e-learning ยุทธศาสน์การเรียนรู้ในอนาคต


e-learning ยุทธศาสน์การเรียนรู้ในอนาคต

การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning)

            ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อี-เลิร์นนิ่งแพร่ขยายเข้าไปถึงการศึกษาในระบบ การพัฒนาบุคลากรใน องค์การธุรกิจ รวมถึงการเรียนรู้ส่วนบุคคล แต่ สำหรับ ประเทศไทย การเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องใหม่มาก และยังไม่มี การนำไปใช้ประโยชน์มากนัก อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่โลก กำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัตน์ การ เปิด เสรีทาง เศรษฐกิจ และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย จึงมีความ จำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อี-เลิร์นนิ่งจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศเพื่อการแข่งขันในโลกยุคใหม่เนื่องด้วยเหตุผลที่จะกล่าวต่อไป

            การขยายโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนในการ จัดการศึกษาที่ต่ำกว่าการ ศึกษาในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าเงินทุนในช่วงแรก หรือต้นทุน คงที่ (fixed cost) ของการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างสูง แต่อี-เลิร์นนิ่งจะสามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้มากกว่าการจัดการ ศึกษาในห้องเรียน โดย ที่ผู้จัดการศึกษามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหน่วยสุดท้าย (marginal cost) เกือบเป็นศูนย์ แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากขึ้นก็ ตาม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบ ต้นทุนทั้งหมด (total cost) การจัดการเรียนรู้ ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีต้นทุนที่ ต่ำกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถ เรียนรู้ ได้ ทุกที่ ทุกเวลาและทุกคน (anywhere anytime anyone) และไม่ว่า จะทำการ ศึกษาณ สถานที่ใดการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะยังคงมีเนื้อหา เหมือนกัน และมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถวัดผลของการ เรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชน เพิ่มสูงขึ้น ส่ง ผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น

            การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับหรือเป็นโปรแกรมแบบเส้นตรงแต่ผู้เรียนสามารถข้ามขั้นตอนที่ตนเองคิดว่าไม่จำเป็น หรือเรียงลำดับการเรียนรู้ของตนเองได้ตามใจปรารถนาการเรียนรู้ตามศักยภาพและ ความสนใจของผู้เรียน ทำให้ ประชาชนใน ประเทศเกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นใน การแข่งขันในเศรษฐกิจบนฐานความ รู้ (knowledge-based economy) ในอนาคต การที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่รวมความรู้ จำนวน มหาศาล ผู้เรียนจึงมีช่องทางและวิธีการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย

            ผู้เรียน สามารถเลือกสื่อการเรียนการสอนได้ตามความถนัดและความสนใจทั้งในรูปแบบของตัวอักษรรูปภาพภาพสร้างสรรค์จำลอง (animations)สถานการณ์ จำลอง (simulations)เสียงและภาพเคลื่อนไหว (audio and video sequences) กลุ่ม อภิปราย (peer and expert discussion groups) และการปรึกษาออ นไลน์ (online mentoring) ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 มากกว่าการเรียนรู้โดย การฟัง การบรรยายในห้องเรียน หรือจากการอ่านหนังสือ และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นถึงร้อยละ 60 ของการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ทั้งนี้ ประสิทธิภาพและความรวดเร็วของการเรียนรู้มีความสำคัญมากสำหรับการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต เพราะจะทำให้คน องค์การ และ ประเทศ สามารถปรับตัวและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและทำให้เกิดความรวดเร็วในการช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจรวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนาทักษะของแรงงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการสร้างความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง

            อี-เลิร์นนิ่งไม่ได้เป็นเพียงการ เรียนโดยการรับความรู้หรือเรียนรู้อะไรเท่านั้น แต่เป็นการเรียน "วิธี การเรียนรู้" หรือเรียนอย่างไร ผู้เรียนในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากอี-เลิร์นนิ่งไม่มีผู้สอนที่คอยป้อนความรู้ให้เหมือนกับการศึกษาในห้องเรียน ดังนั้น ผู้เรียนจึงได้รับการฝึกฝนทักษะในการค้นหาข้อมูลการเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือก วิธีการเรียนรู้และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้การที่คนมีความสามารถในการเรียนรู้ จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ซึ่งหากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นส่วนใหญ่จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ ของคนไทยและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิด

            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทางความคิดมากกว่าการฟังการบรรยายในห้องเรียน เนื่องจากเป็นการสื่อสารแบบสองทางและมีรูปแบบของการเรียนรู้ที่หลากหลาย การศึกษาทางไกล (distance learning) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะกระตุ้นและเอื้อให้เกิดการวิพากษ์อย่างมีเหตุผล (critical reasoning) มากกว่าการศึกษาในห้องเรียนแบบเดิม เพราะมีการปฏิสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองนอกจากนี้การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่านักศึกษาทางไกลระบบออนไลน์ (online students) ได้มีการติดต่อกับผู้เรียนคนอื่นๆในชั้นเรียนมากกว่าเรียนรู้ด้วยความสนุกมากกว่า ให้เวลา ในการทำงานในชั้นเรียนมากกว่ามีความเข้าใจสื่อการสอนและการปฏิบัติมากกว่า ผู้เรียนที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนแบบเดิมโดยเฉลี่ยร้อยละ 20 อี-เลิร์ นนิ่งทำให้ เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล และความรู้จำนวนมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการต่อยอดความรู้หรือทำให้เกิดความคิด ใหม่ๆ และ การสร้างนวัตกรรมอันเป็นปัจจัยในการแข่งขันที่สำคัญมากที่สุดในการแข่งขันในเศรษฐกิจยุคใหม่

            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่รัฐบาลและองค์การต่างๆไม่ ควรมอง ข้าม เนื่องจากประสิทธิภาพ ในการพัฒนาการเรียนรู้ และความเหมาะสมกับโลกยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอี-เลิร์นนิ่งในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดมากไม่ว่าจะเป็นความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศความไม่เพียงพอของฮาร์ดแวร์ (hardware)การขาดแคลนซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและขาดเนื้อหาที่หลากหลายและความไม่พร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้เรียนรวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่นๆที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น กฎหมาย และวัฒนธรรมการเรียนรู้ในสังคมเป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเริ่มต้นการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันนี้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมแล้วคงไม่สายเกินไปที่คนไทยจะได้รับการพัฒนาทันกับพัฒนาการของโลก ในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 279449เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท