การเชิดสิงโตจีน


การเชิดสิงโตจีน

การเชิดสิงโต

เชิดสิงโตเป็นการละเล่นของชาวจีนเหนือ และจีนใต้ ทางเหนือนิยมเล่นกันในช่วงตรุษจีน ส่วนทางจีนใต้นิยมการเชิดสิงโตมากกว่า นอกจากจะเล่นกันในช่วงมีงานแห่เจ้าแล้ว แม้แต่พิธีเซ่นสังเวยเพื่อขอฝนหลังงานเทศกาลงานชุนนุมใหญ่ ก็จะต้องมีรายการเชิดสิงโตด้วยการเชิดสิงโต ของชาวจีนใต้ครึกครื้นและโลดโผนกว่าทางเหนือมากนัก เมื่อใกล้ถึงวันตรุษจีน ก็จะมีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่ง จัดให้มีการเชิดสิงโต ซึ่งเรียกว่า " ซิ่งฮุ่ย" โดยไปขอเงินบริจาคจากพวกคหบดี และก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งจัดเครื่องดนตรี และเตรียมทำตัวสิงโตสำหรับวันงานเมื่อเตรียมงานแล้วผู้จัดงานก็จะประกาศเส้นทางที่ขบวนสิงโตจะผ่านให้ชาวบ้านทราบ พอวันงานมาถึงหัวหน้าทีม จะนำเอาสิงโตไปแสดงความเคารพต่อคหบดี และมือกลองก็เริ่มตีกลอง จากนั้นก็เริ่มแสดงการเชิดสิงโต เมื่อมีบ้านใดนำเอาซองรางวัลไปแขวนไว้บนยอดไม้ ยิ่งสูงเท่าใดผู้แสดงก็ต้องต่อตัวกันขึ้นไปเพื่อเอาซองรางวัลนั้น การเชิดสิงโตแบบนี้เรียกว่า "ซิ่งจือไชชิง"

สิงโตที่เชิดนี้มักทำด้วนแกนไม้ไผ่ปะด้วยกระดาษสี แล้วใช้ผ้าปักไหมทำเป็นตัวสิงโตมีการเชิดอีกแบบหนึ่งที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่า เรียกว่า ชุดสิงโตกินประทัด เนื่องจากการเชิดชุดนี้สิงโตต้องกินประทัดตลอดเวลา ดังนั้นหัวสิงโตจึงต้องทำด้วยวัสดุแบบใหม่ คือใช้ดินเหนียวพอกลงบนแกนไม้ไผ่ แล้วติดด้วยกระดาษเสา ส่วนตัวมังกร ก็ทำด้วยผ้าลายราคาถูก ๆ ผู้เชิดสิงโตไม่ใส่เสื้อ ใส่แต่กางเกง ใส่รองเท้าฟางและพันน่องด้วยผ้า 5 สี เมื่อผ่านบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะโยนประทัดใส่ สิงโตต้องอ้าปากรับ และผู้เชิดก็จะไม่ถอยหนียอมรับความร้อนจากประทัดนั้น เมื่อทนไม่ไหวก็อาจจะมีผู้เชิดอื่น มาเปลี่ยน บางครั้งเมื่อหัวสิงโตถูกประทัดมาก เกิดความร้อนจนต้องเอาน้ำไปพรมแล้วก็เชิดต่ออีก ชาวจีนเชื่อว่า ยิ่งให้สิงโตกินประทัดดังเท่าใด และมากเท่าใด การค้าที่บ้านก็ยิ่งจะรุ่งเรืองเท่านั้น

ที่มณฑลกวางตุ้ง ชาวจีนนิยมเชิดสิงโตกันทุกอำเภอ โดยมักฝึกฝนการเชิด มีสำนักฝึกอาวุธ โดยมีอาจารย์ผู้สอนมวยเป็นผู้ฝึกให้ในยามว่าง สิงโตกวางตุ้งจะเป็นยุ่ยซือ เซ่าซือ เล่าซือ ซึ่งแปลว่า สิงโตสิริมงคล สิงโตหนุ่ม สิงโตแก่ ยุ่ยซือมีอีกชื่อหนึ่งว่า สิ่งซือ แปลว่าสิงโตที่ตื่นแล้ว ก็คือ สิงโตที่สามารถให้สิริมงคลนั้นเอง สิงโตที่มีอายุมากและผ่านประสบการณ์มากคือ สิงโตเล่าซือ จะเห็นได้จากท่าทาง หน้าสีเขียวเขี้ยวยาว หนวดเป็นสีเทา เมื่อสิงโตสิริมงคลและสิงโตหนุ่ม เดินผ่านสิงโตแก่ต้องแสดงความเคารพ โดยหลีกทางให้ แต่หากสิงโตแก่ 2 ตัว มาประจันหน้ากันก็จะต้องมีการต่อสู้กันขึ้นจนต้อง มีผู้กล้าหาญผู้หนึ่ง มาเจรจาให้สงบลงได้ การเชิดสิงโตของกวางตุ้งจ ะมีท่าทางต่าง ๆ มาก ผู้เชิดต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ เช่นสิงโตทำท่าก้มมอง รีรอ เดินวนรอบ ท่าดุดัน ท่างอตัว คุกเข่า ท่านอน บางครั้งก็มีการเชิดชุดสิงโตออกจากถ้ำด้วย

ชาวจีนแคะก็มีการเชิดสิงโตเช่นกัน สิงโตของกลุ่มภาษาจีนนี้จะมีสิงโต สิงโตหัวมังกร

สิงโตของชาวจีนแคะ แบ่งเป็นสิงโตหน้าเขียว และหน้าแดง สิงโตหน้าเขียวเป็นสิงโตที่มีความสามารถเทียบได้กับสิงโตแก่ของชาวกวางตุ้ง สิงโตชาวจีนแคะนิยมทำตาให้เคลื่อนไหวไปมาได้ มีคิ้วมีขนตาสวยงาม ทั้งหน้าสิงโต และหางสิงโต ก็จะตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม และใส่ลูกกระพรวนที่หางอีกด้วย

ส่วนสิงโตของชาวจีนแต้จิ๋ว มักประดับหัวมังกรด้วยผ้า 5 สี และประดับหน้ามังกรด้วยสีสันสวยงาม มีคนเชิดหัวสิงโต 1 คน หางสิงโต 1 คน นอกจากนั้นก็จะมีคนแต่งตัวเป็นตุ๊กตา หัวโต หน้าสีแดง ใส่เสื้อขลิบชายด้วยสีสวยงาม ตัวสั้น มือขวาถือลำไม้ไผ่ มือซ้ายถือพัดใบตาลมักแสดงในช่วงตรุษจีนและงานฉลองต่าง ๆ เช่นกัน

          ชาวจีนมีความเชื่อกันว่า ผู้ใดได้ชม จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล จึงได้
มีการสืบทอดการแสดงมากว่าพันปี ในสมัยก่อน

การเชิดสิงโตที่นิยมแสดง มี 2 ประเภท ได้แก่
การเชิดสิงโตแบบโบราณ คือ การแสดงกายกรรมต่อตัว และ   การเชิดสิงโตแบบปีนกระบอกไม้ไผ่  ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกหนึ่งประเภท ได้แก่ การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบเอเชีย อาทิ
จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย โดยปัจจุบันการเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่ง และได้รับการจัดไว้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกด้วย






          ชาวจีนมีความเชื่อกันว่า ผู้ใดได้ชม จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล จึงได้
มีการสืบทอดการแสดงมากว่าพันปี ในสมัยก่อน

การเชิดสิงโตที่นิยมแสดง มี 2 ประเภท ได้แก่
การเชิดสิงโตแบบโบราณ คือ การแสดงกายกรรมต่อตัว และ   การเชิดสิงโตแบบปีนกระบอกไม้ไผ่  ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกหนึ่งประเภท ได้แก่ การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบเอเชีย อาทิ
จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย โดยปัจจุบันการเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่ง และได้รับการจัดไว้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกด้วย
 

 

ประเภทของการเชิดสิงโต
       สำนักเชิดสิงโตนั้นมีสองสำนักคือ สำนักเชิดสิงโตเหนือ และสำนักเชิดสิงโตใต้

       การเชิดสิงโตแบบเหนือ โดยทั่วไปจะเชิดเพื่อความบันเทิงในราชสำนัก โดยปกติแล้วสิงโตเหนือจะมีสีแดง
ส้ม และเหลือง (และบางครั้งก็มีขนสีเขียวสำหรับสิงโตตัวเมีย) ลำตัวมีขนยาวรุงรัง และมีหัวสีทอ
ง การเชิด
สิงโตแบบเหนือจะมีลักษณะเป็นกายกรรม และใช้แสดงเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก 

        สิงโตทางเหนือซึ่งได้รับอิทธิพลจากต่างถิ่นของประเทศจีน สิงโตใน
ท้องถิ่นของจีน แต่เดิมจะมีรูปทรงและสีสันไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่ที่ถือเป็นแพร่หลายที่สุดคือสิงโตแถบมณฑลกวางตุ้ง ที่ส่วนใหญ่สังกัดสำนักกังฟูและต่อมาก็ได้รับการเผยแพร่สู่นอกประเทศโดยสำนักกังฟูต่าง ๆ เดิมสิงโตแต่ละท้องถิ่นจะเชิดกันโดยอาศัยความสูงเป็นข้อบ่งชี้ความสามารถของทีมสิงโต และแสดงเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของเจ้าภาพที่จัดขึ้น

       การเชิดสิงโตแบบทางตอนใต้ จะออกมาในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า โดยทั่วไปจะแสดงในพิธีกรรมเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย และเรียกโชคลาภมาให้

       สิงโตใต้จะมีสีที่หลากหลาย รวมทั้งส่วนหัวที่มีลักษณะเฉพาะและมีดวงตาใหญ่ มีกระจกบนหน้าผาก และที่
กลางศีรษะมีเขาหนึ่งเขา ถิ่นกำเนิดของสิงโตใต้อยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง เชื่อกันว่าสิงโตมีเขาของทางใต้ก็คือปีศาจเหนียน

โฝซาน คือชื่อเรียกรูปแบบที่สำนักกังฟูหลายแห่งนำมาใช้ ซึ่งเป็นแบบที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวอันทรงพลัง และท่วงท่าที่แข็งแกร่ง สิงโตจึงกลายเป็นตัวแทนของสำนักกังฟู และจะมีแต่ศิษย์ที่มีฝีมือในระดับสูงเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เชิดสิงโตได้

จังหวะการก้าวเท้าในการเชิดสิงโตนั้น คือ ลีลากังฟูใต้ ศิลปะการต่อสู้ที่ปรากฏอยู่ในการเชิดสิงโต จะผสมผสานการกระโดด กระโจน ปีน การรักษาสมดุล และการเตะเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นของศิลปะการต่อสู้กังฟูทั้งสิ้น นอกจากนี้ หัวและเครื่องแต่งกายก็มีน้ำหนักมาก ในการเชิดสิงโตจึงมีการฝึกเรื่องน้ำหนัก ซึ่งเหมือนกับที่พบในการฝึกการใช้อาวุธในวิชากังฟู

สิงโตสามประเภทที่มีชื่อเสียงก็คือ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ทั้งสามนี้คือ ตัวละครในประวัติศาสตร์จีนที่บันทึกไว้อยู่ในวรรณกรรมคลาสสิกเรื่อง "สามก๊ก" นั่นเอง เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย เป็นพี่น้องร่วมสาบานที่ได้ให้ปฏิญาณร่วมกันว่าจะกอบกู้ราชวงศ์ฮั่น

สิงโตเล่าปี่ เป็นผู้อาวุโสที่สุดในบรรดาสามพี่น้อง มีใบหน้าสีทอง พร้อมกับเคราและขนสีขาว เพื่อสื่อถึงความเฉลียวฉลาด ส่วนหางนั้นมีหลายสีซึ่งรวมสีของธาตุทั้งห้าเอาไว้ เพื่อสื่อถึงการมีอำนาจควบคุมธาตุทั้งห้า

สิงโตกวนอู มีใบหน้าสีแดง ขนสีดำ และมีเครายาวสีดำ ส่วนหางมีสีแดงขลิบดำ กวนอูเป็นน้องคนรองและจะสวมเหรียญสองเหรียญไว้ที่ปลอกคอ สิงโตประเภทนี้รู้จักในชื่อว่า "สิ่ง ซือ" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงโตผู้ตื่นตัว" โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะนิยมใช้สิงโตกวนอูกันมากที่สุด

สิงโตเตียวหุย มีใบหน้าสีดำ และมีเคราสั้นสีดำ ที่หูทั้งสองข้างประดับดอกไม้ และมีขนสีดำ หางสีดำขลิบขาว
เนื่องจากเป็นน้องคนเล็กสุด จึงมีเหรียญหนึ่งเหรียญติดที่ปลอกคอ สิงโตเตียวหุยถือว่าเป็นสิงโตนักสู้ เพราะ
เตียวหุยเป็นคนมุทะลุ ใจร้อน และรักการต่อสู้ สิงโตประเภทนี้เป็นสิงโตในดวงใจสำหรับนักธุรกิจ

ต่อมาก็มีสิงโตอีกสามแบบเพิ่มเข้ามา สิงโตหน้าเขียวคือ ตัวแทนของจูล่ง (เจ้าจื่อหลง) สิงโตตัวนี้ถูกเรียกว่า
สิงโตวีรบุรุษ เพราะว่ากันว่าเขาเป็นผู้ที่ขี่ม้าฝ่ากองทหารนับพันของโจโฉเข้าไปช่วยเหลือบุตรของเล่าปี่ และต่อ
สู้กลับออกมา

สิงโตสีเหลืองแทนฮองตง (หรือหวงจง) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นสิงโตนักสู้ยอดคุณธรรม

สิงโตขาวคือ ม้าเฉียว (หรือหม่าเฉา) สิงโตตัวนี้ยังรู้จักในชื่อว่าสิงโตงานศพ สิงโตประเภทนี้จะไม่นำมาเชิด ยกเว้นสำหรับพิธีศพของอาจารย์ (ซือฟู) หรือหัวหน้าคนสำคัญของคณะ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ ก็จะทำการเผาสิงโตหลังจากเสร็จพิธี

       ปัจจุบันผู้คนจะชื่นชอบการเชิดสิงโตสีทอง หรือสีเงินมากกว่า เพราะสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งตามตำนานแล้ว สิงโตนั้นถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่มีเวทมนตร์ ดังนั้นเมื่อนำมาเข้าคู่กับสีของธาตุทั้งห้า (เหลือง ดำ เขียว แดง และขาว) ก็เชื่อว่าจะมีอำนาจเหนือทิศหลักทั้งห้า ดังนั้น "ความอับโชค" ทั้งหลายจากทิศทั้งห้านี้ก็จะมลายไป และความอุดมสมบูรณ์และโชคลาภก็จะเข้ามาแทนที่

       เครื่องแต่งกายของสิงโตประกอบด้วยรูปทรงที่เป็นสัญลักษณ์มากมาย เขารูปนกนั้นแทนหงส์ หูและหางคือ
กิเลน หน้าผากที่โหนกนูน ซึ่งมีกระจกประดับไว้จะเบี่ยงเบนพลังที่ชั่วร้ายออกไป ส่วนเคราที่ยาวนั้นคือ ลักษณะ
ของมังกรเอเชียนั่นเอง สิงโตจะเดินกลับไปกลับมาในลักษณะเป็นแนวฟันปลา เพื่อหลอกให้ภูติผีวิญญาณสับสน
เพราะชาวจีนเชื่อว่าวิญญาณไม่ดีเหล่านี้จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง

       กลองสิงโตจะมีสองแบบเช่นกันคือ กลองสิงโตเหนือ ซึ่งมี สีแดง และ กลองสิงโตใต้ ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็น สีดำ
กลองที่ใช้จะมีแผ่นหน้ากลองแผ่นเดียว ขนาดที่ใหญ่ของกลองช่วยให้เกิดเสียงดังกังวาน กึกก้องน่าเกรงขามเมื่อ
ลั่นกลอง

 

 

 

ประวัติความเป็นมาของสิงโต

     สิงโตได้เข้ามาในรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ซึ่งชาวจีนใน สมัยนั้นได้เข้ามาค้าขายในแผ่นดินสยามและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาชาวจีนเหล่านั้นได้ทำสิงโตมาเชิดแสดงต่อหน้าพระที่นั่งให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทอดพระเนตร
เพราะความเชื่อของชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโตจะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง เป็น สิริมงคล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการแสดงสิงโตก็ได้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 400 กว่าปีแล้ว
 

 

การแสดงสิงโตในเมืองไทยที่นิยมแสดงมีอยู่ 2 ชนิด 

      คือ ชนิดแบบโบราณ
การแสดงแบบกายกรรมต่อตัว และ ปีนกระบอกไม้ไผ่ ที่เรามักเห็นกันทั่วไป ซึ่งการแสดงเชิดสิงโตในประเทศจีน คณะสิงโต จะสังกัดค่ายมวย เพราะผู้แสดงต้องฝึกวิชากังฟู 

      เนื่องจากผู้เชิดจะต้องแสดงลีลาประกอบการเคลื่อนไหว ท่วงท่าของวิชามวยจีน ช่วงล่างต้องมีความแข็งแกร่ง ส่วนในเมืองไทยสิงโตไม่ได้สังกัดสำนักมวยเหมือนอย่างประเทศจีน แต่จะขึ้นอยู่กับศาลเจ้าบ้าง วัดบ้าง การฝึกสอนก็อาศัยจากรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง

         ต่อมาได้มีกลุ่มประเทศที่อยู่ภาคพื้นเอเชียได้ก่อตั้งสหพันธ์สิงโตนานาชาติขึ้น และกำหนดวิธีการแข่งขันสิงโตเป็นลักษณะสากลนิยม ด้วยการแสดงความสามารถของเทคนิคการเชิดสิงโตบนเสาต่างระดับ สิงโตได้รับการพัฒนาโดยชาวจีนโพ้นทะเล ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากได้วิวัฒนาการเป็นกีฬา โดยมีการแข่งขันระดับนานาชาติตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 2 ณ เมืองมาเก๊า เป็นครั้งแรก ปัจจุบันกีฬาสิงโตได้บรรจุเป็น Event หนึ่งของกีฬาวูซู ที่แข่งขันในกีฬาแห่งชาติ การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยถือกีฬาสิงโตในต่างประเทศจะขึ้นอยู่ในความดูแลของสมาพันธ์กีฬาสิงโตของแต่ละประเทศ แต่ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับสมาคมวูซูแห่งประเทศไทย

ที่มา: http://www.posttoday.com/

         http://tisa.makewebez.com/content_1068_28484_TH.html3

         http://hakkapeople.com/node/155

 


หมายเลขบันทึก: 279491เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข้อมูลละเอียดดีนะค่ะ เนื้อหาก็น่าสนใจดีค่ะ

ข้อมูลน่าสนใจมากเลยค่ะ

เนื้อหาค่อนข้างละเอียดทำให้เข้าใจถึงที่มาของการเชิดสิงโตที่ละเอียดขึ้น

  • ตุ๊งแช่ ตุ๊งแช่ ตะลุ๊ง ตุ๊งแช่
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
  • อย่าลืม เริ่ดๆ เชิดๆ ด้วยนะคร๊าบบบบบ ฮิ้ว (ขอแซวนิดนึง)

ข้อมูลละเอียดดีคะ น่าสนใจมาก

แต่น่าจะมีรูปประกอบด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท