portfolio


แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัดจากสภาพจริง

การประเมินผลจากแฟ้มสะสมงาน(portfolio Assessment) นั้นสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา "การเรียนด้วยการกระทำจริง" (Learning by doing) ของ John Dewey และสอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีความเชื่อที่ว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างดี

ลักษณะของแฟ้มงานอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ในการสะสมงานจากความสามารถในการเก็บสารสนเทศซึ่งนำเสนอได้หลายรูปแบบเช่น ภาษา การเขียน ภาพนิ่ง จำลอง

สถาณการณ์ วีดีโอ การ์ตูน กราฟฟิค ฯลฯ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Multimedia Portfolio ซึ่งเป็นการบันทึกสารสนเทศที่เป็นผลงาน หรือตัวแทนผลงาน โดยผู้เรียนจัดเก็บผลงานต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ตามที่ระบบกำหนด

การนำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการประเมินผลการเรียน การนำมาใช้ต้องมีการปฏิบัติตามขั้นตอน ตามแผนที่วางไว้ซึ่งอาจไม่สำเร็จทันทีทันใด แต่แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์มีข้อดีที่จะพิสูจน์ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการทางด้านต่างๆ ของผู้เรียน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาดังนี้

1. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนไม่เป็นเพียงแต่ผู้รับเท่านั้น แต่กลับมาเป็นผู้ควบคุมการศึกษาด้วยตนเอง เพราะว่าแฟ้มสะสมงานช่วยสร้างจุดมุ่งหมายร่วมกัน

2. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียน ผลงานที่แสดงใน World Wide Web จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานของตนเอง และรู้สึกภูมิใจที่ได้นำผลงานที่ผู้เรียนสร้างขึ้น และนำเสนอบน World Wide Web ไปทั่วโลก

3. เป็นเครื่องมืออธิบายผลงานของผู้เรียน และช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้ปกครองกับผู้สอนและผู้ปกครองกับผู้เรียน เกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ด้วยการตรวจสอบจากผลงาน

4. สามารถช่วยแสดงผลข้อมูลย้อนกลับ เนื่องด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือวัดผลที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ในการนำเสนออย่างชัดเจน ข้อมูลย้อนกลับทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ระบบของกระบวนการในการศึกษาต่อผู้สอนและผู้บริหารเพื่อเป็นสารสนเทศที่สำคัญในการปรับปรุงการศึกษาต่อไป

5. เป็นการจัดแสดงผลงาานของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน ซึ่งผู้ปกครอง ผู้บริหาร หรือผู้สอนสามาถนำผลงานของผู้เรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับผู้เรียนคนอื่นๆ อันจะนำไปสู่การจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้น

กระบวนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์

1. ระบุเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของแฟ้มสะสมงาน

2. ออกแบบแฟ้มสะสมงาน

3. พัฒนาแฟ้มสะสมงาน

4. ทดลองใช้และประเมินแฟ้มสะสมงาน

5. นำเสนอแฟ้มสะสมงาน

โครงสร้างของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์

การจัดส่วนประกอบที่สำคัญในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นระบบ ควรประกอบด้วย 3ส่วนดังต่อไปนี้

1. ส่วนนำ ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ ประวัติผู้เรียน

2. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วยรายงานสรุปผลงานในแฟ้ม ตัวอย่างผลงานที่คัดเลือกแล้ว และแบบสรุปความคิดเห็นของครู

3. ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รายชื่อหนังสือหรือแหล่งค้นคว้า ความคิดเห็นหรือความรุ้สึกต่อการเรียนการสอน ข้อมูลจากแบบบัททึกปฏิบัติงาน ข้อมูลการประเมินของครูหรือผู้ปกครอง ข้อมูลการประเมินตนเองของผู้เรียนและการทดสอบ

ประโยชน์ของการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์

การใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์ดังนี้

1. ในขั้นตอนและกระบวนการของการพัฒนาปฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้พัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีในเรื่องของมัลติมีเดียได้ดียิ่งขึ้น

2. ผู้เรียนมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในแฟ้มสะสมงาน

3. กระบวนการในการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ผู้สอนสามารถพัฒนางานอาชีพของตน ในส่วนของผุู้เรียนจะเป็นรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. สามารถสร้างงานได้ในสื่อหลายประเภทเคลื่อนย้านสะดวก ตรวจสอบได้และมีการกระจายอยู่ทั่วไปอย่างกว้างขวาง

5. สามารถทบทวนผลงานหรือทำซ้ำใหม่ได้หรือเมื่อต้องการดูซ้ำในประเด็นที่สำคัญได้ตามความต้องการ

6. ใช้แสดงกรรมสิทธิ์ผลงานที่นักเรียนสร้างขึ้นมาได้

7. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สะดวกต่อการเข้าถึงผลงาน โดยสามารถเข้าถึงผลงานได้จากทั่วทุกมุมโลก

สรุป

การจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ช่วยฝึกผู้เรียนให้มีประสบการณ์และความชำนาญในทักษะการเรียนรู้ในหลายๆ ทักษะ ทั้งในทักษะด้านการรวบรวมข้อมูล การแสวงหาความรู้ ความคิด การคิดวิเคราะห์ การอ่าน การเขียน ช่างสังเกต มีนิสัยรักการอ่าน ชอบการเขียน เสริมทักษะด้านสื่อสารและทักษะชีวิตด้านอื่นๆ เป็นอย่างดี ซึ่งสอดรับกับปรัชญาการศึกษา ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติจริงของนักเรียน

คำสำคัญ (Tags): #portfolio#world wide web
หมายเลขบันทึก: 279573เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอก็อบบี้ความรู้นี้ด้วยนะคะ

จะเอาไปทำงานส่งอาจารย์ค่ะ

ขอบคุณมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท