ครูภาษาไทย


การสร้างคำ

ใบความรู้

เรื่อง  การสร้างคำ

 พยางค์   คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งอาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้

องค์ประกอบของคำ 

                คำประกอบด้วยพยางค์และความหมาย   พยางค์ที่ไม่มีความหมายไม่ว่าจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ไม่จัดเป็นคำ

              พยางค์ที่มีความหมายอาจเป็นพยางค์เดียว  หรือหลายพยางค์ก็ได้จะมีลักษณะเป็นคำ  เช่น   

              ตา                =               พยางค์         คำ

              กระต่าย       =                พยางค์         คำ

              กะลาสี        =                พยางค์         คำ 

การสร้างคำ

          การสร้งคำแบ่งออกเป็น    ประเภท  คือ

๑.      คำมูล  ซึ่งได้แก่คำที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะ

๒.   คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล

คำมูล  คือ  คำที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะคำหนึ่ง     อาจเป็นคำไทยแท้  คำที่มาจากภาษาอื่นและเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้  เช่น  ไก่  พ่อ  นอน  ลูก  ปลา  ทอง  เกี๊ยว  ไมล์

กุญแจ  มะนาว  นาฬิกา  กะลาสี  จิงโจ้    กระจุ๋มกระจิ๋ม 

คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล

        จะมีรูปลักษณ์ต่าง ๆ กัน  ดังนี้

          ๑.  คำประสม                         

          ๒.  คำซ้อน   

          ๓.  คำคำซ้ำ                           

          ๔.    คำสมาส

 

 

 คำประสม

              คำประสม   คือ  คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกันอาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่น  ทำให้เกิดความหมายใหม่  หรือมีความหมายเดิมอยู่บ้าง  คำประสมนี้มักจะเป็นคำนามหรือคำกริยา  

ลักษณะคำประสม         

            ๑.   เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป  เช่น   ดาวเทียม   สะพานลอย  ภูเขาไฟ

           ๒.   เกิดจากคำมูลที่มาจากภาษาใดก็ได้  เช่น

                  คำไทยแท้    ม้าเร็ว  ลูกน้ำ  แม่ครัว

                  คำไทยกับคำภาษาอื่น    ราชวัง  ผลไม้  ความมัธยัสถ์

                  คำมาจากภาษาอื่น    การแพทย์   การศึกษา  ยานอวกาศ

๓.     เกิดจากคำมูลที่มีความหมายต่างกัน  เมื่อเป็นคำประสมจะเกิดความหมายใหม่ต่างกับคำมูลเดิมแต่ยังมีเค้าความเดิม  เช่น

ดาวเทียม    หมายถึง    ยานชนิดหนึ่งโคจรไปในอวกาศได้อย่างดาวแต่

                                    ไม่ใช่ดาวจริง ๆ

       ม้าเร็ว    หมายถึง      คนขี่ม้าซึ่งทำหน้าที่เดินข่าวสืบเหคุการณ์ของข้าศึกแล้วรีบ

                                      แจ้งแก่กองทัพ

                 ลูกน้ำ     หมายถึง   ลูกของยุงซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ

              

คำที่เกิดจากคำมูลที่ยังคงความหมายเดิมไว้ทั้งหมดไม่ใช่คำประสม  อาจเป็นวลีหรือประโยค   เช่น

                แกงร้อนต้องกินกำลังร้อน    แกงร้อนเป็นคำประสม  หมายถึงแกงชนิดหนึ่ง

                แกงร้อนเกินไปกินไม่ได้       แกงร้อนเป็นประโยค

           แกงร้อน  กินลวกปาก        แกงร้อนๆ  เป็นวลี

             

๔.     ส่วนมากความหมายหลักอยู่ที่คำหน้า  คำขยายอยู่หลัง

     

คำประสม

คำตั้ง

คำขยาย

การศึกษา

                การ

ศึกษา

ประธานสภา

ประธาน

สภา

ผลผลิต

               ผล

ผลิต

 

คำประสมบางคำคำขยายอยู่หน้าคำตั้ง  คำประสมประเภทนี้ส่วนมากคำขยายมาจากคำบาลีสันสกฤต  ส่วนคำตั้งเป็นคำไทยหรือมาจากภาษาอื่น  เช่น

 

คำประสม

คำขยาย

คำตั้ง

พระแสง

พระ

แสง  (  คำไทย)

พระเก้าอี้

พระ

เก้าอี้  (  จีน)

พระธำมรงค์

พระ

ธำมรงค์  (  เขมร)

พระโธรน

พระ

โธรน  (  อังกฤษ)

ราชวัง

ราช

วัง (  ไทย)

ราชดำรัส

ราช

ดำรัส  (  เขมร)

 

๕.     เกิดจากคำมูลชนิดต่าง ๆ  และทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น  นาม  สรรพนาม  กริยา  วิเศษณ์  หรือบุพบท

วิธีสร้างคำประสม

      ๑.  คำตั้งเป็นคำนาม   คำขยายเป็นคำนาม  สรรพนาม  กริยา  และวิเศษณ์  เช่น

           คำขยายเป็นนามหรือสรรพนาม     พ่อบ้าน   แม่บ้าน  พระคุณท่าน

           คำขยายเป็นกริยา     สมุดพก  แบบเรียน  ไม้เท้า

หมายเลขบันทึก: 279869เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท