Go to Know

ต้องยอมรับว่าของเขาทันสมัยจริงๆ

น้องเอง เชยมาก เพิ่งมารู้จักก็คราวนี้เอง

เชื่อมั่นประเทศไทย กับผู้บริหารการศึกษายุคใหม่ ค่ะ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านเข้ามาทำงานที่ สพท.น่าน เขต 2

ผมเป็นครูคนหนึ่งที่สอนอยู่โรงเรียนอยู่บนดอย อ.บ่อเกลือ

พยายามที่จะพัฒนาการศึกษาของเด็กบนดอยอย่างเต็มความสามารถครับ

หากท่านว่างเรียนเชิญมาเที่ยวที่ อ.บ่อเกลือนะครับ

ยินดีต้อนรับครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท